คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่นักศึกษากฎหมายต้องรู้ - ทรัพยสิทธิ และ บุคคลสิทธิ


ทรัพยสิทธิ 
ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์สิน หรือเป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินโดยตรง เช่น ตามมาตรา ๑๓๓๖ ได้วางหลักเกี่ยวกับการใช้กรรมสิทธิ์ของผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพยสิทธิไว้ว่า สามารถใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ได้

ตรงนี้เป็นที่มาของหลักทั่วไปที่ว่า “ทรัพยสิทธิเป็นสิทธิที่ใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไป” หรือ “ใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วโลก”

โดยทรัพยสิทธินั้นเกิดขึ้น หรือก่อตั้งขึ้นได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน และภารติดพันอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

บุคคลสิทธิ

บุคคลสิทธิ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า สิทธิเหนือบุคคล สิทธิเรียกร้อง หรือหนี้

โดยทั่วไปแล้ว หนี้คือนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าเจ้าหนี้ ฝ่ายที่สองเรียกว่าลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ตนเองเป็นหนี้อยู่ จึงเรียกว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีสิทธิเหนือลูกหนี้ หรือเรียกว่า เจ้าหนี้มีบุคคลสิทธิเหนือลูกหนี้ ในการที่จะเรียกชำระหนี้

เมื่อหนี้เป็นเรื่องระหว่างบุคคล (เจ้าหนี้-ลูกหนี้) แล้ว มีคำถามว่า เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้(เช่นบุตรหรือบิดามารดาของลูกหนี้)ชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้หรือไม่

คำตอบคือ ไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ “หนี้เป็นเรื่องระหว่างบุคคล” ถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ใครเป็นหนี้ คนนั้นก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้น (มีคำกล่าวที่มักได้ยินบ่อยๆว่า บุคคลสิทธิใช้ยันได้เฉพาะคู่กรณี – คู่กรณีก็คือ เจ้าหนี้ – ลูกหนี้ นั่นเอง)

มูลแห่งหนี้ บ่อเกิดแห่งหนี้นั้น หรือช่องทางที่ทำให้เกิดหนี้นั้น เกิดจาก ๒ ช่องทางหลัก กล่าวคือ

(๑) ทางนิติกรรมสัญญา-หนี้ที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ
(๒) ทางนิติเหตุ-หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย (ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และอื่นๆ)

ไม่มีความคิดเห็น: