คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โค้งสุดท้ายก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ (3-4 พย. 55 นี้)



 โค้งสุดท้ายก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
ติวเพียง 4 รอบสุดท้าย รับจำนวนจำกัดเพียงรอบละ 15 คนเท่านั้น
ค่าใช้จ่าย 600 บาทต่อท่าน
             รอบที่ 1 เสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555 08.00 - 12.00
          รอบที่ 2  เสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555     13.00 - 17.00
          รอบที่ 3 อาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2555 08.00 - 12.00
          รอบที่ 4 อาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2555 13.00 - 17.00
เนื้อหาสำหรับการติวเข้ม
ทบทวนเนื้อหากฎหมายที่สำคัญทั้งหมด
ตะลุยโจทย์ข้อสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและข้อสอบวัดความสามารถในการใช้กฎหมาย
Scope หัวข้อเรียงความ มีวิธีลัด ในการนำเอา technical term ในทางกฎหมาย นำไปใช้เขียนเรียงความได้ทันที
ดักเก็งบทความที่นำมาใช้ย่อความแบบ exclusive

เอกสารที่น้องๆจะได้รับมีดังนี้ครับ
เอกสารสรุปย่อความรู้กฎหมายที่ต้องรู้ก่อนเข้าสอบ
บทความที่มีโอกาสนำมาออกข้อสอบย่อความ
ดักเก็งหัวข้อเรียงความพร้อมเทคนิคการเขียนเรียงความแบบเร่งรัด


วิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ     
แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการโดยติดต่อมาที่ 0859913533 หรือ แจ้งรายละเอียดมายังอีเมล์ hanayolaw@gmail.com
1.ชื่อ-สกุล ชื่อเล่น และ อีเมล์ พร้อม เบอร์ติดต่อกลับ
2.โรงเรียนที่ศึกษาอยู่
3.เลือกรอบที่ประสงค์จะติวเข้ม
โปรดโอนเงิน ผ่าน ทางธนาคารซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อบัญชี CHAWALIT KOOLCHONGKOL
1. ธนาคารกสิกรไทย สาขาศูนย์ราชการฯ เลขที่บัญชี 6432005850
2.ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 0455471814
3.ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยเซ็นทรัลลาดพร้าว เลขที่บัญชี 6900114377
4.ธนาคารกรุงเทพ สาขาเซ็นทรัล พระราม 9 เลขที่บัญชี 8777007306 

สถานที่ : ห้องเอนกประสงค์ (ห้องแอร์) คอนโดลุมพินี พระราม 9 ใกล้ MRT พระราม 9
 

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อสอบการให้เหตุผลในทางกฎหมาย (1)

เชิญกดไลค์ tutorlawgroup fanpage เพื่อรับข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับข้อสอบกฎหมาย เรียงความ ย่อความ ครับ

หลักกฎหมาย

1.ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
2.ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก
3.ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
          (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
          (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
          (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
          (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
          (5) ให้พ้นจากการจับกุม
          ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
4.ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย

ข้อเท็จจริง
นายชอบพาสุนัขของตนไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ ขณะที่นายชอบเผลอ สุนัขวิ่งหายไปในกลุ่มคนที่มาเดินออกกำลังกาย ระหว่างทาง นายชอบเห็นสุนัขเดินอยู่ข้างถนนเข้าใจว่าเป็นสุนัขของนายชื่น นายชอบอยากได้มาเป็นของตนแทนสุนัขที่หายไป จึงไปอุ้มขึ้นมาบนรถแต่ความจริงเป็นสุนัขของนายชอบเอง นายชื่นเข้าใจว่านายชอบเอาสุนัขของตนเองไปจึงบอกให้นายชอบเอาสุนัขมาคืน นายชอบไม่คืนพร้อมกับทำร้ายนายชื่นจนบาดเจ็บ

คำถาม ให้วินิจฉัยว่า นายชอบมีความผิดฐานใดบ้าง
ก. ชิงทรัพย์
ข. ทำร้ายร่างกาย
ค. ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย
ง. ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย



เรามาวิเคราะห์หลักกฎหมายกันก่อนนะครับ
ลักทรัพย์เป็นความผิดที่สำคัญมากความผิดหนึ่งครับ องค์ประกอบของลักทรัพย์ มีอยู่ว่า
(1)   เป็นการเอาไป
(2)   ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
(3)   โดยทุจริต
ดังนั้น การเอาไปซึ่งทรัพย์ของตนเอง จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ได้หรือไม่ครับ คำตอบ ก็คือ ไม่ได้ครับ ดังนั้นเราได้หลักกฎหมายอาญาข้อหนึ่งที่สำคัญละครับว่า การกระทำจะมีความผิดได้ต่อเมื่อกระทำครบองค์ประกอบของฐานความผิด หากการกระทำไม่ครบองค์ประกอบของฐานความผิดเท่ากับว่าไม่มีความผิดฐานนั้นครับ
ต่อมาต้องดูว่า ลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความผิดอื่นดังนี้
1.ลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
2.ลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความผิดฐานชิงทรัพย์
ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
          (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
          (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
          (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
          (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
          (5) ให้พ้นจากการจับกุม
          ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
3.ชิงทรัพย์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของความผิดฐานปล้นทรัพย์
          ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
          ดังนั้น จะเป็นปล้นทรัพย์ได้ต้องเป็นชิงทรัพย์มาก่อน และจะเป็นชิงทรัพย์ได้ต้องเป็นลักทรัพย์มาก่อนเช่นกัน
ในกรณีคำถาม แม้นายชอบเห็นสุนัขเดินอยู่ข้างถนนเข้าใจว่าเป็นสุนัขของนายชื่น แต่สุนัขที่นายชอบอุ้มขึ้นรถมาคือ สุนัขของนายชอบเอง ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้อื่น ดังนั้น การกระทำของนายชอบจึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ ดังนั้นการที่นายชอบทำร้ายนายชื่นจนบาดเจ็บ จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทำของนายชอบมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้นครับ
ตอบข้อ ข. ครับ
เก่งมากๆๆๆครับสำหรับผู้ตอบคำถามได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม คำตอบไม่ใช่จุดสุดท้าย กระบวนการหาคำตอบต่างหากที่สำคัญ เราต้องรู้จักคิดและวิเคราะห์ระมัดระวังกับถ้อยคำทางกฎหมายนะครับ หวังว่า ความรู้วันนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ ^^



 

ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 2




ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 2

ทรัพย์ฉพาะสิ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญของวิชากฎหมายหนี้ นิติกรรมสัญญา และ ทรัพย์ 

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 1 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน 50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  การที่ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง แสดงว่าฝรั่งยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งจนกว่าจะมีการคัดเลือกก็กระทำเพื่อให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งจึงเป็นของป้าแม้น เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด ป้าแม้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมาก เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งไม่โอนมายังนายเอก นายเอกจะชำระราคาทำไม ดังนั้น นายเอกจึงไม่ต้องชำระราคา

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 2 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน 50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  การที่ป้าแม้นเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบแล้ว ฝรั่งจึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอกแล้ว เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด นายเอกเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมากเช่นกัน เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอก นายเอกจะเบี้ยวไม่ชำระราคาได้อย่างไร ดังนั้น นายเอกจึงต้องชำระราคาฝรั่งแก่ป้าแม้นด้วย

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 3 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งขายถูก ๆ กิโลละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอก ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  กรณีที่ 3 แตกต่างจากกรณีที่ 2 นะครับ ดูข้อเท็จจริงดีๆนะครับ กรณีที่ 2 โจทย์เขียนว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาท ดังนั้น ถ้าหยิบมา 5 ลูก รู้เลยว่านายเอกต้องชำระราคา 50 บาท แต่ในกรณีที่ 3 ฝรั่งขายถูก ๆ กิโลละ 10 บาท แม้ว่าหยิบมา 5 ลูก นายเอกก็ยังไม่รู้เลยว่าต้องชำระราคาเท่าไร เพราะยังไม่ได้นำไปชั่งกิโลเลย จึงยังไม่ทราบน้ำหนัก กฎหมายซื้อขายจึงกำหนดไว้ว่า ในการซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องชั่ง ตวง วัด เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าชั่ง ตวง วัด แล้ว ดังนั้น กรณีที่ 3 จึงแตกต่างไปว่า เมื่อคัดฝรั่งออกมาแล้ว 5 ลูกยังต้องไปชั่งกิโลเพื่อทราบราคาก่อน กรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยังผู้ซื้อ

ดังนั้น ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้วแต่ยังไม่ได้ชั่งกิโลเพื่อกำหนดราคาของฝรั่ง 5 ลูกนั้น แสดงว่าฝรั่งยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งจนกว่าจะมีการชั่ง ตวง วัด เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งจึงเป็นของป้าแม้น เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด ป้าแม้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมาก เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งไม่โอนมายังนายเอก นายเอกจะชำระราคาทำไม ดังนั้น นายเอกจึงไม่ต้องชำระราคา