คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม

นิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว นิติกรรมสองฝ่ายหรือนิติกรรมประเภทอื่นๆ ก็ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ถูกต้องใน 4ประการดังที่จะกล่าวต่อไป นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

1.วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
2.แบบแห่งนิติกรรม
3.การแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรม
4.ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม


ดังนั้น ถ้านิติกรรมนั้นไม่ถูกต้อง หรือ บกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4ประการดังกล่าวข้างต้น นิติกรรมนั้นก็ไม่สมบูรณ์

ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมจะมีผลในกฎหมาย 2ประการ คือ
1. มีผลเป็นโมฆะ หรือ
2. มีผลเป็นโมฆียะ

บ่อเกิดแห่งหนี้ - นิติกรรมสัญญา ตอนที่ 1

นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งในการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ ซึ่งนิติกรรมอาจมีได้ทั้งนิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม และนิติกรรมสองฝ่าย เช่น สัญญาซื้อขาย เป็นต้น

สัญญา หมายถึง นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองต้องตรงกันของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป มุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์

ฉะนั้นสัญญาก็คือนิติกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งหลักทั่วไปของนิติกรรมต้องนำมาใช้กับสัญญาด้วย เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บ่อเกิดแห่งหนี้

“บ่อเกิดแห่งหนี้” หรือ“มูลแห่งหนี้” มีหมายความว่า สิ่งที่ทำให้เกิดหนี้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2ประการ ดังนี้

1.นิติกรรม

นิติกรรม หมายถึงการกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งในการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ ซึ่งนิติกรรมอาจมีได้ทั้งนิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม และนิติกรรมสองฝ่าย เช่น สัญญา ก็ได้
สัญญา หมายถึงนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองต้องตรงกันของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป มุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์ ฉะนั้นสัญญาก็คือนิติกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งหลักทั่วไปของนิติกรรมต้องนำมาใช้กับสัญญาด้วย เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ

เมื่อมีนิติสัมพันธ์กันย่อมก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกัน ซึ่งสิทธิหน้าที่เหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของนิติกรรมสัญญานั้น และเพื่อความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม กฎหมายจึงได้กำหนดสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์นั้นโดยยุติธรรม

2.นิติเหตุ

นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดผลในกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยอำนาจของกฎหมาย

2.1 ละเมิด คือบุคคลได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลหรือสิทธิเด็ดขาดอื่น ๆ

2.2 การจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเข้าไปจัดการงานแทนบุคคลอีกคนหนึ่งโดยที่ไม่ได้รับมอบหมายให้กระทำ หากจัดการดังกล่าวสมประโยชน์ผู้จัดก็มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายที่ตนได้ออกไปก่อนได้ แต่ถ้าขัดและทำให้เกิดความเสียหายก็ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

2.3 ลาภมิควรได้ คือการที่บุคคลหนึ่งได้รับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นโดยไม่มีกฎหมายรองรับจึงต้องคืนให้แก่อีกฝ่าย

2.4 ประการอื่น ๆ เช่น ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร, กฏหมายศุลกากร

ความหมายของหนี้

หนี้ คือ ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" และ อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ลูกหนี้"

เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้ ในทางกลับกัน ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ชำระตามที่เจ้าหนี้เรียกร้อง

ถ้ากล่าวคำว่า “หนี้” นั้นจะมีความหมายเช่นเดียวกับ บุคคลสิทธิ, สิทธิเหนือบุคคล และสิทธิเรียกร้องนั้น

ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาจเรียกได้ว่าเป็นบุคคลสิทธิระหว่างกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บุคคลสิทธิเป็นสิทธิที่ใช้ยันระหว่างคู่กรณี(เจ้าหนี้-ลูกหนี้) นั่นเอง

ดังนั้น หากนายเอกผู้เป็นบิดาติดหนี้นายโทหลายสิบล้าน นายโทเจ้าหนี้จะมาบังคับเอากับนายตรีผู้เป็นลูกนายเอกไม่ได้ เพราะนายโทกับนายตรีไม่มีบุคคลสิทธิใด ๆ ต่อกัน หรือพูดอีกอย่างว่าไม่มีหนี้ใด ๆ ต่อกัน

เมื่อปรากฎว่าลูกหนี้ไม่กระทำตามหน้าที่ในสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีอยู่นั้น เจ้าหนี้ต้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ซึ่งการบังคับชำระหนี้นั้นจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาทางแพ่งโดยฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น