คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

*** ชี้แจงโครงการ “ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ปี 2555” by TutorlawGroup โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ปี 2555” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของทั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมีขึ้นประมาณเดือนปลายเดือนมกราคมถึงประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ปี 2555” เหมือนเช่นทุกปี แต่ปีนี้ ด้วยมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ที่เข้าติว และต่อสถานที่ที่ใช้ในการจัดติว ดังนั้น ในปีนี้ ผมจึงขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ต้องงดการสอนสดในทุกรอบ อย่างไรก็ตาม ในการเข้าร่วมโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ปี 2555” นี้ ท่านจะได้รับข้อมูลในการสอบเข้านิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ผ่านทางอีเมล์ และได้รับ DVD ติวเข้มข้อสอบกฎหมาย (บันทึกการสอนสด) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทบทวน และน้องๆทุกท่านจะได้แนวคิดในการใช้เหตุผลกฎหมาย และสามารถนำไปปรับใช้ทำข้อสอบได้อย่างถูกต้อง **** ผมคาดว่า ก่อนที่จะมีการสอบ ผมอาจจะนัดทุกท่านที่ได้รับ DVD ไปแล้ว มาติวเพิ่มเติมเพื่อสรุปย่อประเด็นสำคัญ ซึ่งคาดว่าประมาณกลางเดือนมกราคม 2555 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติมครับ ความแตกต่างระหว่างข้อสอบของการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย*** มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – ข้อสอบปรนัย (Choice) ประมาณ 60 ข้อ และข้อสอบย่อความ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ *** ทั้งนี้ ต้องพิจารณาประกาศของมหาวิทยาลัยอีกครั้งด้วยครับ รูปแบบการติว 1. รับเอกสารการติวทั้งหมดทางอีเมล์ รายละเอียดเอกสารมีดังนี้ 1. tutorlaw book (ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายที่จำเป็นในการใช้สอบ) 2. ข้อสอบกฎหมายหลายร้อยข้อ (พร้อมเฉลยละเอียด) 3. เทคนิคการเรียงความ ย่อความ ตัวอย่างเรียงความ ย่อความที่ ชนะใจกรรมการ 4. เอกสารเก็บตกความรู้กฎหมาย 5. เอกสารพิเศษเพิ่มเติมอีกมากมาย 2. จัดส่งไปรษณีย์ DVD เฉลยข้อสอบกฎหมาย (ที่มีการจัดการเรียนการสอนสด) เสมือนได้เข้ามานั่งเรียนสดจริงๆ 3. สอบถามปัญหากฎหมายเพิ่มเติม /// Comment เรียงความย่อความ /// ทางอีเมล์ ระยะเวลาโครงการ เริ่มส่งเอกสารให้ตั้งแต่บัดนี้ จนกระทั่งสอบเสร็จ และแนะนำในขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์ รวมทั้ง แนะนำในการเรียนนิติศาสตร์ ค่าใช้จ่าย 970 บาท (รวมค่าใช้จ่ายในการจัดส่งไปรษณีย์แล้ว) ขั้นตอนการสมัคร 1. แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ 1. ติดต่อมาที่ 0859913533 และ 2. แจ้งรายละเอียดมายังอีเมล์ hanayolaw@gmail.com 1.ชื่อ-สกุล ชื่อเล่น เบอร์ติดต่อกลับ 2.อีเมล์ ที่สะดวกรับข้อมูล 3.ที่อยู่โดยละเอียดสำหรับการจัดส่ง DVD ทางไปรษณีย์ 2. หลังจากได้รับ DVD โปรดโอนเงิน ผ่าน ทางธนาคารซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อบัญชี CHAWALIT KOOLCHONGKOL 1. ธนาคารกสิกรไทย สาขาศูนย์ราชการฯ เลขที่บัญชี 6432005850 2.ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 0455471814 3.ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยเซ็นทรัลลาดพร้าว เลขที่บัญชี 6900114377 3. แจ้งการโอนเงินมาที่ hanayolaw@gmail.com 0859913533 4.รอรับเอกสารทางอีเมลล์และรับ DVD ทางไปรษณีย์ EMS ขอรายละเอียดเพิ่มเติม 1. Facebook: http://www.facebook.com/profile.php?id=1335043222 2.hanayolaw@gmail.com 3.โทร 0859913533

การระดมทุนประชาชน (Public Fund Raising) ผ่านตลาดทุน (The Capital Market) - กฎหมายหลักทรัพย์

ในการระดมทุนจากประชาชนในตลาดทุน (Capital Market) เป็นลักษณะของการระดมทุนโดยระยะยาวซึ่งปกติจะเกินกว่า 1 ปี ในตลาดทุนนั้นจะไม่มีสถาบันทางการเงินที่ทำหน้าที่เป็นสถาบันตัวกลาง intermediary เหมือนดังเช่นตลาดเงิน โดย Investor หรือแหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) สามารถเข้าถึงเจ้าของเงิน (Source of fund) ได้โดยตรง โดยในประเทศพัฒนาแล้วตลาดทุนจะมีบทบาทสำคัญในการระดมทุนของประชาชน โดยเจ้าของเงิน (Source of fund) หรือภาคประชาชน (Public) นั้น มีดังนี้ 1. เงินออมของประชาชน 2. เงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3. บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย 4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 6. กองทุนประกันสังคม 7. เงินของวัด 8. เงินของมูลนิธิ 9. เงินของสหกรณ์ 10. กองทุนรวม การระดมทุนประชาชน (Public Fund Raising) ผ่านตลาดทุน (The Capital Market) ในหลักกฎหมายประเภทแห่งกิจการ (Corporate Law) หมายถึง การพิจารณาว่าประเภทกิจการใดบ้างที่อยู่ในตลาดทุน (The Capital Market) ซึ่งสามารถระดมทุนของประชาชนเพื่อนำมาลงทุนได้ ซึ่งตามกฎหมายของไทยได้แบ่งประเภทแห่งกิจการในการระดมทุนในตลาดทุนดังนี้ 1. Limited Company 2. Public Company Limited 3. SOEs 4. Government and related Agency 5. Mutual Fund ในการระดมทุนจากประชาชนโดยตลาดทุน (Capital Market) นั้นจะการออกตราสารทางการเงิน (Securities Instrument) หรือ หลักทรัพย์ (Securities) ทั้งที่เป็นตราสารทุนและตราสารหนี้ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้ระดมทุนจากประชาชนในตลาดทุน (Capital Market) โดยแยกพิจารณาทั้งในส่วนทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) และทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts) ได้ดังนี้ 1. ทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) โดยทฤษฎีส่วนของทุน มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ 1. Ownership โดยการระดมทุนของส่วนของทฤษฎีส่วนทุนนั้น ทำให้ผู้ที่ถูกระดมเงินซึ่งเป็นเจ้าของเงินมีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้นด้วย 2. Voting right เมื่อมีความเป็นเจ้าของแล้วย่อมมีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิลงคะแนนออกเสียงสำหรับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท ทั้งนี้จะเข้าประชุมและออกเสียงด้วยตนเองหรือโดยมอบฉันทะ (Proxy) ก็ย่อมได้ 3. Dividend เมื่อผู้ที่ถูกระดมเงินซึ่งเป็นเจ้าของเงินอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นย่อมมีสิทธิได้รับเงินปันผล (Dividend) ตามกฎหมาย 4. Capital gain/loss (Asset participation) สิ่งสำคัญที่สุดในการมีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้นด้วยก็คือ การมีส่วนร่วมในทรัพย์สินของกิจการ (Asset participation) ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการจะไม่ได้รับต้นทุนคือจนกว่าจะมีการเลิกกิจการ ทั้งนี้ Capital gain/loss จะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการชำระบัญชี (Liquidation) แล้ว ตัวอย่างตราสารในทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) ที่ออกโดยตลาดทุน (Capital Market) 1. Common Stock 2. Preferred Stock 2. ทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts) โดยการระดมทุนของส่วนของทฤษฎีแห่งหนี้นั้น ทำให้ผู้ที่ถูกระดมเงินอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ โดยทฤษฎีแห่งหนี้ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ 1. Principal Principal ก็คือเงินต้นที่ผู้ที่ถูกระดมเงินนำมาซื้อตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ และเมื่อมีการซื้อตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ซึ่งมีลักษณะตามทฤษฎีแห่งหนี้แล้วจะมีผลทำให้ผู้ซื้อตราสารนั้นกลายเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ 2. Interest ในตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์จะมีการกำหนดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเสมือนค่าตอบแทน 3. Maturity หมายความถึงอายุการไถ่ถอนตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อไถ่ถอนแล้วก็จะได้ต้นเงิน (Principal) พร้อมดอกเบี้ย (Interest) 4. Non ownership เมื่อไม่ใช่ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น 5. Non Voting Right เมื่อไม่มีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น จึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมหรือออกเสียง ตัวอย่างตราสารในทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts) ที่ออกโดยตลาดทุน (Capital Market) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตราสารหนี้ระยะยาวทั้งสิ้น 1. Gov Bond 2. SOE Bond 3. Debenture หุ้นกู้ หากพิจารณาแยกเป็นรายสภาพแห่งกิจการตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้น สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ 1. Limited Company ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้ 2. Public Company Limited ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้ 3. SOEs แยกพิจารณาดังนี้ 3.1 SOE – Limited Company ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้ 3.2 SOE – Public Company Limited ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้ 3.3 SOE – พรบ จัดตั้ง ตราสารทุน – ไม่สามารถออกหุ้นสามัญได้ ตามทฤษฎีทุนประเดิม (Endowment) ตราสารหนี้ – การออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.4 SOE – พรฎ จัดตั้ง ตราสารทุน – ไม่สามารถออกหุ้นสามัญได้ ตามทฤษฎีทุนประเดิม (Endowment) ตราสารหนี้ – การออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 4. Government and related Agency อออกได้เฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น 5. Mutual Fund กองทุนรวม คือ โครงการจัดการลงทุนที่ระดมทุนจากบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปและนำเงินดังกล่าวไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน เงินฝาก และทรัพย์สินอื่นๆ ที่กฎหมายอนุญาตให้ลงทุนได้ ทั้งนี้กองทุนรวมแต่ละประเภทจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสม กับความต้องการของผู้ลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของเงิน (Source of fund) โดยจะต้องพิจารณาตามความเสี่ยง และผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ โครงสร้างของกองทุนรวมถูกกำหนดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ และผู้กำกับดูแล ทั้งที่เป็นองค์กรของ ภาคเอกชนและภาครัฐ ได้แก่ 1.บริษัทจัดการ ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลังเท่านั้น บริษัทจัดการเป็นผู้กำหนดโครงการกองทุนรวม นโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และต้องบริหารจัดการลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนนั้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทจัดการจะแจ้งนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ในการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบ ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่แจกจ่าย ให้แก่ผู้ลงทุนและ ผู้ที่สนใจลงทุนได้ศึกษาก่อนที่จะลงทุน 2.ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นสถาบันการเงิน ที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์จะเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทั้งมวลของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ดูแลให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบาย การลงทุนของโครงการลงทุน ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานก.ล.ต. และที่ได้จดแจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน ทำหน้าที่ชำระราคาค่าซื้อและรับชำระราคาจากการขายทรัพย์สิน เก็บรักษาทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม สอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้ถือหน่วยลงทุนหากบริษัทจัดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 3. ตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำหน้าที่เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. เท่านั้น ตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และผ่านการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการเป็นตัวแทนขายจากสถาบัน ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ ขึ้นทะเบียนรายชื่อกับสำนักงานก.ล.ต. ต้องปฏิบัติ และทำหน้าที่ในการขายตามกรอบที่กฎหมายกำหนดเพื่อป้องกันการขายและ การโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในสาระสำคัญตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกองทุนรวม 4.นายทะเบียนหน่วยลงทุน นายทะเบียนหน่วยลงทุน เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้มีหน้าที่ดูแลทะเบียนรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น การจ่ายเงินปันผล และสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ บริษัทจัดการอาจทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหน่วยลงทุน สำหรับกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนก็ได้ 5.ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชี และมีชื่อขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกองทุนรวม ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบงบการเงินของกองทุนให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี 6.สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน จัดตั้งขึ้นภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นสมาคมที่ เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ จดทะเบียนสมาคมกับสำนักงาน ก.ล.ต. มีบริษัทจัดการที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสมาชิก สมาคมมีหน้าที่กำหนดจรรยาบรรณ และวางมาตรฐานในการปฏิบัติ ให้บริษัทสมาชิกยึดถือและปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกราย กำหนดบทลงโทษเมื่อบริษัทสมาชิกฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตาม 7.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นองค์กรของภาครัฐ ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงการจัดการลงทุนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ ข้อกำหนดตามความในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม จึงเป็นการระดมทุนของประชาชน โดยประชาชนที่มาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนจะมีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) กองทุนรวมจะมีหนี้สินไม่ได้ ดังนั้น สินทรัพย์ของกองทุนรวมจึงเป็นดังนี้ สินทรัพย์ เท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น

การระดมทุนจากประชาชนในตลาดเงิน (Money Market) - กฎหมายหลักทรัพย์

การระดมทุนจากประชาชนในตลาดเงิน (Money Market) เป็นลักษณะของการระดมทุนโดยระยะสั้นซึ่งปกติจะไม่เกิน 1 ปี ในตลาดเงินนั้นจะมีสถาบันทางการเงิน ทำหน้าที่เป็นสถาบันตัวกลาง intermediary ซึ่งเป็นเสมือนตัวกลางระหว่างเจ้าของเงิน (Source of fund) กับ แหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) โดยสถาบันทางการเงินจะแล้วนำมาให้ Investor กู้นำไปใช้ในการลงทุน ในกรณีนี้ Investor จึงเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยอ้อม โดยเจ้าของเงิน (Source of fund) หรือภาคประชาชน (Public) นั้น มีดังนี้ 1. เงินออมของประชาชน 2. เงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3. บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย 4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 6. กองทุนประกันสังคม 7. เงินของวัด 8. เงินของมูลนิธิ 9. เงินของสหกรณ์ 10. กองทุนรวม สถาบันตัวกลาง intermediary ซึ่งเป็นเสมือนตัวกลางระหว่างเจ้าของเงิน (Source of fund) กับ แหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) ซึ่งก็คือสถาบันทางการเงิน นั่นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 1.สถาบันการเงินตาม พรบ. สถาบันการเงินฯ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพรบ. บริษัทมหาชนจำกัดฯ และต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน 2.สถาบันการเงินตามเฉพาะกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพรบ.เฉพาะ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ในการระดมทุนจากประชาชนโดยตลาดเงิน (Money Market) นั้นสถาบันการเงินจะการออกตราสารทางการเงิน (Securities Instrument) หรือ หลักทรัพย์ (Securities) เฉพาะที่เป็นตราสารหนี้เท่านั้น

ความหมายของราชอาณาจักร

ความหมายของราชอาณาจักร ความสำคัญที่จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าบริเวณใดเป็นราชอาณาจักรไทยหรือไม่นั้น ก็เนื่องจากหากบริเวณนั้นเป็น “ราชอาณาจักรไทย” และมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ศาลไทยย่อมมีอำนาจพิจารณาและลงโทษผู้กระทำความผิดได้ตามประมวกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคหนึ่ง “ราชอาณาจักรไทย” ได้แก่บริเวณดังต่อไปนี้ 1) พื้นดินและพื้นน้ำซึ่งประกอบกันเป็นประเทศไทย 2) ทะเลอันเป็นอ่าวไทย 3) ทะเลอันห่างจากฝั่งซึ่งเป็นดินแดน ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล 4) อากาศเหนือพื้นดินเหนือพื้นที่ข้างต้ *** สถานทูตไทยในต่างประเทศจึงไม่ใช่ราชอาณาจักรไทยครับ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ต้องเป็น 1.ความผิดอาญาซึ่งกฎหมายของประเทศผู้ร้องขอ และ กฎหมายไทย 2.กำหนดให้เป็นความผิดอาญาซึ่งมีโทษประหารชีวิตหรือมีโทษจำคุกหรือโทษจำกัดเสรีภาพในรูปแบบอื่นตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป (การกระทำความผิดอาญาอื่นซึ่งมีโทษจำคุกหรือโทษจำกัดเสรีภาพในรูปแบบอื่นน้อยกว่าหนึ่งปีอาจร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ หากเป็นความผิดเกี่ยวพันกับความผิดที่ให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามคำร้องขอแล้ว ไม่ว่าจะร้องขอพร้อมคำร้องขอในครั้งแรกหรือภายหลัง) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดที่ได้กำหนดไว้ในหมวดเดียวกันหรือเรียกชื่อความผิดเป็นอย่างเดียวกันของทั้งสองประเทศหรือไม่ก็ตาม การส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้เริ่มต้นด้วยการมีคำร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศผู้ร้องขอ คำร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศผู้ร้องขอที่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทยให้จัดส่งไปยังผู้ประสานงานกลาง (อัยการสูงสุด) ในกรณีที่ประเทศผู้ร้องขอมิได้มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ให้จัดส่งคำร้องขอดังกล่าวโดยผ่านวิถีทางการทูต ในกรณีที่เห็นว่าคำร้องขอนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำเนินการให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้ประสานงานกลางแจ้งให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับแล้วจัดส่งหมายจับให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ขังบุคคลซึ่งถูกร้องขอให้ส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนและรัฐบาลไทยพิจารณาให้ส่งบุคคลนั้นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว การส่งมอบตัวบุคคลซึ่งถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดนให้แก่ประเทศผู้ร้องขอจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุด หรือภายในกำหนดเวลาที่ศาลได้อนุญาตให้ขยายออกไปตามคำร้องของพนักงานอัยการ

การพระราชทานอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการลบล้างมลทิน

การพระราชทานอภัยโทษ (Pardon or Grace) การให้อภัยในโทษที่กำลังได้รับอยู่ การอภัยโทษจะเป็นการยกโทษให้ทั้งหมดคือไม่ต้องรับโทษที่ยังมีอยู่อีกต่อไปหรือจะเป็นการลดโทษบางส่วนให้ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่กำลังรับโทษอยู่ การอภัยโทษใช้สำหรับกรณีคดีถึงที่สุดแล้วและบุคคลกำลังได้รับโทษอยู่ การยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือลดหย่อนผ่อนโทษลงไปแก่นักโทษผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้รับโทษนั้นโดยยังถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดและเคยต้องคำพิพากษา การนิรโทษกรรม (Amnesty) การทำสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ผลก็คือผู้ที่ทำผิดแล้วได้รับนิรโทษกรรมจะถือว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ที่ทำผิดและไม่ต้องได้รับโทษ การที่กฎหมายไม่ถือว่าการกระทำบางการกระทำเป็นความผิดและโทษซึ่งเป็นผลสำหรับการนั้นไม่จำเป็นต้องถูกนำมาบังคับใช้ซึ่งตามปกติการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด หรือเป็นการยกโทษให้ทั้งหมด ทั้งถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้เคยต้องโทษนั้นมาเลยคือให้ลืมความผิดนั้นเสีย การลบล้างมลทิน การลบล้างมลทินที่มีอยู่อันเนื่องมาจากการได้รับโทษเป็นการยกเลิกประวัติที่เคยได้รับโทษให้หมดไป ผลของบทบัญญัติกฎหมายล้างมลทิน คือ ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวซึ่งถูกลงโทษและได้รับโทษจนพ้นโทษไปแล้วนั้น ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษ เท่ากับไม่เคยมีมลทิน ทั้งนี้ กระบวนการออกคำสั่งลงโทษต้องครบขั้นตอนและมีผลบังคับแล้ว เช่น คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้วโดยไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา หรือแม้จะครบขั้นตอนการออกคำสั่ง/คำพิพากษา แต่ถ้าผู้ที่ถูกลงโทษไม่ยอมรับโทษเพราะหลบหนี ไม่ว่าก่อนหรือในระหว่างถูกลงโทษ ย่อมมิใช่ผู้ที่อยู่ในข่ายของการล้างมลทินจะกล่าวอ้างขอรับผลของกฎหมายล้างมลทินไม่ได้