คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

คำเสนอ และ คำสนอง

คำเสนอ คือ การแสดงเจตนาแสดงความประสงค์ของตนต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเพื่อขอให้ทำสัญญาด้วย หรือ อาจสรุปสั้น ๆ ว่า เป็นคำขอให้ทำสัญญา

คำเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวซึ่งมีผลผูกพันผู้เสนอ จะแสดงเจตนาต่อบุคคลโดยเจาะจงหรือต่อสาธารณชนโดยไม่เจาะจงก็ได แต่จะต้องมีข้อความชัดเจนแน่นอน ซึ่งเมื่อมีคำสนองรับตามคำเสนอ สัญญาจะต้องเกิดขึ้น

ถ้าสัญญาไม่เกิด ย่อมไม่ใช่คำเสนอ แต่อาจเป็นเพียงคำปรารภ หรือคำทาบทาม หรือคำเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอขึ้นก่อน


คำสนอง คือ การแสดงเจตนาของผู้สนองรับต่อผู้เสนอตกลงรับทำสัญญาตามคำเสนอ หรืออาจสรุปสั้น ๆว่า คำสนอง คือ คำตอบรับทำสัญญาตามคำเสนอ

คำสนองเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวซึ่งต้องผูกพันผู้สนองรับ แต่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้เสนอเท่านั้น เมื่อคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน ก็จะเกิดเป็นสัญญาผูกพันทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ หมายความว่า การแสดงเจตนาทำคำสนองนั้น จะต้องมาถึงผู้เสนอก่อนคำเสนอสิ้นความผูกพัน และคำสนองนั้นจะต้องไม่มีข้อไขอันไม่ตรงตามคำเสนอของผู้เสนอ

ถ้าคำเสนอมาถึงเมื่อคำเสนอสิ้นความผูกพันแล้ว หรือมีข้อไขไม่ตรงตามคำเสนอของผู้เสนอ สัญญาย่อมไม่เกิด

สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด และที่ใด

สัญญาเกิดขึ้นเมื่อคำเสนอกับคำสนองตกต้องตรงกัน โดยสัญญาจะเกิด ณ ที่ใดแล้วแต่การทำคำสนอง ดังนี้

1 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ

2 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ไม่ว่ามีการบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองหรือไม่มีการบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง เมื่อสนองรับต่อหน้าก็เกิดสัญญา ณ ที่สนองรับนั้น แต่ถ้าเป็นคำเสนอคำสนองทางโทรศัพท์ ต้องถือว่าสัญญาเกิด ณ ที่ผู้เสนอได้รับคำสนองทางโทรศัพท์นั้น เพราะถือว่าเป็นการสนองรับต่อหน้าผู้เสนอ ผู้เสนออยู่ ณ ที่ใด สัญญาย่อมเกิดขึ้นที่นั่น

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

ประเภทของสัญญา

1 สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน

สัญญาต่างตอบแทน คือสัญญาที่คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน เช่นสัญญาซื้อขาย โดยผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อต้องชำระราคาให้ผู้ขาย (ผู้ซื้อและผู้ขายต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน)

สัญญาไม่ต่างตอบแทน คือสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้เช่นสัญญายืม ผู้ให้ยืมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ยืมเท่านั้น ผู้ให้ยืมไม่ได้มีฐานะเป็นลูกหนี้ ดังนั้นผู้ให้ยืมมีสิทธิบังคับเอากับทรัพย์ที่ตนให้ยืม ส่วนผู้ยืมซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถคืน



2 สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน

สัญญามีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องเสียค่าตอบแทนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะได้รับในลักษณะเดียวกัน เช่น ราคาแลกกับสินค้าในสัญญาซื้อขาย

สัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวที่ได้รับประโยชน์ในทรัพย์นั้นโดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย เช่น สัญญายืม สัญญาให้โดยเสน่หา



3 แบ่งตามชื่อของสินค้า คือ สัญญาที่มีชื่อกับสัญญาที่ไม่มีชื่อ

สัญญามีชื่อ หรือเอกเทศสัญญา คือสัญญาที่พบและใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ชัดเจนและเหมาะสมกับแต่ละสัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาฝากทรัพย์ เป็นต้น

สัญญาที่ไม่มีชื่อ คือ ข้อตกลงของคู่สัญญาที่ทำขึ้นเอง โดยไม่มีลักษณะดังเช่นเอกเทศสัญญา

หลักทั่วไปในการทำสัญญา

“สัญญา” มีสาระสำคัญ ดังนี้

1) สัญญานั้นต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ลำพังบุคคลเพียงฝ่ายเดียวไม่อาจที่จะก่อให้เป็นสัญญาขึ้นมาได้

2) บุคคลทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการแสดงเจตนา ซึ่งถูกต้องตรงกัน ซึ่งเรียกตามภาษากฎหมายว่า มีความตกลงยินยอมของบุคคลสองฝ่ายนั่นเอง

3) ต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันในทางกฎหมายตามที่ทั้งสองต้องการ

4) สัญญาก่อผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น กล่าวคือ สัญญาจะเกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาและสัญญาจะมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา (Privity of Contract) เท่านั้น กล่าวคือ จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น คู่สัญญาจะก่อความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิหรือก่อให้เกิดหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาไม่ได้ เว้นแต่สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก