คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและให้ยกตัวอย่างในการแก้ปัญหา

น้่องธนิตาเคยเขียนเรียงความหัวข้อนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง และพี่ก็ได้แนะนำไปพอสมควร หลังจากนั้น น้องธนิตาได้นำไปปรับปรุง ลองเข้าไปดูที่ http://tutorlawgroup.blogspot.com/2009/10/blog-post_28.html และน้องธนิตาได้เขียนมาให้พี่ตรวจใหม่ คราวนี้ ทำได้ดีขึ้นเยอะมาก พี่กำลังจะบอกน้อง ๆ ว่า "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น" ครับ

นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและให้ยกตัวอย่างในการแก้ปัญหา

ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเกิดจากกฎหมายไม่เข้มแข็งพอ

ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเกิดจากกฎหมายไม่เข้มแข็งพอ

วิชาชีพที่ข้าพเจ้าใฝ่ฝัน

วิชาชีพที่ข้าพเจ้าใฝ่ฝัน

การที่ผู้พิพากษาตัดสินประหารจำเลย จะเป็นบาปหรือไม่

การที่ผู้พิพากษาตัดสินประหารจำเลย จะเป็นบาปหรือไม่

สถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหา

สถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหา

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีการเพื่อความปลอดภัย

วิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคต

ดังนั้นวิธีการเพื่อความปลอดภัยจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากโทษ ซึ่งอธิบายได้ว่า

โทษเป็นสภาพบังคับที่จะใช้แก่บุคคลภายหลังจากที่บุคคลนั้นได้กระทำความผิดแล้ว

ส่วนวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่นำมาใช้ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดหรือมีการกระทำความผิดแล้วไม่ให้กลับมากระทำผิดอีก


1.กักกัน

การกักกันเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดที่ติดนิสัย ซึ่งมาตราการนี้จะทำให้บุคคลที่เคยกระทำความผิดมาแล้วไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกรงกลัวว่าจะต้องถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าปรากฏว่าหากผู้กระทำผิดติดนิสัย กระทำผิดซ้ำอีกได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอีกภายใน 10 ปี ศาลอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย บุคคลนั้นอาจถูกกักกันได้

2.ห้ามเข้าเขตกำหนด

เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ศาลเห็นสมควรว่า ผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมโน้มเอียงในการกระทำผิดในบางพื้นที่ ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้วได้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิดในเขตนั้น ๆ อีก

3.เรียกประกันทัณฑ์บน

กรณีที่ศาลไม่ได้ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ศาลสามารถสั่งให้ทำทัณฑ์บนได้ มาตรการนี้เป็นการป้องกันผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงที่จะประกอบอาชญากรรม ทำให้ผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงนั้นไม่กล้าลงมือกระทำผิด เพราะเกิดความยับยั้งชั่งใจ

4.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล

บุคคลบางประเภทมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายและจิตใจหรือติดยาเสพติดให้โทษ และเพื่อเป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิด ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นมีสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ

ตัวอย่าง นายเอกชอบดื่มเหล้าขาวเป็นอาจิณ และทุกครั้งที่ดื่มเหล้าขาว นายเอกจะทำร้ายร่างกายบิดา มารดาตนเองเป็นอาจิณ เช่นนี้ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาอาการเหล้าได้

5.ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง

เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษและเห็นว่าผู้นั้นมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายเพราะการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่าง ศาลอาจจะห้ามบุคคลดังกล่าวประกอบอาชีพหรือวิชาชีพเพื่อป้องกันให้ไม่มีโอกาสได้กลับมากระทำผิดเช่นนั้นได้อีก

ตัวอย่าง นายโทมีอาชีพเป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ได้ผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ ทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของประชาชน พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพผลิตผลิตลูกชิ้น ซึ่งหากให้นายโทประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้นอีก ก็อาจกลับมากระทำผิดผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ เช่นนี้ จึงขอให้ศาลสั่งห้ามประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้น

การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

 ข้อนี้พี่กอล์ฟมั่นใจว่าจะต้องนำมาออกสอบสักปีใดปีหนึ่ง ดังนั้น ต้องจำไว้ก่อนสอบตรงนะครับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 22 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า

การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใด ให้คณะองคมนตรี จัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าทูล กระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดำเนินการ แจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้”

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศาลมิใช่พหูสูต นักกฎหมายมิได้รู้ทุกเรื่อง (บทความจาก Pub-law.net)

โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ
ขอบคุณบทความจาก Pub-law.net ครับ


คนอื่นจะคิดอย่างไรผมไม่รู้แต่ความรู้สึกของผมที่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญกรณี พ.ร.ก.กู้เงินฯแล้ว มีความรู้สึกพิกลๆว่าเดี๋ยวนี้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในคำ วินิจฉัยแทนหลักกฎหมายกันแล้วหรือ รู้สึกฉงนว่าศาลรัฐธรรมนูญมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กว่านัก เศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่มากมายในประเทศนี้แล้วล่ะหรือ หรือว่าเป็นเพียงการนำคำชี้แจงหรือคำให้การของรัฐบาลมาปรับปรุงตกแต่งใหม่ เท่านั้นเอง
โดยเนื้อหาในคำวินิจฉัยระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ใน ทั้งสองประเด็น ประกอบด้วย
ประเด็นแรกคือ การตรา พ.ร.ก. ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตาม รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งหรือไม่ โดยในประเด็นนี้ คณะ ตุลาการเห็นว่า ขณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการเมืองภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน รวมทั้งก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ระบบเศรษฐกิจเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออก และนำเข้าก็ลดลงอย่างมาก รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำรายได้สูงสุดก็ลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัย
สิ่งบ่งชี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงคือ มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจปิดกิจการมากขึ้นทำให้ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อลดลง ส่งผลให้จีดีพีหดตัวลงอย่างมาก
จากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้รายได้ที่จัดเก็บน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง ถึงความสามารถในการใช้จ่ายและจัดทำบริการสาธารณะ แม้ว่า รัฐจะได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษี มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน การจัดทำงบประมานรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ หรือเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่าง ต่อเนื่อง
“เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ประกอบเหตุผลในการตรา พ.ร.ก. ย่อมเห็นได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรี ตรา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นมา ก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ มิให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลังซื้อ อย่างเร่งด่วนในระระบบ ในช่วงที่กำลังซื้อจากทั้งในและต่างประเทศหดตัวลง จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะลุกลามไปทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ ววรคหนึ่งแล้ว”
ประเด็นที่สองที่ต้องพิจารณาคือ พ.ร.ก.ดังกล่าว ตราขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวคณะตุลาการเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่า การส่งออกที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง มีการปิดกิจการหรือเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น หนี้เสียพุ่งสูงขึ้น ทุกปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤติเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการแก้ไขวิกฤติในหลายทาง แต่สภาวะเศรษฐกิจก็ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นกรณีที่มีความฉุก เฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว
“ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เป็นกรณีความฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อัน มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังกล่าวข้างต้น ประกอบสาระสำคัญและกรอบการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๕๒ แล้ว ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีได้ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า การตรา พ.ร.ก.นี้ขึ้นมา เป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองแล้ว”
อันที่จริงแล้วเมื่อเราวิเคราะห์ดูในเนื้อหาของมาตรา ๑๘๔ วรรคสองที่บัญญัติว่าการตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจคณะรัฐมนตรีไว้ชัดเจน ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจใดๆในการไปวินิจฉัยอีก เพราะในเมื่อคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนตาม อำนาจที่ได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
กอปรกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้การตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหารตามมาตรานี้ไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองยิ่งศาลรัฐธรรมนูญที่ประกอบ ไปด้วยนักกฎหมายเสียเกือบทั้งหมดมี นักรัฐศาสตร์บ้างเพียงสองคนจากจำนวนทั้งหมดเก้าคน ที่สำคัญคือไม่มีใครเป็นนักเศรษฐศาสตร์เลย
ฉะนั้น ในกรณีนี้จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยจนทำให้ การนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อลงมติว่าจะรับรองหรือไม่รับรองกฎหมายฉบับนี้ต้อง ชะงักงันไป จนทำให้หลักการของความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสียไปเพราะศาลรัฐธรรมนูญเอง
ตัวอย่างที่ผมยกมานี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายเรื่องที่นักกฎหมายสำคัญตนเองผิด ว่าตนเองรู้ดีกว่าคนอื่นไปเสียทุกเรื่อง ซึ่งก็รวมไปถึงไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญที่ผูกขาดโดยนักกฎหมายหรือร่าง กฎหมายทั่วๆไปที่ถูกผูกขาดตัดตอนโดย สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะกำหนดเนื้อหาที่นอกเหนือจากเทคนิคทางกฎหมายว่าอะไรควรหรือไม่ควรที่จะ บัญญัติลงไปในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทั่วๆไป แทนที่จะเป็นไปตามความต้องการผู้ที่จะต้องใช้กฎหมายนั้น
นักกฎหมายนั้นเปรียบเสมือนช่างตัดผมที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการ ตกแต่งผม แต่ต้องตามใจลูกค้าว่าจะเลือกทรงอะไรสำหรับหัวของเขา มิใช่จะต้องจำยอมให้นักกฎหมายหรือช่างตัดผมตัดตามใจของตัวเอง จนร่างกฎหมายดีๆหลายฉบับต้องบิดเบี้ยวไปดังเช่นที่ผ่านๆมา

กฎหมายมหาชนคืออะไร? (บทความจาก Pub-law.net)

โดย คุณเกษศิรินธร กันสำอางค์ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 17
ขอขอบคุณ Pub-law.net ด้วยครับ


ประเทศไทยก่อนใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบบศาลเป็นระบบศาลเดี่ยว คือ ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีความทั้งหมด รวมถึงฝ่ายที่เรียกว่ารัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อเรียกแตกต่างอย่างไรก็ตาม แต่หากใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจสูงสุดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจของมงเตสกิเยอ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหารซึ่งมีผู้แทนคือรัฐบาลเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ (อำนาจมหาชน) สูงสุดฝ่ายนี้จากประชาชน ให้ฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล โดยจะมีตัวแทนของรัฐบาลที่เรียกว่ารัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆนั้น เป็นผู้บริหารงานของรัฐ และเหตุนี้หน่วยงานของรัฐก็จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้กับประชาชน เช่น ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งมวลชน เป็นต้น ฉะนั้นหากประชาชนเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนก็ต้องนำอรรถคดีไปฟ้องต่อศาล ยุติธรรม จึงอาจกล่าวได้ว่าศาลยุติธรรมรับพิจารณาพิพากษาทั้งคดีเอกชนและคดีมหาชน และขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษในกรณีเกิดการพิพาท ระหว่างประชาชน (เอกชน) กับรัฐ (ผู้ใช้อำนาจมหาชน) ซึ่งอาจทำให้ไม่มีความเป็นธรรมต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการที่ใช้กฎหมายเอกชน มาตัดสินคดีความ ฉะนั้นภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลบังคับใช้จึงทำให้เกิดศาลปกครองขึ้น

ในปี พ.ศ.2542 และได้มีการออกกฎหมายมารองรับการพิจารณาตัดสินคดีความ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และก่อนหน้านั้นรัฐได้เตรียมความพร้อมที่จะจัดตั้งศาลปกครองขึ้นกล่าวคือ ได้ออกพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการเตรียมความพร้อมหรือความเข้าใจในการแบ่งแยกกฎหมาย เอกชนกับกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน โดยก่อตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อพิจารณาคดีปกครองซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชน นับจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ก็ทำให้ประเทศไทยมีระบบศาลเป็นระบบศาลคู่อันเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายมหาชน ดังนั้นเราควรที่จะรู้ว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน

การที่จะรู้ได้ว่าอะไรคือกฎหมายหมาชนนั้น ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ และแนวคิดทฤษฎีที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1. พิจารณาจากบริบทของเนื้อความ คือ เนื้อความของกฎหมายนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เสมอภาค เนื่องจากมีอำนาจมหาชนเข้ามาเป็นตัวแปร ถ้ามีอำนาจมหาชนย่อมสื่อถึงอำนาจที่เหนือกว่า ความไม่เสมอภาคนี้จึงเป็นหลักกฎหมายมหาชน ที่จะนำมาพิจารณาว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน ที่ว่าเนื้อความมีความไม่เสมอภาคเพราะผู้ที่ใช้อำนาจมหาชนเป็นผู้ที่ทำเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ต้องได้รับอำนาจมหาชนมาบังคับปัจเจกบุคคลที่ ใช้อำนาจเอกชนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
2. พิจารณาจากคู่กรณีหรือความสัมพันธ์ คือ ต้องมีคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หรือผู้ที่ใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจมหาชนเสมอ
3. พิจารณาจากสถานะลงโทษหรือการบังคับโทษทางกฎหมาย คือ ถ้าโทษทางกฎหมาย มีลักษณะที่การบังคับโทษต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาดำเนินการ เช่น กฎหมายอาญาที่มีโทษปรับและจำคุก เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน
4. พิจารณาจากลำดับศักดิ์ของกฎหมาย คือ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐออกกฎหมาย ไม่ว่าลำดับศักดิ์ระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนเช่นกัน

ดังนั้นกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐที่อาศัยอำนาจมหาชน ในการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น โดยที่เนื้อหาในการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์นั้น ต้องมีลักษณะของการใช้อำนาจมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ ว่าด้วย ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ส่วนตน และการลงโทษบังคับให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมีกฎหมายบังคับให้อำนาจไว้ และเพื่อที่จะบริหารให้เกิดผลต่อส่วนรวมต้องให้อำนาจรัฐในการที่จะออกกฎหมาย บังคับใช้ด้วย

กฎหมายกับความยุติธรรมสิ่งใดสำคัญกว่ากัน_ทศพร โคตะมะ

กฎหมายกับความยุติธรรมสิ่งใดสำคัญกว่ากัน

จริยธรรม นักกฎหมาย และสังคม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

จริยธรรม นักกฎหมาย และสังคม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

คุณธรรม จริยธรรม ของนักกฎหมาย_สิริพร

เรียงความชิ้นนี้เป็นของน้องผู้หนึ่งที่พี่ต้องกล่าวถึงเป็นกรณีพิเศษ เพราะน้องได้เคยเขียนเรียงความหัวข้อนี้มาแล้ว แต่พี่ได้แนะนำไปให้แก้ไข ลองพิจารณาลิงค์นี้ครับ http://tutorlawgroup.blogspot.com/2009/10/blog-post_22.html

ต่อมาน้องได้พยายามแก้ไข และเขียนมาอีกครั้งซึ่งทำได้ดีกว่าเดิมเยอะมาก อย่างนี้สิที่กล่าวว่า "ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน"

คุณธรรม จริยธรรม ของนักกฎหมาย_สิริพร

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คุณสมบัติที่ดีของนักกฎหมาย 3 ประการ_Apinya

คุณสมบัติที่ดีของนักกฎหมาย 3 ประการ_Apinya

Jus aequum กับนักศึกษานิติศาสตร์ (โดยผศ. ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์)

หากน้อง ๆ ได้อ่านบทความนี้จะทำให้เข้าใจ คำศัพท์กฎหมายที่เกี่ยวกับ Jus Aequum และ Jus strictum ได้มากขึ้นครับ
ขอขอบคุณ ผศ. ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ ที่ได้เขียนบทความดี ๆ เช่นนี้ครับ


Jus aequum กับนักศึกษานิติศาสตร์ (โดยผศ. ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์)

ได้นำมาจาก http://www.law.cmu.ac.th/admin/journal/up_pic/46915.pdf ขอบคุณมากครับ

กฎหมายในฐานะเครื่องมือตัดสินปัญหา_ทศพร โคตะมะ

กฎหมายในฐานะเครื่องมือตัดสินปัญหา

คุณธรรม จริยธรรมของนักกฎหมาย_สิริพร เวทชกิจ

คุณธรรม จริยธรรมของนักกฎหมาย_สิริพร เวทชกิจ

กฎหมายกับความยุติธรรมสิ่งใดสำคัญมากกว่ากัน_Apinya

กฎหมายกับความยุติธรรมสิ่งใดสำคัญมากกว่ากัน_Apinya

คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย_Apinya

คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย_Apinya

หลักวิชาชีพของนักกฎหมาย_Apinya

หลักวิชาชีพของนักกฎหมาย_Apinya

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เมื่อความรักถามหา "ความยุติธรรม" (บทความดี ๆ จาก Manager Online)

บทความโดย ทนายข้างบ้าน (ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2552 11:22 น.)

มีคนนิยามว่าความรักคือ “การให้..ให้โดยไม่มีข้อแม้” บ้างก็นำความรักไปเรียงร้อยเป็นบทเพลงไพเราะที่สื่อถึงความรักว่า รักคือการยอมอดทน การให้อภัย ความเข้าใจ ฯลฯ นั่นอาจเป็นมุมมองด้านดีฝ่ายเดียวของความรัก เพราะในขณะเดียวกัน ด้านมืดของความรัก (ในทางที่ผิด) ก็ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ เป็นอุทาหรณ์สอนใจกันอยู่เนือง ๆ และหลายครั้งที่ปัญหาความรักกลายเป็นข้อขัดแย้งจนต้องพึ่งพิงศาลให้เป็นผู้ ตัดสินและชี้ขาด ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนจึงขอหยิบยก “ความรักสไตล์กฎหมาย” ขึ้นมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน โดยเป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ของความรักอันเกิดจากพ่อแม่วัยรุ่น เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า

นางสาวกุ๊กไก่ เด็กหญิงวัยเรียนคนหนึ่งตั้งครรภ์กับนายมาวิน เพื่อนชาย ขณะกำลังศึกษาเล่าเรียน ส่งผลทำให้เธอต้องยอมลาออกจากโรงเรียนมาอาศัยกับมาวินที่บ้านของเขา โดยต้องทนรับการดูถูกเหยียดหยามจากพ่อแม่ญาติพี่น้องฝ่ายสามีต่าง ๆ นานา ซึ่งเธอก็อดทนด้วยดีมาตลอด จากนั้น เมื่อคลอดบุตรแล้ว เธอก็ยังคงเลี้ยงดูบุตรและดูแลสามีอย่างดีตลอดมา แต่ในที่สุดเธอก็ไม่อาจทนรับแรงกดดันจากบ้านของสามีได้ไหว กุ๊กไก่จึงจำเป็นต้องพาลูกกลับไปอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนเอง และไม่เคยเรียกร้องขอค่าเลี้ยงดูใด ๆ จากฝ่ายสามีทั้งสิ้น

เมื่อหลานจากไปไม่นาน พ่อของสามีก็เกิดอาการคิดถึงหลานขึ้นมาจับใจ จึงเดินทางไปขอรับตัวหลานเพื่อพามาเที่ยวที่บ้านของตนเอง แต่ด้วยความที่หลานยังเป็นเด็กตัวเล็กน่ารักยากที่ปู่จะอดคิดถึงไหวจึงได้ กีดกันไม่ให้กุ๊กไก่ได้พบหน้าลูกอีก ซึ่งแม้ว่าเธอจะพยายามเจรจาขอความเห็นใจและทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ลูกของ เธอคืนมา แต่ทั้งสามีและญาติฝ่ายสามีก็ไม่ยอมคืน สุดท้าย เธอทนไม่ไหวจึงได้ฟ้องร้องต่อศาลขอให้เธอได้สิทธิในการเลี้ยงดูลูก และหย่าขาดจากสามี แต่มาวินก็แย้งว่าที่กุ๊กไก่หาเรื่องฟ้องคดีต่อศาลนั้นก็เพราะอยากให้ตนกลับไปอยู่ด้วยและเพราะหวังเงินจากตนและครอบครัว

สุด ท้ายเมื่อศาลได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้วเห็นว่า ขณะที่กุ๊กไก่ตั้งครรภ์นั้นกุ๊กไก่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ การที่กุ๊กไก่ไม่ยอมไปทำแท้งก็ดีและกุ๊กไก่ได้ลาออกจากโรงเรียนก็ดี บ่งแสดงว่ากุ๊กไก่มีความรักทารกในครรภ์ประสงค์ที่จะให้ทารกซึ่งจะคลอดออกมา มีพร้อมทั้งบิดามารดาจึงยอมเสียอนาคตทางการศึกษาโดยลาออกมาอยู่กินกับมาวิน และเมื่อกุ๊กไก่คลอดบุตรผู้เยาว์แล้ว ก็ได้เลี้ยงดูด้วยตนเองตลอดมาโดยมิได้ทอดทิ้ง ซึ่งน่าเชื่อว่าที่กุ๊กไก่ต้องทนอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับบิดามารดาของมาวิน ทั้งที่ทราบดีว่ามารดาของมาวินไม่พอใจในตัวของกุ๊กไก่และไม่ประสงค์ให้ กุ๊กไก่อยู่ด้วยก็เพื่อให้บุตรผู้เยาว์ได้รับความอบอุ่นและได้รับการเลี้ยง ดูอย่างใกล้ชิดจากบิดามารดา

แม้ต่อมาเมื่อกุ๊กไก่ไม่อาจทนอยู่กับสามีได้อีกต่อไปต้องกลับไปอยู่ที่บ้านบิดามารดากุ๊กไก่ กุ๊ก ไก่ก็นำบุตรผู้เยาว์ไปเลี้ยงดูด้วยแสดงให้เห็นว่ากุ๊กไก่มีความรัก ความผูกพันห่วงหาอาทร และต้องการจะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เท่านั้นโดยไม่หวังความสุขในชีวิตสมรสอีก ต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวของกุ๊กไก่หาใช่เรื่องที่กุ๊กไก่นำมาเป็นข้อต่อรองเพื่อให้มาวินกลับไปอยู่กินกับกุ๊กไก่ดังที่มาวินอ้างไม่ เพราะหากกุ๊กไก่มีความประสงค์เช่นนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่กุ๊กไก่จะต้องฟ้องขอหย่าขาดจากมาวิน อีกทั้งกุ๊กไก่ไม่ได้เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากมาวินแต่ ประการใดเลย บ่งชัดว่ากุ๊กไก่สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจาก ความช่วยเหลือของมาวิน

นอกจากนี้การที่กุ๊กไก่ถูกกีดกันไม่ให้พบบุตรผู้เยาว์ แต่กุ๊กไก่ยังมิได้ละความพยายามแต่อย่างใดโดยเพียรพยายามมาขอพบบุตรผู้เยาว์ และยอมอะลุ้มอล่วยทุกวิถีทางเพียงเพื่อได้ดูแลบุตรผู้เยาว์เท่านั้น บ่งแสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่กุ๊กไก่มีต่อบุตรผู้เยาว์ ซึ่ง ต่างไปจากพฤติการณ์ของมาวินอย่างยิ่ง โดยมาวินรับว่า เมื่อบิดาของมาวินนำบุตรผู้เยาว์กลับมา มาวินและบิดามารดาไม่อาจเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้เพราะต้องไปทำงานทุกคน จึงให้ญาติฝ่ายบิดาเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ตลอดมาจนถึงวัยเรียน อีกทั้งมาวินก็ยอมรับว่ามาวินมีรายได้น้อยยังต้องพึ่งพาบิดามารดาอยู่ไม่อาจ เลี้ยงดูบุตรภริยาได้ ซึ่งเท่ากับว่ามาวินไม่มีความสามารถยืนหยัดได้ด้วยลำแข้งของตนเองโดยปราศจาก ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากบิดามารดาของมาวิน ดังนั้น เมื่อมาวินเองยังไม่สามารถช่วยเหลือปกครองดูแลชีวิตของตนเองได้เช่นนี้มาวินจะใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้อย่างไร

หลาย ๆ ครั้งที่ปัญหาจากความรักที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถหาบทสรุปที่สวยหรูได้เสมอไป แต่ในกรณีนี้ คำตอบจากศาลในการให้ความยุติธรรมกับความรัก ก็ดูจะสมเหตุสมผลดี

ขอบคุณ เวบไซต์ Manager Online มากครับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคบัณฑิต) ประจำปี 2553

ข่าวประชาสัมพันธ์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับสถาบันกวดวิชา_Apinya

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับสถาบันกวดวิชา_Apinya

บทบาทนักกฎหมายต่อสังคม_นางสาวนิภาพร มีคำ

บทบาทนักกฎหมายต่อสังคม_นางสาวนิภาพร มีคำ

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คุณธรรม จริยธรรม ของนักกฎหมาย _ สิริพร เวทชกิจ

คุณธรรม จริยธรรม ของนักกฎหมาย _ สิริพร เวทชกิจ

การนับระยะเวลาตามกฎหมาย

ผมได้รวบรวมการนับระยะเวลาตามกฎหมาย เพราะมีน้อง ๆ ได้สอบถามมาเยอะพอสมควร หวังว่าจะมีประโยชน์ตามควรนะครับ
อีกทั้งในเรื่องระยะเวลานั้น ได้ออกข้อสอบ โครงการสอบตรง และภาคบัณฑิต มาหลายปี จึงเป็นเรื่องน่าสนใจในการทบทวนครับ

การนับระยะเวลาตามกฎหมาย

หากมีอะไรที่สงสัยเพิ่มเติมก็สอบถามมาได้ครับ ส่วนเรียงความพีจะทยอยส่ง comment ไปนะครับ

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๔

พี่ได้สรุปประเด็นสำคัญสำหรับการเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์มาให้ครับ จะทยอยลงข้อมูลนะครับ สำหรับครั้งนี้ เป็นตอนที่สี่ครับ

รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๔

หากมีข้อสงสัยเพิ่ม สอบถามมานะครับที่ hanayolaw@gmail.com

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๓

พี่ได้สรุปประเด็นสำคัญสำหรับการเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์มาให้ครับ จะทยอยลงข้อมูลนะครับ สำหรับครั้งนี้ เป็นตอนที่สามครับ


รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๓


หากมีข้อสงสัยเพิ่ม สอบถามมานะครับที่ hanayolaw@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับโทษประหารชีวิต

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับโทษประหารชีวิต

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า นักกฎหมายต้องมีความเป็นกลาง_สวรส สนเอี่ยม (เรียงความแนะนำ)

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า‘นักกฎหมายต้องมีความเป็นกลาง’

นักกฎหมายที่ดีในทัศนคติของท่าน_สิริพร เวทชกิจ

นักกฎหมายที่ดีในทัศนคติของท่าน_สิริพร เวทชกิจ

นักกฎหมายที่ดีในทัศนคติของข้าพเจ้า_ณัฐนันท์ ใจมูล

นักกฎหมายที่ดีในทัศนคติของข้าพเจ้า_ณัฐนันท์ ใจมูล

รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๒

พี่ได้สรุปประเด็นสำคัญสำหรับการเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์มาให้ครับ จะทยอยลงข้อมูลนะครับ สำหรับครั้งนี้ เป็นตอนที่สองครับ

รวมประเด็นสำคัญ ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

มีอะไรสอบถามเพิ่มเติม ส่งเมลล์มาได้ที่ hanayolaw@gmail.com ครับ

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รวมประเด็นสำคัญ ... ก่อนสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ ๑

พี่ได้สรุปประเด็นสำคัญสำหรับการเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์มาให้ครับ จะทยอยลงข้อมูลนะครับ สำหรับครั้งนี้ เป็นตอนแรกครับ


รวมประเด็นสำคัญ เตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ ตอนที่ ๑


หากมีข้อสงสัยเพิ่ม สอบถามมานะครับที่ hanayolaw@gmail.com

ส่วนเรียงความที่น้อง ๆ ส่งมาพี่จะทยอยตรวจและส่ง comment ไปครับ