คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศาลมิใช่พหูสูต นักกฎหมายมิได้รู้ทุกเรื่อง (บทความจาก Pub-law.net)

โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ
ขอบคุณบทความจาก Pub-law.net ครับ


คนอื่นจะคิดอย่างไรผมไม่รู้แต่ความรู้สึกของผมที่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญกรณี พ.ร.ก.กู้เงินฯแล้ว มีความรู้สึกพิกลๆว่าเดี๋ยวนี้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในคำ วินิจฉัยแทนหลักกฎหมายกันแล้วหรือ รู้สึกฉงนว่าศาลรัฐธรรมนูญมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กว่านัก เศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่มากมายในประเทศนี้แล้วล่ะหรือ หรือว่าเป็นเพียงการนำคำชี้แจงหรือคำให้การของรัฐบาลมาปรับปรุงตกแต่งใหม่ เท่านั้นเอง
โดยเนื้อหาในคำวินิจฉัยระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ใน ทั้งสองประเด็น ประกอบด้วย
ประเด็นแรกคือ การตรา พ.ร.ก. ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตาม รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งหรือไม่ โดยในประเด็นนี้ คณะ ตุลาการเห็นว่า ขณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการเมืองภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน รวมทั้งก่อให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ระบบเศรษฐกิจเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออก และนำเข้าก็ลดลงอย่างมาก รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำรายได้สูงสุดก็ลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัย
สิ่งบ่งชี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงคือ มูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจปิดกิจการมากขึ้นทำให้ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อลดลง ส่งผลให้จีดีพีหดตัวลงอย่างมาก
จากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้รายได้ที่จัดเก็บน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง ถึงความสามารถในการใช้จ่ายและจัดทำบริการสาธารณะ แม้ว่า รัฐจะได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษี มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน การจัดทำงบประมานรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ หรือเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่าง ต่อเนื่อง
“เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ประกอบเหตุผลในการตรา พ.ร.ก. ย่อมเห็นได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรี ตรา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขึ้นมา ก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ มิให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลังซื้อ อย่างเร่งด่วนในระระบบ ในช่วงที่กำลังซื้อจากทั้งในและต่างประเทศหดตัวลง จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน
เพื่อป้องกันปัญหาที่จะลุกลามไปทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ ววรคหนึ่งแล้ว”
ประเด็นที่สองที่ต้องพิจารณาคือ พ.ร.ก.ดังกล่าว ตราขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐ ธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวคณะตุลาการเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่า การส่งออกที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง มีการปิดกิจการหรือเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น หนี้เสียพุ่งสูงขึ้น ทุกปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤติเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการแก้ไขวิกฤติในหลายทาง แต่สภาวะเศรษฐกิจก็ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นกรณีที่มีความฉุก เฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว
“ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เป็นกรณีความฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อัน มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังกล่าวข้างต้น ประกอบสาระสำคัญและกรอบการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๕๒ แล้ว ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีได้ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลยพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า การตรา พ.ร.ก.นี้ขึ้นมา เป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคสองแล้ว”
อันที่จริงแล้วเมื่อเราวิเคราะห์ดูในเนื้อหาของมาตรา ๑๘๔ วรรคสองที่บัญญัติว่าการตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจคณะรัฐมนตรีไว้ชัดเจน ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจใดๆในการไปวินิจฉัยอีก เพราะในเมื่อคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนตาม อำนาจที่ได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
กอปรกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้การตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหารตามมาตรานี้ไว้ว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองยิ่งศาลรัฐธรรมนูญที่ประกอบ ไปด้วยนักกฎหมายเสียเกือบทั้งหมดมี นักรัฐศาสตร์บ้างเพียงสองคนจากจำนวนทั้งหมดเก้าคน ที่สำคัญคือไม่มีใครเป็นนักเศรษฐศาสตร์เลย
ฉะนั้น ในกรณีนี้จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยจนทำให้ การนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อลงมติว่าจะรับรองหรือไม่รับรองกฎหมายฉบับนี้ต้อง ชะงักงันไป จนทำให้หลักการของความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสียไปเพราะศาลรัฐธรรมนูญเอง
ตัวอย่างที่ผมยกมานี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายเรื่องที่นักกฎหมายสำคัญตนเองผิด ว่าตนเองรู้ดีกว่าคนอื่นไปเสียทุกเรื่อง ซึ่งก็รวมไปถึงไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญที่ผูกขาดโดยนักกฎหมายหรือร่าง กฎหมายทั่วๆไปที่ถูกผูกขาดตัดตอนโดย สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะกำหนดเนื้อหาที่นอกเหนือจากเทคนิคทางกฎหมายว่าอะไรควรหรือไม่ควรที่จะ บัญญัติลงไปในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทั่วๆไป แทนที่จะเป็นไปตามความต้องการผู้ที่จะต้องใช้กฎหมายนั้น
นักกฎหมายนั้นเปรียบเสมือนช่างตัดผมที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการ ตกแต่งผม แต่ต้องตามใจลูกค้าว่าจะเลือกทรงอะไรสำหรับหัวของเขา มิใช่จะต้องจำยอมให้นักกฎหมายหรือช่างตัดผมตัดตามใจของตัวเอง จนร่างกฎหมายดีๆหลายฉบับต้องบิดเบี้ยวไปดังเช่นที่ผ่านๆมา

ไม่มีความคิดเห็น: