คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายมหาชนคืออะไร? (บทความจาก Pub-law.net)

โดย คุณเกษศิรินธร กันสำอางค์ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 17
ขอขอบคุณ Pub-law.net ด้วยครับ


ประเทศไทยก่อนใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบบศาลเป็นระบบศาลเดี่ยว คือ ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีความทั้งหมด รวมถึงฝ่ายที่เรียกว่ารัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีชื่อเรียกแตกต่างอย่างไรก็ตาม แต่หากใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจสูงสุดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจของมงเตสกิเยอ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหารซึ่งมีผู้แทนคือรัฐบาลเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ (อำนาจมหาชน) สูงสุดฝ่ายนี้จากประชาชน ให้ฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล โดยจะมีตัวแทนของรัฐบาลที่เรียกว่ารัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆนั้น เป็นผู้บริหารงานของรัฐ และเหตุนี้หน่วยงานของรัฐก็จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้กับประชาชน เช่น ประชาชนที่ใช้บริการขนส่งมวลชน เป็นต้น ฉะนั้นหากประชาชนเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนก็ต้องนำอรรถคดีไปฟ้องต่อศาล ยุติธรรม จึงอาจกล่าวได้ว่าศาลยุติธรรมรับพิจารณาพิพากษาทั้งคดีเอกชนและคดีมหาชน และขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษในกรณีเกิดการพิพาท ระหว่างประชาชน (เอกชน) กับรัฐ (ผู้ใช้อำนาจมหาชน) ซึ่งอาจทำให้ไม่มีความเป็นธรรมต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการที่ใช้กฎหมายเอกชน มาตัดสินคดีความ ฉะนั้นภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลบังคับใช้จึงทำให้เกิดศาลปกครองขึ้น

ในปี พ.ศ.2542 และได้มีการออกกฎหมายมารองรับการพิจารณาตัดสินคดีความ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และก่อนหน้านั้นรัฐได้เตรียมความพร้อมที่จะจัดตั้งศาลปกครองขึ้นกล่าวคือ ได้ออกพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการเตรียมความพร้อมหรือความเข้าใจในการแบ่งแยกกฎหมาย เอกชนกับกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน โดยก่อตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อพิจารณาคดีปกครองซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชน นับจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ก็ทำให้ประเทศไทยมีระบบศาลเป็นระบบศาลคู่อันเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายมหาชน ดังนั้นเราควรที่จะรู้ว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน

การที่จะรู้ได้ว่าอะไรคือกฎหมายหมาชนนั้น ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ และแนวคิดทฤษฎีที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1. พิจารณาจากบริบทของเนื้อความ คือ เนื้อความของกฎหมายนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เสมอภาค เนื่องจากมีอำนาจมหาชนเข้ามาเป็นตัวแปร ถ้ามีอำนาจมหาชนย่อมสื่อถึงอำนาจที่เหนือกว่า ความไม่เสมอภาคนี้จึงเป็นหลักกฎหมายมหาชน ที่จะนำมาพิจารณาว่าอะไรคือกฎหมายมหาชน ที่ว่าเนื้อความมีความไม่เสมอภาคเพราะผู้ที่ใช้อำนาจมหาชนเป็นผู้ที่ทำเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ต้องได้รับอำนาจมหาชนมาบังคับปัจเจกบุคคลที่ ใช้อำนาจเอกชนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
2. พิจารณาจากคู่กรณีหรือความสัมพันธ์ คือ ต้องมีคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หรือผู้ที่ใช้อำนาจรัฐอันเป็นอำนาจมหาชนเสมอ
3. พิจารณาจากสถานะลงโทษหรือการบังคับโทษทางกฎหมาย คือ ถ้าโทษทางกฎหมาย มีลักษณะที่การบังคับโทษต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาดำเนินการ เช่น กฎหมายอาญาที่มีโทษปรับและจำคุก เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน
4. พิจารณาจากลำดับศักดิ์ของกฎหมาย คือ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐออกกฎหมาย ไม่ว่าลำดับศักดิ์ระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ก็ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนเช่นกัน

ดังนั้นกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐที่อาศัยอำนาจมหาชน ในการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น โดยที่เนื้อหาในการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์นั้น ต้องมีลักษณะของการใช้อำนาจมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ ว่าด้วย ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ส่วนตน และการลงโทษบังคับให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมีกฎหมายบังคับให้อำนาจไว้ และเพื่อที่จะบริหารให้เกิดผลต่อส่วนรวมต้องให้อำนาจรัฐในการที่จะออกกฎหมาย บังคับใช้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: