คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีการเพื่อความปลอดภัย

วิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคต

ดังนั้นวิธีการเพื่อความปลอดภัยจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากโทษ ซึ่งอธิบายได้ว่า

โทษเป็นสภาพบังคับที่จะใช้แก่บุคคลภายหลังจากที่บุคคลนั้นได้กระทำความผิดแล้ว

ส่วนวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นมาตรการที่นำมาใช้ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดหรือมีการกระทำความผิดแล้วไม่ให้กลับมากระทำผิดอีก


1.กักกัน

การกักกันเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดที่ติดนิสัย ซึ่งมาตราการนี้จะทำให้บุคคลที่เคยกระทำความผิดมาแล้วไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกรงกลัวว่าจะต้องถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าปรากฏว่าหากผู้กระทำผิดติดนิสัย กระทำผิดซ้ำอีกได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอีกภายใน 10 ปี ศาลอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย บุคคลนั้นอาจถูกกักกันได้

2.ห้ามเข้าเขตกำหนด

เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ศาลเห็นสมควรว่า ผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมโน้มเอียงในการกระทำผิดในบางพื้นที่ ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้วได้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิดในเขตนั้น ๆ อีก

3.เรียกประกันทัณฑ์บน

กรณีที่ศาลไม่ได้ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย ศาลสามารถสั่งให้ทำทัณฑ์บนได้ มาตรการนี้เป็นการป้องกันผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงที่จะประกอบอาชญากรรม ทำให้ผู้ที่มีความประพฤติโน้มเอียงนั้นไม่กล้าลงมือกระทำผิด เพราะเกิดความยับยั้งชั่งใจ

4.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล

บุคคลบางประเภทมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายและจิตใจหรือติดยาเสพติดให้โทษ และเพื่อเป็นการป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิด ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นมีสภาพร่างกายและจิตใจเป็นปกติ

ตัวอย่าง นายเอกชอบดื่มเหล้าขาวเป็นอาจิณ และทุกครั้งที่ดื่มเหล้าขาว นายเอกจะทำร้ายร่างกายบิดา มารดาตนเองเป็นอาจิณ เช่นนี้ศาลอาจจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลเพื่อบำบัดรักษาอาการเหล้าได้

5.ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง

เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษและเห็นว่าผู้นั้นมีสภาพอาจจะกระทำผิดได้ง่ายเพราะการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่าง ศาลอาจจะห้ามบุคคลดังกล่าวประกอบอาชีพหรือวิชาชีพเพื่อป้องกันให้ไม่มีโอกาสได้กลับมากระทำผิดเช่นนั้นได้อีก

ตัวอย่าง นายโทมีอาชีพเป็นเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ได้ผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ ทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของประชาชน พฤติการณ์เป็นการกระทำผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพผลิตผลิตลูกชิ้น ซึ่งหากให้นายโทประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้นอีก ก็อาจกลับมากระทำผิดผลิตลูกชิ้นที่ใส่สารบอแรกซ์ เช่นนี้ จึงขอให้ศาลสั่งห้ามประกอบอาชีพผลิตลูกชิ้น

ไม่มีความคิดเห็น: