คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เมื่อความรักถามหา "ความยุติธรรม" (บทความดี ๆ จาก Manager Online)

บทความโดย ทนายข้างบ้าน (ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2552 11:22 น.)

มีคนนิยามว่าความรักคือ “การให้..ให้โดยไม่มีข้อแม้” บ้างก็นำความรักไปเรียงร้อยเป็นบทเพลงไพเราะที่สื่อถึงความรักว่า รักคือการยอมอดทน การให้อภัย ความเข้าใจ ฯลฯ นั่นอาจเป็นมุมมองด้านดีฝ่ายเดียวของความรัก เพราะในขณะเดียวกัน ด้านมืดของความรัก (ในทางที่ผิด) ก็ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ เป็นอุทาหรณ์สอนใจกันอยู่เนือง ๆ และหลายครั้งที่ปัญหาความรักกลายเป็นข้อขัดแย้งจนต้องพึ่งพิงศาลให้เป็นผู้ ตัดสินและชี้ขาด ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนจึงขอหยิบยก “ความรักสไตล์กฎหมาย” ขึ้นมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน โดยเป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ของความรักอันเกิดจากพ่อแม่วัยรุ่น เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า

นางสาวกุ๊กไก่ เด็กหญิงวัยเรียนคนหนึ่งตั้งครรภ์กับนายมาวิน เพื่อนชาย ขณะกำลังศึกษาเล่าเรียน ส่งผลทำให้เธอต้องยอมลาออกจากโรงเรียนมาอาศัยกับมาวินที่บ้านของเขา โดยต้องทนรับการดูถูกเหยียดหยามจากพ่อแม่ญาติพี่น้องฝ่ายสามีต่าง ๆ นานา ซึ่งเธอก็อดทนด้วยดีมาตลอด จากนั้น เมื่อคลอดบุตรแล้ว เธอก็ยังคงเลี้ยงดูบุตรและดูแลสามีอย่างดีตลอดมา แต่ในที่สุดเธอก็ไม่อาจทนรับแรงกดดันจากบ้านของสามีได้ไหว กุ๊กไก่จึงจำเป็นต้องพาลูกกลับไปอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนเอง และไม่เคยเรียกร้องขอค่าเลี้ยงดูใด ๆ จากฝ่ายสามีทั้งสิ้น

เมื่อหลานจากไปไม่นาน พ่อของสามีก็เกิดอาการคิดถึงหลานขึ้นมาจับใจ จึงเดินทางไปขอรับตัวหลานเพื่อพามาเที่ยวที่บ้านของตนเอง แต่ด้วยความที่หลานยังเป็นเด็กตัวเล็กน่ารักยากที่ปู่จะอดคิดถึงไหวจึงได้ กีดกันไม่ให้กุ๊กไก่ได้พบหน้าลูกอีก ซึ่งแม้ว่าเธอจะพยายามเจรจาขอความเห็นใจและทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ลูกของ เธอคืนมา แต่ทั้งสามีและญาติฝ่ายสามีก็ไม่ยอมคืน สุดท้าย เธอทนไม่ไหวจึงได้ฟ้องร้องต่อศาลขอให้เธอได้สิทธิในการเลี้ยงดูลูก และหย่าขาดจากสามี แต่มาวินก็แย้งว่าที่กุ๊กไก่หาเรื่องฟ้องคดีต่อศาลนั้นก็เพราะอยากให้ตนกลับไปอยู่ด้วยและเพราะหวังเงินจากตนและครอบครัว

สุด ท้ายเมื่อศาลได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้วเห็นว่า ขณะที่กุ๊กไก่ตั้งครรภ์นั้นกุ๊กไก่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ การที่กุ๊กไก่ไม่ยอมไปทำแท้งก็ดีและกุ๊กไก่ได้ลาออกจากโรงเรียนก็ดี บ่งแสดงว่ากุ๊กไก่มีความรักทารกในครรภ์ประสงค์ที่จะให้ทารกซึ่งจะคลอดออกมา มีพร้อมทั้งบิดามารดาจึงยอมเสียอนาคตทางการศึกษาโดยลาออกมาอยู่กินกับมาวิน และเมื่อกุ๊กไก่คลอดบุตรผู้เยาว์แล้ว ก็ได้เลี้ยงดูด้วยตนเองตลอดมาโดยมิได้ทอดทิ้ง ซึ่งน่าเชื่อว่าที่กุ๊กไก่ต้องทนอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับบิดามารดาของมาวิน ทั้งที่ทราบดีว่ามารดาของมาวินไม่พอใจในตัวของกุ๊กไก่และไม่ประสงค์ให้ กุ๊กไก่อยู่ด้วยก็เพื่อให้บุตรผู้เยาว์ได้รับความอบอุ่นและได้รับการเลี้ยง ดูอย่างใกล้ชิดจากบิดามารดา

แม้ต่อมาเมื่อกุ๊กไก่ไม่อาจทนอยู่กับสามีได้อีกต่อไปต้องกลับไปอยู่ที่บ้านบิดามารดากุ๊กไก่ กุ๊ก ไก่ก็นำบุตรผู้เยาว์ไปเลี้ยงดูด้วยแสดงให้เห็นว่ากุ๊กไก่มีความรัก ความผูกพันห่วงหาอาทร และต้องการจะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เท่านั้นโดยไม่หวังความสุขในชีวิตสมรสอีก ต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวของกุ๊กไก่หาใช่เรื่องที่กุ๊กไก่นำมาเป็นข้อต่อรองเพื่อให้มาวินกลับไปอยู่กินกับกุ๊กไก่ดังที่มาวินอ้างไม่ เพราะหากกุ๊กไก่มีความประสงค์เช่นนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่กุ๊กไก่จะต้องฟ้องขอหย่าขาดจากมาวิน อีกทั้งกุ๊กไก่ไม่ได้เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากมาวินแต่ ประการใดเลย บ่งชัดว่ากุ๊กไก่สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจาก ความช่วยเหลือของมาวิน

นอกจากนี้การที่กุ๊กไก่ถูกกีดกันไม่ให้พบบุตรผู้เยาว์ แต่กุ๊กไก่ยังมิได้ละความพยายามแต่อย่างใดโดยเพียรพยายามมาขอพบบุตรผู้เยาว์ และยอมอะลุ้มอล่วยทุกวิถีทางเพียงเพื่อได้ดูแลบุตรผู้เยาว์เท่านั้น บ่งแสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่กุ๊กไก่มีต่อบุตรผู้เยาว์ ซึ่ง ต่างไปจากพฤติการณ์ของมาวินอย่างยิ่ง โดยมาวินรับว่า เมื่อบิดาของมาวินนำบุตรผู้เยาว์กลับมา มาวินและบิดามารดาไม่อาจเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้เพราะต้องไปทำงานทุกคน จึงให้ญาติฝ่ายบิดาเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ตลอดมาจนถึงวัยเรียน อีกทั้งมาวินก็ยอมรับว่ามาวินมีรายได้น้อยยังต้องพึ่งพาบิดามารดาอยู่ไม่อาจ เลี้ยงดูบุตรภริยาได้ ซึ่งเท่ากับว่ามาวินไม่มีความสามารถยืนหยัดได้ด้วยลำแข้งของตนเองโดยปราศจาก ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากบิดามารดาของมาวิน ดังนั้น เมื่อมาวินเองยังไม่สามารถช่วยเหลือปกครองดูแลชีวิตของตนเองได้เช่นนี้มาวินจะใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้อย่างไร

หลาย ๆ ครั้งที่ปัญหาจากความรักที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถหาบทสรุปที่สวยหรูได้เสมอไป แต่ในกรณีนี้ คำตอบจากศาลในการให้ความยุติธรรมกับความรัก ก็ดูจะสมเหตุสมผลดี

ขอบคุณ เวบไซต์ Manager Online มากครับ

ไม่มีความคิดเห็น: