คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สอบเข้าคณะนิติศาสตร์



คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สอบเข้าคณะนิติศาสตร์
What Where When Why How
What & How: เรียนกฎหมาย เรียนอะไร อย่างไร
            ผู้เขียนเคยได้ยินนักกฎหมายท่านหนึ่งกล่าวว่า “กฎหมายนั้นเรียนไม่ยาก เพราะกฎหมายเป็นเรื่องของการใช้สามัญสำนึก หรือ Common Sense” ดังนั้น ในขณะที่ทำข้อสอบกฎหมายให้พึงระลึกเสมอว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม การหาคำตอบของข้อสอบกฎหมายจึงเป็นการแสวงหาหนทางที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมขึ้นนั่นเอง

            เมื่อกฎหมายเป็นเรื่องของสามัญสำนึก ผมขอยกตัวหนึ่งที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น
            หากเปรียบเทียบว่า สังคมคือสี่แยกแห่งหนึ่ง การปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมเปรียบเสมือนการใช้รถใช้ถนน ซึ่งทุกคนย่อมอยากจะไปถึงจุดหมายที่ตนเองวางแผนไว้ หากนาย A ต้องการไปยังฝั่งของนาย D เพื่อพาแม่ของตนที่ป่วยหนักไปโรงพยาบาล, ส่วนนาย D ต้องการไปยังฝั่งของนาย A เพื่อไปหาแฟนที่ตนนัดไว้, ส่วนนาย C ต้องการไปยังฝั่งของนาย B เพื่อไปศาลตามกำหนดที่ศาลนัด, ส่วนนาย B ต้องการไปยังฝั่งของนาย C เพื่อไปทำงาน
            สังเกตได้ว่าแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีจุดมุ่งหมายของตนเองทั้งสิ้น ทุกคนย่อมรีบร้อนที่จะไปทำธุระของตน เพราะเข้าใจว่าธุระของตนมีความสำคัญ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ย่อมมีการโต้เถียง กระทบกระทั่งกัน สุดท้ายนำไปสู่ความขัดแย้ง ต่างฝ่ายย่อมต้องอ้างธุระว่าตนมีความรีบร้อนกว่าธุระคนอื่น

            แล้วอะไรจะเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่า ใครมีสิทธิที่จะไปก่อน โดยที่คนที่เหลือมีหน้าที่ต้องรอ เพื่อให้การใช้สี่แยกนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและลดความขัดแย้งอันเกิดขึ้นเนื่องจากมีการปฏิสัมพันธ์กันของคนในสังคม
            คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ไฟจราจร นั่นเอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบว่า เป็น กฎหมาย นั่นเอง
            หากสัญญาณไฟจราจรฝั่งของ A ขึ้นสีเขียว เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการที่ A ได้ สิทธิ ที่จะใช้เส้นทางนั้น โดยที่ B, C, D มี หน้าที่ ที่จะหยุดรถของตน ถ้า B, C, D ฝ่าฝืนไม่กระทำตาม หน้าที่ ทั้ง B, C และ D ย่อมมี ความรับผิด ต่อ A เพราะเหตุที่ไม่กระทำตามหน้าที่ของตน
            ดังนั้น หากไม่มีการปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม ไม่มีการอยู่ร่วมกัน ไม่มีสังคม ย่อมไม่มีความวุ่นวาย ไม่มีความขัดแย้ง กฎหมายย่อมไม่มีความสำคัญ ดังจะเห็นได้จากสุภาษิตลาตินบทหนึ่งที่กล่าวว่า ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย” (Ubi societas, ibi jus)

Where & When: เรียนกฎหมายที่ไหน ตอนไหน
            พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักสมัญญานามของพระองค์ท่านว่า พระบิดาแห่งกฎหมายไทยทรงก่อตั้งโรงเรียนกฎหมายแห่งแรกของประเทศไทย ภายหลังจากนั้น มีการโอนการเรียนการสอนมารวมเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นจึงยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
            ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันราชภัฏ และวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนในสาขานิติศาสตร์ รวมจำนวนแล้วมากกว่า 90 สถาบัน
            ในระบบการศึกษาปกติ คณะนิติศาสตร์จะรับผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยมีคุณสมบัติคือเป็นผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ บางมหาวิทยาลัยยังมีการรับนิสิต นักศึกษาผ่านระบบสอบตรง ซึ่งปกติจะมีการวัดความรู้ทั่วไปทางกฎหมายเพื่อที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่มีความสนใจและถนัดในเรียนวิชานิติศาสตร์
            นอกจากระบบการศึกษาปกติแล้ว คณะนิติศาสตร์บางมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้มีการเปิดระบบการศึกษาพิเศษ (รู้จักกันว่า โครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต) ที่รับเฉพาะผู้สำเร็จขั้นปริญญาบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น (ที่มิใช่นิติศาสตร์) ศึกษาได้ โดยจัดเป็นการศึกษาแบบบูรณาการ เพื่อให้นิสิตสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้กับความรู้ทางนิติศาสตร์ เพื่อเป็นบัณฑิตทางนิติศาสตร์ที่รู้รอบและรอบรู้ในการประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรือในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่น ๆ ตามความชำนาญของตน

Why: เรียนกหมายไปทำไม
            จริงๆแล้ว คำถามที่ว่าเรียนกหมายไปทำไมนั้น เป็นคำถามพื้นฐานที่สุดที่ผู้ที่จะสอบเข้าคณะนิติศาสตร์พึงต้องสำรวจตนเองเสียก่อนว่า เป้าหมายในการประกอบอาชีพของเราคืออะไร
            เมื่อสำเร็จการศึกษาทางนิติศาสตร์ สามารถประกอบวิชาชีพทางกฎหมายใดได้บ้าง
-             ผู้พิพากษา
-             พนักงานอัยการ
-             ทนายความ
-             ที่ปรึกษากฎหมาย
-             อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
-             นิติกรประจำหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ เช่น เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรศาล นิติกรสำนักงานอัยการ เสมียนศาล เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป. พนักงานคุมประพฤติ เป็นต้น
-             เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
-             ปลัดอำเภอ
-             นักการทูต
-             พนักงานแผนกกฎหมายในบริษัทเอกชนต่างๆ
-             เจ้าพนักงานตำรวจ
-             นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
-             ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
-             นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ

คำถามยอดฮิต

            1. เนติบัณฑิตยสภา คืออะไร
            เนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปภัมภ์เป็นองค์การอิสระมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์ และการประกอบอาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งการรักษาความประพฤติของทนายความ ให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม ให้สาธารณชนได้อาศัยทนายความซึ่งมีความสามารถและสมควรที่จะเชื่อถือได้ดียิ่งขึ้น
            ต่อมาเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้ง สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (Institute of Legal Education Thai Bar Association ) โดยมีเป้าหมายสำคัญว่า การจัดการศึกษาวิชากฎหมายนั้นจำเป็นต้องให้มีการศึกษาภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอเสียก่อนที่จะอนุญาตเข้าปฏิบัติงานในวิชาชีพกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมาแล้ว หากประสงค์ที่จะประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา หรือพนักงานอัยการ จะต้องเข้าอบรมในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเสียก่อน หากบุคคลใดสามารถสอบไล่ได้เป็น “เนติบัณฑิตไทย หรือ น.บ.ท.” แล้ว ย่อมมีคุณสมบัติที่จะเข้าสอบเพื่อบรรจุเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา หรืออัยการผู้ช่วย (ภายหลังจากนั้น จึงจะได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาหรือพนักงานอัยการ ต่อไป)



            2. ถ้าจะประกอบวิชาชีพทนายความจะต้องทำอย่างไร
            ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมาแล้ว หากประสงค์ที่จะประกอบวิชาชีพทนายความ จะต้องเข้าอบรมในสำนักอบรมวิชาว่าความเสียก่อน หากบุคคลใดสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตร ก็จะมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความได้

            3. จบหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตแล้ว ไม่ประสงค์ที่จะศึกษาต่อหลักสูตรเนติบัณฑิตและหลักสูตรวิชาว่าความได้หรือไม่
            ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมาแล้ว มีช่องทางในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่หลากหลายดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งหลายวิชาชีพทางกฎหมายก็ไม่ได้ระบุคุณสมบัติของการเป็นเนติบัณฑิตไทยหรือจะต้องมีใบอนุญาตว่าความ เช่น ที่ปรึกษากฎหมายในสำนักงานกฎหมาย พนักงานแผนกกฎหมายในบริษัทเอกชน นิติกรบางหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น
            อย่างไรก็ตาม เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตแล้ว หากผู้ใดต้องการศึกษาในสายนิติศาสตร์ในขั้นที่สูงขึ้นและต้องการมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายเอกชนและธุรกิจ กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ หรือวิชากฎหมายอาญา ผู้นั้นสามารถศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตต่อไปได้

            4. จริงหรือไม่ ที่เรียนกฎหมายมีโอกาสเสี่ยงตกงานสูง
            ถ้าคิดแบบใช้สามัญสำนึกทั่วไป นายจ้างย่อมต้องการจ้างลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานด้วย เพื่อที่จะทำให้องค์กรนายจ้างเกิดความพัฒนาและเติบโต ดังนั้น หากผู้ที่จบกฎหมายมีจำนวนมาก ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน นายจ้างย่อมมีตัวเลือกที่มากขึ้น ในทางกลับกันผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับนิติศาสตรบัณฑิตในแต่ละปีมีจำนวนมาก ย่อมเกิดโอกาสเสี่ยงสูงที่จะตกงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว นิสิตนักศึกษารวมทั้งบัณฑิตย่อมต้องฝึกตนให้พร้อม พัฒนาความรู้ความสามารถ ทบทวนความรู้กฎหมาย ใส่ใจเหตุการณ์รอบตัวตลอดเพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาทักษะการใช้ภาษา (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองด้วย