คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 1




ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 1
ทรัพย์ฉพาะสิ่ง พื้นฐานสำคัญของวิชากฎหมายหนี้ นิติกรรมสัญญา และ ทรัพย์

พื้นฐานที่ต้องรู้ประการแรก
ต้องมาดูนิยามของ สัญญาซื้อขายก่อนครับ ซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
เท่ากับว่า สัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งหมายความว่า ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย ต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
ในมูลหนี้การโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ ดังนั้น ผู้ขายจึงเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้
ในมูลหนี้การชำระราคา ผู้ซื้อต้องชำระราคา ให้แก่ผู้ขาย ดังนั้น ผู้ซื้อจึงเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ขายเป็นเจ้าหนี้
คงเข้าใจแล้วนะครับว่า ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย ต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน

พื้นฐานที่ต้องรู้ประการที่สอง
ตามหลักสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ หมายว่า ถ้าผู้ขายไม่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อก็ไม่ต้องชำระราคา ในทางกลับกัน หากผู้ซื้อไม่ชำระราคา ผู้ขายก็ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์

พื้นฐานที่ต้องรู้ประการที่สาม
ในกรณีการทำสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน หมายความว่า การซื้อขายนั้นเพียงตกลงโดยวาจากรรมสิทธิ์ก็โอนแล้วครับ เช่น นายเอกเอาแหวนมาขายแก่นายโท วินาทีที่นายเอกกับนายโทตกลงกัน ในเมื่อแหวนมีวงเดียวสิ่งเดียว แหวนนั้นจึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว กรรมสิทธิ์ในแหวนนั้นโอนไปยังนายโทผู้ซื้อทันที แม้ว่านายโทยังไม่ได้ชำระราคา แต่นายโทจะไม่ชำระราคาไม่ได้ เพราะนายโทเป็นหนี้นายเอกแล้ว ในมูลหนี้ของการชำระราคา ดังนั้น หากฟ้าผ่ามาที่แหวน ทำให้แหวนเสียหาย ตรงนี้จะโยงหลักของกฎหมายทรัพย์ กล่าวคือ ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมรับผลในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของตน 

พื้นฐานที่ต้องรู้ประการที่สี่
บางครั้งทรัพย์ที่มีการซื้อขายมีการระบุจำนวนปริมาณ กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์จะโอนมายังผู้ซื้อต่อเมื่อมีการชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้ว และการชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกก็กระทำเพื่อให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง
ตัวอย่างเช่น นายเอกสั่งซื้อข้าวจากนายดี 3 กระสอบ สิ่งที่นายดีลูกหนี้จำต้องกระทำคือ การตวงข้าวใส่กระสอบ เพื่อนำข้าวทั้งหมด 3 กระสอบส่งมอบแก่นายเอก เมื่อนายดีได้ตวงข้าวใส่กระสอบทั้ง 3 กระสอบแล้ว เท่ากับว่า ข้าวทั้ง 3 กระสอบ นั้นป็น ทรัพย์เฉพาะสิ่ง นั่นเอง







ไม่มีความคิดเห็น: