คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์

 กฎหมายทะเบียนราษฎร์เป็นกฎหมายที่มีความใกล้ชิดมากๆครับ ดังนั้น ควรดูด้วยนะครับ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ
บัตรประชาชน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ครับ

1. การทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การลงบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกิด การตาย บ้านที่อยู่อาศัย หรือภูมิลำเนา สัญญาเช่าและการอพยพขนย้ายที่อยู่ของราษฎร
             1.1. การเกิดจะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 วันนับแต่เกิด
             1.2. การตายจะต้องแจ้งตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย
             1.3. การย้ายที่อยู่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าหรือย้ายออกภายใน 15 วันนับแต่วันย้ายออกหรือนับแต่วันย้ายเข้า
 2. ชื่อบุคคล ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลนั้น เป็นสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ดังนี้
             2.1 ต้องไม่พ้อง หรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี พระราชทินนาม
             2.2 ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
 3. การรื้อบ้านและสร้างบ้านใหม่ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15วันนับแต่วันที่รื้อหรือสร้างบ้านเสร็จ ถ้าฝ่าฝืนต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท
 4. สำเนาทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย ต้องไปขอรับสำเนาทะเบียนบ้านใหม่จากนายทะเบียน ท้องที่ภายใน 7วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการชำรุดหรือสูญหาย
 5. บัตรประชาชน (แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554)
            บุคคลที่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยต้องไปยื่นคำขอทำบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ภายใน กำหนด 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบกำหนด 7 ปีบริบูรณ์ โดยบัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น: