คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ : หนึ่งในนักกฎหมายในอุดมคติ



หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้กล่าวถึงพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2489 ท่านเจ้าคุณ
พระยาอรรถการีย์นิพนธ์กับข้าพเจ้าร่วมกันจัดตั้งสำนักงานทนายความ ประมาณปี พ.ศ. 2490 พ่อค้าขนข้าวลงเรือส่งไปขายต่างประเทศกันมาก จนภายในเกิดขาดแคลน ประชาชนในกรุงเทพฯ ต้องเข้าคิวซื้อข้าวรับประทาน ระหว่างนี้มีลูกความมาปรึกษาท่านเจ้าคุณ เรือของเขาราคาหนึ่งล้านกว่าบาทถูกจับ ในขณะที่ขนข้าวออกไปขายต่างประเทศ ถ้าคดีที่กำลังจะขึ้นศาลแพ้ เรืออาจถูกริบ เจ้าตัวเสนอจะให้ค่าทนายเป็นเงินถึง 200,000 บาท ลูกความกลับไปแล้ว ท่านเจ้าคุณปรึกษาข้าพเจ้าว่า จะสมควรรับว่าความรายนี้หรือไม่ ระหว่างนั้น เราไม่ค่อยมีความจะว่า คดีรายใหญ่ที่ข้าพเจ้ารับมาว่าเป็นเรื่องแรกได้ค่าทนายเป็นเงินเพียง 8,000 บาท ทุนที่ลงไปในการจัดตั้งสำนักงานก็ยังไม่ได้คืนมา ถ้าได้ค่าทนายคดีของท่าน 200,000 บาท เรามีหวังที่จะตั้งตัวได้ ข้าพเจ้าเรียนถามท่านว่า มีเหตุขัดข้องประการใด ท่านกล่าวว่าคดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่คิดว่าจะแก้ตกไม่ยากนัก แต่ไม่สบายใจในข้อที่ว่า ถ้าแก้ตกพ่อค้าก็จะนำเรือไปใช้ขนข้าวขายต่างประเทศอีกเป็นการปล้นท้องประชาชน ข้าพเจ้าขอให้ท่านเป็นผู้ตัดสิน เพราะท่านจะต้องเป็นผู้ว่าความ ท่านขอเวลาใคร่ครวญสักสองสามวันก่อนตัดสินใจ ในที่สุดท่านตัดสินใจไม่รับว่าความเรื่องนี้ และมีทนายอื่นรับไปว่าให้จนศาลสั่งปล่อยเรือ อาศัยข้อกฎหมายของท่านเจ้าคุณและในที่สุดท่านเจ้าคุณก็ต้องอยู่บ้านไม้ยกพื้นชั้นเดียวหลังเก่าต่อมาอีกหลายปี  น้ำใจอย่างนี้หายาก ท่านจากเราไปแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังคิดถึงท่านเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น: