คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ความยุติธรรมตามกฎหมาย" กับ "ความยุติธรรมที่แท้จริง"

ขอขอบพระคุณ คอลัมม์ "ลม เปลี่ยนทิศ" หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ  ประจำวันเสาร์ที่ ๒๓ เม.. ๒๕๔๘
 
วันเสาร์สบายๆ วันนี้ มาคุยกันเรื่อง "ความยุติธรรม" ต่อนะครับ เมื่อวันพฤหัสบดี ผมไปร่วมงาน "วันศาลยุติธรรม" ได้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ "บทบาทของศาลยุติธรรมในสังคม" เป็นปาฐกถาของ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรีประเด็นที่อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร หยิบยกขึ้นมาน่าสนใจอย่างยิ่งนั่นคือ 

ความแตกต่าง ระหว่าง "ความยุติธรรมตามกฎหมาย" กับ "ความยุติธรรมที่แท้จริงซึ่งหลายครั้ง มักจะเดินสวนทางกัน 

โดยอาจารย์ธานินทร์ เสนอให้มีการแก้ไข กฎหมาย รัฐธรรมนูญ เพื่อเติมคำว่า "ความยุติธรรม" ลงไป เพื่อให้ศาลสามารถที่จะพิจารณาคดีได้อย่างยุติธรรม นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่อาจารย์ธานินทร์ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง "กฎหมายกับความยุติธรรม" มาเป็นเครื่องเตือนใจ นักกฎหมายดังนี้ 

"...กฎหมายทั้งปวงนั้น เราบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นปัจจัยสำหรับรักษาความยุติธรรม กล่าวโดยสรุปคือ ใช้เป็นแบบแผน แห่งความประพฤติปฏิบัติของมหาชนสถานหนึ่ง กับใช้เป็น แม่บท ในการพิจารณา ตัดสินความประพฤติปฏิบัตินั้นๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมอีกสถานหนึ่งโดยที่กฎหมายเป็นแค่เครื่องมือในการรักษาความยุติธรรมดังกล่าว จึงไม่ควรที่จะถือว่ามีความสำคัญ ยิ่งไปกว่า ความยุติธรรม หากควรจะต้องถือว่า ความยุติธรรม มาก่อนกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีใดๆ โดยคำนึงแต่ความถูกผิดตามกฎหมายเท่านั้น ดูจะไม่เป็นการเพียงพอ จำต้องคำนึงถึง ความยุติธรรม ซึ่งเป็นจุดประสงค์ด้วยเสมอ..." 

พระบรมราโชวาท ให้ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมายและอยู่เหนือกฎหมายแล้ว "ความยุติธรรม" ล่ะ มีความหมายว่าอย่างไรอาจารย์ธานินทร์ยกเอาคำอธิบายของ ลอร์ด เดนนิ่ง อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของอังกฤษ ที่ได้รับ การยกย่องจากนักกฎหมายทั่วโลก ว่าเป็นนักกฎหมาย แห่งศตวรรษ ที่ ๒๐ บอกว่า

 "ความยุติธรรม" ได้แก่ "เรื่องที่บุคคลในสังคมซึ่งเป็นบุคคลที่มีเหตุผล มีความรู้สึกผิดชอบ เชื่อมั่นว่าเป็นเรื่อง ที่ชอบธรรม"และคำอธิบายของ จอห์น โรลส์ ศาสตราจารย์วิชาปรัชญาชาวอเมริกันว่า"ความยุติธรรม ได้แก่ เรื่องที่บุคคลซึ่งมีเหตุผลถือว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ถ้าหากบุคคลเหล่านั้น ต้องวินิจฉัย ในเรื่องนั้น ทั้งนี้ โดยตนเองไม่มีทางล่วงรู้เลยว่า ตนเองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างไรบ้าง"

 จากคำนิยามของ ลอร์ด เดนนิ่ง และศาสตราจารย์ จอห์น โรลส์ จะเห็นได้ว่า การที่จะพิจารณาว่าเรื่องใดยุติธรรมหรือไม่ มิควรจะถือเอาความเห็นของผู้วินิจฉัย หรือผู้พิพากษา ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความเห็นของบุคคลธรรมดา ที่มีเหตุผล มีความรู้สึก รับผิดชอบ เชื่อว่าเป็นเรื่อง ที่ชอบธรรมอาจารย์ธานินทร์ยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๓ และมาตรา ๒๔๙ ว่าด้วยการพิจารณา พิพากษา อรรถคดีของศาล ผู้พิพากษา และตุลาการ โดยให้เติม คำว่า "ความยุติธรรม" ลงไปในบทบัญญัติ สองข้อนี้ด้วยและให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในรัฐธรรมนูญว่า"ในกรณีที่กฎหมายขัดต่อความยุติธรรมโดยชัดแจ้ง และการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะส่งผลให้เกิด ความอยุติธรรม ขั้นร้ายแรง ให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยคดี เพื่อให้ความยุติธรรม แก่คู่ความตามที่เห็นสมควร"ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ อาจารย์ธานินทร์ ว่า สมควรที่จะ แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ บรรจุคำว่า "ความยุติธรรม" ที่ถูกละเลยลงไปด้วย ความไม่ยุติธรรมในสังคมนี้ ทั้งจากกฎหมาย และการใช้อำนาจของรัฐ ยังมีมากมาย เหลือเกินเหมือนอย่างคำพูดของ "หม่อมอุ๋ย" ...ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ที่ผมยกมาเมื่อวานนี้ "ความรู้สึก ที่ได้อยู่ในสังคมที่ยุติธรรม และเป็นธรรมนั้น สำคัญยิ่งกว่า การกินดีอยู่ดี"

ไม่มีความคิดเห็น: