คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สนธิสัญญา

ข้อใดไม่มีลักษณะเป็นสนธิสัญญา

ก. ASEAN Charter
ข. Kyoto Protocol
ค. United States Declaration of Independence
ง. Patent Cooperation Treaty

สนธิสัญญาเกิดจากแนวทางการปฏิบัติของรัฐเกี่ยวกับการจัดทำความ ตกลง ข้อตกลง และการเคารพข้อตกลงระหว่างกัน แนวทางปฏิบัตินี้ใช้กันแพร่หลายจนกลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law) และต่อมาได้มีการประมวลขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ดังนั้น สนธิสัญญาจึงจัดว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ทาขึ้นโดยรัฐไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับเกี่ยวเนื่องกัน สนธิสัญญามีชื่อเรียกต่างๆ อาทิ สนธิสัญญา (Treaty) กฎบัตร (Charter) อนุสัญญา (Convention) บันทึกความเข้าใจ (Memorandum) ข้อตกลง (arrangement) ความตกลง (agreement) พิธีสาร (protocal) (พิธีสารที่มีความสำคัญคือ Kyoto Protocol หรือป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับสภาวะโลกร้อน (Global Warming))
 
พิจารณาจากจำนวนประเทศที่เป็นภาคี (ประเทศคู่สัญญา)

สนธิสัญญาทวิภาคี (Bilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาสองฝ่าย หรือสนธิสัญญาที่มีคู่ภาคี 2 ฝ่าย
สนธิสัญญาพหุภาคี (Mutilateral treaty) หมายถึง สนธิสัญญาที่มีผู้เข้าร่วมเจราจาหรือร่วมลงนามมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป

สรุปแล้ว United States Declaration of Independence หรือคำประกาศอิสรภาพจึงไม่ลักษณะเป็นสนธิสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น: