คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 2




ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 2

ทรัพย์ฉพาะสิ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญของวิชากฎหมายหนี้ นิติกรรมสัญญา และ ทรัพย์ 

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 1 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน 50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  การที่ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง แสดงว่าฝรั่งยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งจนกว่าจะมีการคัดเลือกก็กระทำเพื่อให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งจึงเป็นของป้าแม้น เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด ป้าแม้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมาก เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งไม่โอนมายังนายเอก นายเอกจะชำระราคาทำไม ดังนั้น นายเอกจึงไม่ต้องชำระราคา

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 2 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน 50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  การที่ป้าแม้นเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบแล้ว ฝรั่งจึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอกแล้ว เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด นายเอกเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมากเช่นกัน เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอก นายเอกจะเบี้ยวไม่ชำระราคาได้อย่างไร ดังนั้น นายเอกจึงต้องชำระราคาฝรั่งแก่ป้าแม้นด้วย

คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 3 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า ฝรั่งขายถูก ๆ กิโลละ 10 บาทหากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด

คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอก ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ...  กรณีที่ 3 แตกต่างจากกรณีที่ 2 นะครับ ดูข้อเท็จจริงดีๆนะครับ กรณีที่ 2 โจทย์เขียนว่า ฝรั่งลูกละ 10 บาท ดังนั้น ถ้าหยิบมา 5 ลูก รู้เลยว่านายเอกต้องชำระราคา 50 บาท แต่ในกรณีที่ 3 ฝรั่งขายถูก ๆ กิโลละ 10 บาท แม้ว่าหยิบมา 5 ลูก นายเอกก็ยังไม่รู้เลยว่าต้องชำระราคาเท่าไร เพราะยังไม่ได้นำไปชั่งกิโลเลย จึงยังไม่ทราบน้ำหนัก กฎหมายซื้อขายจึงกำหนดไว้ว่า ในการซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องชั่ง ตวง วัด เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าชั่ง ตวง วัด แล้ว ดังนั้น กรณีที่ 3 จึงแตกต่างไปว่า เมื่อคัดฝรั่งออกมาแล้ว 5 ลูกยังต้องไปชั่งกิโลเพื่อทราบราคาก่อน กรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยังผู้ซื้อ

ดังนั้น ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้วแต่ยังไม่ได้ชั่งกิโลเพื่อกำหนดราคาของฝรั่ง 5 ลูกนั้น แสดงว่าฝรั่งยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งจนกว่าจะมีการชั่ง ตวง วัด เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งจึงเป็นของป้าแม้น เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด ป้าแม้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมาก เพราะ ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งไม่โอนมายังนายเอก นายเอกจะชำระราคาทำไม ดังนั้น นายเอกจึงไม่ต้องชำระราคา

ไม่มีความคิดเห็น: