คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับใดที่ได้วางยุทธศาสตร์สำหรับการก้าวทันความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน หรือการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY)



ข้อสอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีจุดเด่นอยู่ที่มักจะนำความรู้ทั่วไปที่เป็น talk of the town ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไม่ว่าจะโดยตรง โดยอ้อม นำมาออกข้อสอบ

ประเด็นฮิตประเด็นฮอต คงหนีไม่พ้น การที่อาเซียนหรือการรวมตัวของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะมีการรวมกลุ่มกันที่แน่นแฟ้นกว่าเดิม โดยจะเกิดประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ตรงจุดนี้ก็นำมาออกข้อสอบได้นะครับ แต่พี่ว่ามันหมูไปซะแล้ว คำถามง่ายเกินไป) วันนี้ พี่เลยขอนำคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มาถามน้องๆ กันเพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับในการสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ครับ ลองมาดูคำถามกันนะครับ

คำถาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับใดที่ได้วางยุทธศาสตร์สำหรับการก้าวทันความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน หรือการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY)
 
ก. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ข. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

ข้อแรกก็ถึงกับอึ้งเลยใช่มั้ยครับว่า ข้อสอบเกี่ยวกับอาเซียนจะไปเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ด้วย ข้อสอบข้อนี้วัดความรู้รอบตัวครับ ไม่มีคำว่าเก่งหรือไม่เก่ง มีแต่คำว่ารู้หรือไม่รู้เท่านั้น

พี่ขอเล่ายุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับให้ฟังดังนี้ครับ
ภาพรวมของการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-7 สรุปได้ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน

ส่วนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้ปรับแนวคิดการพัฒนาประเทศใหม่จากเดิมที่ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักมาเป็นการให้ความสาคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไปพร้อมกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการพัฒนาที่มี คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาโดยให้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้อัญเชิญหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานาทาง

สุดท้ายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในมิติการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อปูองกันปัจจัยเสี่ยงที่สังคมไทยต้องเผชิญ และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการให้ความสาคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องการก้าวทันความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน หรือการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2558 นี้

ไม่มีความคิดเห็น: