คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right)

องค์ประกอบของสิทธิ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right)
2.วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right)

ได้อธิบายเรื่อง ประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right) หรือ กฏหมายเกี่ยวบุคคลไปแล้ว ต่อมาผมจะอธิบายเรื่อง วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right)

----------------------------------------------------------------------------------

วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right) ในทางกฎหมายเรียกว่า “ทรัพย์หรือทรัพย์สิน”

ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน

ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ โดยที่ทรัพย์นั้นสามารถจับต้อง และรับรู้ด้วยระบบประสาทสัมผัสได้ เช่น บ้าน เงิน รถยนต์ เป็นต้น

ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา (คือ มีคุณค่า โดยอาจมีคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจหรือจิตใจก็ได้) และถือเอาได้ (คือ การแสดงความเป็นเจ้าของต่อของสิ่งนั้น)

ประเภทของทรัพย์สิน

1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน บ้าน กำแพง โกดัง โรงงาน สะพาน เจดีย์ ไม้ยืนต้น(คือพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนกว่า 3 ปี ถือเป็นไม้ยืนต้นทั้งสิ้น ต้นพลูจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์เพราะอายุยืนกว่า 3 ปี) ทรัพย์ที่วางอยู่บนดินแม้จะนานเท่าใดเพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดิน ดังนั้นแผงลอยไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์

2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ เครื่องบิน โต๊ะ เก้าอี้ สมุด ปากกา ดินสอ วิทยุ โทรทัศน์ พลังน้ำตก แก๊ส พลังไอน้ำ เป็นต้น

3. ทรัพย์แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถแยกออกจากกันเป็นส่วนๆได้ เช่น น้ำตาล ข้าวสาร


4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ที่จะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากจะต้องการเปลี่ยนสภาพของทรัพย์นั้นๆ เช่น เก้าอี้ บ้าน เป็นต้น

5. ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจยึดถือเอาได้

เช่น ดวงดาวบนท้องฟ้า สายลม แสงแดด หรืออีกประเภทหนึ่ง คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถซื้อขายกันได้ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน ปืนเถื่อน และอีกประเภทหนึ่งคือ ทรัพย์ที่โอนแก่กันไม่ได้ เช่น ที่ธรณีสงฆ์ (ทั้งนี้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยออกพระราชบัญญัติ)

-------------------------------------------------------------------------------------

องค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องของทรัพย์มีดังนี้

1.ส่วนควบ
คือ มีความสำคัญในตัวทรัพย์ประธาน และ ไม่สามารถแยกออกจากทรัพย์ประธานได้ เช่นพวง มาลัยรถยนต์, ผลส้ม-เปลือกส้ม, ตึก-ลิฟท์

ทรัพย์ส่วนควบนั้นต้องมีการเอาทรัพย์ตั้งแต่สองอย่างมารวมกันเข้าและเกิดเป็นทรัพย์สิ่งใหม่เกิดขึ้น เช่น เอาเรือนมาปลูกบนที่ดิน เรือนย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน เว้นแต่ผู้ปลูกเรือนจะมีสิทธิเหนือพื้นดินหรือสิทธิตามสัญญาอื่น เช่น เช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้าน เมื่อหมดสัญญาย่อมรื้อบ้านไปได้

เจ้าของทรัพย์ ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น เช่นเจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของเรือนด้วย

2.อุปกรณ์
คือ สิ่งที่เป็นของใช้ประจำเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ประธาน ซึ่งอุปกรณ์นั้นสามารถแยกจากทรัพย์ได้ เช่น รถยนต์-ล้ออะไหล่, เรือข้ามฟาก-ห่วงชูชีพ, ดินสอ-ไส้ดินสอ, เรือ-พาย, ม้า-อานม้า

อุปกรณ์ย่อมติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ซื้อรถยนต์ย่อมได้เครื่องอุปกรณ์ ยางอะไหล่ แม่แรงด้วย เว้นแต่จะตกลงกันว่าไม่ให้เครื่องอุปกรณ์หรือยางอะไหล่ด้วย

3. ดอกผล แบ่งได้ 2 ชนิดดั้งนี้

3.1. ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้ (ต้นมะม่วง - ผลมะม่วง), ไข่ไก่, นมวัว

3.2. ดอกผลนิตินัย คือ ดอกผลทางกฎหมายที่กฎหมายได้สมมติขึ้น โดยได้มาจากการที่บุคคลอื่นใช้ ทรัพย์นั้น และบุคคลผู้เป็นเจ้าของได้ทรัพย์เป็นการตอบแทน เช่น ค่าเช่าจากการให้ผู้อื่นเช่าบ้าน เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณ พี่ มากนะครับ ที่ช่วยเหลือ



ช่วยติว ก็ตรง หลายข้อนะครับ




ขอบคุณพี่มากครับ ไว้ติดแล้วจะมาบอกนะครับ

แต่ไม่รู้ว่าจะติดไหม ก็ ... คับ