คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประธานแห่งสิทธิตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เคยกล่าวไปแล้วว่า เครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมคือ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด เช่น นายเอกมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ทุกคนย่อมมีหน้าที่จะไม่ทำร้ายนายเอก หากว่า มีผู้ใดทำร้ายนายเอก ตามธรรมดาแล้ว ย่อมต้องถูกลงโทษ

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มี สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด เป็นเครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมเช่นกัน แต่ก่อนที่จะลงรายละเอียด ต้องทราบหลักการพื้นฐานก่อนว่า องคืประกอบแห่งสิทธินั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของสิทธิ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right)
2. วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right)


ขออธิบายเกี่ยวกับประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right)ก่อน

ประธานแห่งสิทธิ หมายถึงผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมาย อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่สามารถใช้สิทธิได้ตามกฎหมายนั่นเอง ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า “บุคคล” แยกเป็น 2 ประเภทคือ
1.บุคคลธรรมดา
2.นิติบุคคล

-------------------------------------------------------------------------------------
1.บุคคลธรรมดา
-------------------------------------------------------------------------------------

การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของสภาพบุคคล

+สภาพบุคคลย่อมเริ่มเมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก
+สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ข้อสังเกต

1.การตายแบ่งออกเป็นการตายโดยธรรมชาติและการตายโดยผลของกฎหมาย

2.การตายโดยผลของกฎหมาย ในทางกฎหมายเรียกว่า "สาบสูญ” คือการที่มีทายาทของบุคคลนั้นหรือพนักงานอัยการไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลว่าบุคคลเป็นคนสาบสูญ โดยเงื่อนไขที่ศาลจะพิจารณาคือ

2.1.บุคคลนั้นหายไปจากถิ่นที่อยู่เป็นเวลา 5 ปี โดยไม่มีใครทราบข่าวของบุคคลนั้น หรือ
2.2.ได้ไปอยู่ในสมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกในเรืออับปาง เมื่อนับเวลาหลังจากที่หมดสงครามแล้ว นับจากเรืออับปางได้สิ้นสุดไป แล้วเป็นเวลา 2 ปี และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือ
2.3.กรณีพิเศษ (กรณีภัยพิบัติสึนามิ )

บุคคลที่ศาลสั่งว่าเป็นคนสาบสูญ ถือว่าตายเมื่อไร

ถ้าศาลสั่งว่าบุคคลนั้นเป็น "คนสาบสูญ" ด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเช่นกัน และให้ถือว่าบุคคลนั้นตายลงเมื่อครบกำหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี

เช่น นายเอ หายไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย.40 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.48นางบีภริยาของนายเอได้ร้องขอต้อศาลเพื่อให้ศาลสั่งว่านายเอเป็น "คนสาบสูญ" ศาลมีคำสั่งให้นายเอเป็นบุคคลสาบสูญเมื่อวันที่ 10 ม.ค.50 ดังนั้นถือว่านายเอตายเมื่อวันที่ 1 พ.ย.45

การจำกัดการใช้สิทธิของบุคคล

เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายรองรับเช่น สิทธิในทรัพย์สิน หรือมีสิทธิในการทำการติดต่อกับบุคคลใด ๆ โดยนิติกรรมสัญญา อย่างไรก็ตามกฎหมายได้จำกัดการใช้สิทธิของบุคคลบางกลุ่มในการทำนิติกรรมสัญญาไว้ซึ่งมีสาระดังนี้

3.1. ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อจะทำนิติกรรมใด ๆจะต้องผ่านความยินยอมเห็นชอบจากผู้แทนโดยธรรมเสียก่อน หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำนิติกรรมนั้นแทน หากฝ่าฝืน ผลที่เกิดขึ้นคือ นิติกรรมนั้นเป็น โมฆียะ

เช่น เด็กชายเอก อายุ 13 ปี ไปซื้อเครื่องซักผ้าในราคา 30000 บาท เพราะเด็กชายเอกขี้เกียจซักผ้าเอง นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆียะ

อย่างไรก็ตาม มีนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์บางอย่างที่มีความสำคัญ บิดามารดาจะกระทำแทนผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเช่น การขายที่ดิน ให้กู้ยืมเงิน ประนีประนอมยอมความ เป็นต้น

เกณฑ์ของผู้ที่จะบรรลุนิติภาวะมีดังนี้
1. อายุ 20ปีบริบูรณ์
2. ทำการสมรสในเมื่ออายุ 17ปีบริบูรณ์โดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (บิดามารดา)

ข้อยกเว้นในการทำที่ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมคือ
1. เป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์นั้นมีประโยชน์ฝ่ายเดียวเท่านั้น เช่น การที่ผู้เยาว์รับการให้โดยเสน่หา
2. นิติกรรมที่ต้องทำเองเฉพาะตัวเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องตัดสินใจเองโดยแท้จริงเช่นการรับรองบุตรเป็นต้น
3. นิติกรรมที่จำเป็นต่อการเลี้ยงชีพ โดยจะต้องเป็นการเลี้ยงชีพอย่างแท้จริง และ สมแก่ฐานะของผู้เยาว์
4.ในกรณีที่ทำพินัยกรรม จะต้องมีอายุครบ 15ปี บริบูรณ์ และหากพินัยกรรมนั้น ทำลงขณะที่อายุไม่ครบ15 ปีบริบูรณ์ แต่ทำพินัยกรรมย่อมส่งผลให้พินัยกรรมนั้นมีผลให้พินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ

3.2. บุคคลวิกลจริต
คือ บุคคลที่มีจิตใจผิดปกติ หากขณะที่ทำนิติกรรมใด ๆ คนวิกลจริตนั้นมีสภาพจิตใจสมบูรณ์ นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ แต่หากว่าได้กระทำนิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่สัญญาทราบว่าบุคคลนั้นเป็นคนวิกลจริต นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ อย่างไรก็ตาม หากคู่สัญญาที่ร่วมทำนิติกรรม ไม่ทราบว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลที่ร่วมทำเป็นบุคคลวิกลจริต ตามกฎหมายจะถือว่านิติกรรมนั้น สมบูรณ์

3.3.คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งหากทำนิติกรรมจะมีผลเป็น โมฆียะ ดังนั้นผู้อนุบาลต้องทำแทนเท่านั้น

3.4. คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลมีกายพิการ หรือ ติดสุรายาเมา หรือ เสเพลเป็นอาจิณ และศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถก็เป็นคนปกติทั่วไปนั่นแหละ แต่ไม่สามารถจัดการงานของตนได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเอง หรือครอบครัว และเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนในครอบครัวของคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลภายนอก กฎหมายจึงกำหนดให้ มีการร้องขอต่อศาลให้บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้
หากทำคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรม ๆ นั้นย่อมสมบูรณ์ เว้นแต่การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญ ต้องขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิเช่นนั้นจะถือว่าผลเป็นโมฆียะ


-------------------------------------------------------------------------------------
2.นิติบุคคล
-------------------------------------------------------------------------------------

คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่เปรียบเสมือนบุคคลหนึ่ง โดยจะมีการกระทำนิติกรรมผ่านผู้แทน โดยมีสิทธิเทียบเท่ากับบุคคลธรรมดาทั่วไปจะต้องจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ก่อน หรือเมื่อมีพระราชบัญญัติให้สามารถจัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลใช้บังคับได้

นิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตวิญญาณ ไม่อาจแสดงเจตนาได้ อย่างไรก็ตามนิติบุคคลสามารถแสดงเจตนาโดยผ่านทาง “ผู้แทนนิติบุคคล นั้น” (ระวังสับสนกับคำว่าตัวแทน)

สามารถแบ่งนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เช่น สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดเป็นต้น

2. นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
เช่น กระทรวง ทบวง กรม กองทัพ วัดวาอาราม มหาวิทยาลัย (แต่คณะในมหาวิทยาลัยมิใช่นิติบุคคล)

ข้อสังเกต ส่วนราชการสามารถแบ่งออกได้สามส่วน คือ
1.การบริหารราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง, ทบวง, กรม
2.การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
3.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีหลายรูปแบบ เช่น เทศบาล (สำหรับเทศบาลก็มีทั้งเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล) องค์การบริหารส่วนจังหวัดและส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

ไม่มีความคิดเห็น: