คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างที่สอง

ผมได้อธิบาย “โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา” โครงสร้างแรก ที่ว่าด้วย การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ ไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

ต่อไปผมจะอธิบายโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่สอง ซึ่งเป็นเรื่องของ การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด ซึ่งมีความสำคัญในการพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางอาญาเป็นอย่างมาก กล่าวคือ

แม้ว่า การกระทำจะครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติ ตามโครงสร้างข้อ 1 แต่หากว่ามีกฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ2 ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา เช่น ในกรณีแดงยิงดำที่ยกมาข้างต้น หากปรากฏว่าการที่แดงกระทำต่อดำนั้นเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของแดงก็ไม่เป็นความผิด เพราะมีกฎหมายในเรื่องป้องกันตามยกเว้นความผิดซึ่งก็หมายความว่าแดงไม่ต้องรับผิดในทางอาญา

แล้วกฎหมายยกเว้นความผิดในกรณีใดบ้าง !?

กฎหมายยกเว้นความผิดหลายกรณี ดังนี้
------------------------------------------------------------------------------------

1. กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา เช่น

1) การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
กฎหมายวางหลักว่า “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

เช่น นายเอกจะถูกนายโทยิง นายเอกจึงใช้มีดฟันไปยังแขนนายโท เช่นนี้ แม้ว่านายเอกจะกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นกรณีที่นายเอกจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย(คือการจะถูกยิง) การกระทำของนายเอกเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงได้รับยกเว้นความผิด สรุปแล้ว นายเอกจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร้างกาย

ทั้งนี้ ผู้กระทำอาจป้องกันสิทธิของผู้อื่น เช่น แดงก่อเหตุด้วยการจะยิงดำ ดำกลัวตายจึงใช้ปืนยิงแดง ขาวพ่อของดำเห็นเหตุการณ์โดยตลอด ขาวช่วยแดงด้วยการยิงดำ ขาวอ้างป้องกันได้ เพราะการที่แดงยิงดำ แม้จะเป็นภยันตรายต่อดำ เกิดจากการละเมิดกฎหมาย

2) การทำแท้งที่กฎหมายยกเว้นความผิด

หลักกฎหมายเรื่องการกระทำความผิดฐานทำแท้ง วางหลักไว้ชัดเจนว่า “ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษ…”

อย่างไรก็ตามกฎหมายก็ได้วางข้อยกเว้นความผิดไว้ในกรณีที่เป็นการกระทำนั้นเป็นการกระทำของของนายแพทย์และ (1) จำเป็นต้องกระทำ เนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ (2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาเช่น หญิงนั้นถูกข่มขืนกระทำชำเรา

3)การหมิ่นประมาทที่กฎหมายยกเว้นความผิด

หลักกฎหมายเรื่องการกระทำความผิดฐานทำแท้ง วางหลักไว้ชัดเจนว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ…”

อย่างไรก็ตามกฎหมายก็ได้วางข้อยกเว้นความผิดไว้ในกรณีที่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต หรือการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลโดยคู่ความหรือทนายความของคู่ความ

------------------------------------------------------------------------------------

2. กฎหมายยกเว้นความผิดที่มิได้มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักในเรื่องความยินยอม ซึ่งยกเว้นความผิดในบางกรณี หลักดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงดังเช่นเรื่องป้องกันแต่ก็นำมาใช้ได้โดยถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไป

จารีตประเพณี ก็ถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ยกเว้นความผิดได้ เช่น จารีตประเพณีให้อำนาจครูตีเด็กนักเรียนพอสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน หรือพระภิกษุมีอำนาจลงโทษศิษย์วัดได้

------------------------------------------------------------------------------------

3. กฎหมายยกเว้นความผิดในรัฐธรรมนูญ

ผู้มีสิทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องเอกสิทธิ์ “ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้”

------------------------------------------------------------------------------------

4. กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(1)เจ้าของที่ดินใช้สิทธิตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินที่ติดต่อและเอาไว้เสีย ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
(2) การทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งใด เพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน เช่น เข้าไปขุดดินทำทางน้ำในที่ดินของผู้อื่นเพื่อป้องกันภยันตรายสาธารณะอันแลเห็นอยู่ว่าจะเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกด้วย แม้จะเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ก็ตาม เพราะถือว่าผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้
(3) การที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ฆ่าสัตว์ที่เข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
(4) การที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง เช่น บิดามารดาทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(5) บางกรณีอำนาจตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งก็ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด ทางอาญาฐานบุกรุก เช่น ข้อตกลงในสัญญาเช่นระบุว่า หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ผู้เช่ายอมผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าและเอาโซ่ล่ามใส่กัญแจปิดทางเข้าออกตึกที่ให้เช่าเป็นการทำสัญญา ผู้ให้เช่าไม่ผิดเพราะมีอำนาจจะกระทำได้ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าต่างหาก

------------------------------------------------------------------------------------

5. กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับบุคคลผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนีไปตาม หรือการจับกุมบุคคลตามหมายจับที่ออกไปโดยชอบด้วยกฎหมายผู้จับไม่มีความผิดต่อเสรีภาพ หรือหากการจับนั้นจำเป็นต้องทำให้ทรัพย์ของผู้ถูกจับเสียหาย เช่นจำต้องยิงยางที่ล้อรถจนยางแตกเพื่อให้รถหยุดจะจับกุมคนซึ่งเป็นการกระทำที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับ ผู้จับไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

------------------------------------------------------------------------------------

ข้อสังเกต
การกระทำที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติ ตามโครงสร้างข้อ 1 หากมีกฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ2 ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา เช่น ในกรณีแดงยิงดำที่ยกมาข้างต้น หากปรากฏว่าการที่แดงกระทำต่อดำนั้นเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของแดงก็ไม่เป็นความผิด เพราะมีกฎหมายในเรื่องป้องกันตาม ยกเว้นความผิดซึ่งก็หมายความว่าแดงไม่ต้องรับผิดในทางอาญา

แม้การกระทำที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติตามโครงสร้างข้อ 1 จะไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ2 ก็ยังไม่อาจสรุปได้ทันทีว่าผู้กระทำต้องรับผิดในทางอาญาจะต้องพิจารณาโครงสร้างข้อ3 ต่อไปด้วยว่า การกระทำนั้นมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่

.

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

-ขอบคุณครับพี่


สิ่งที่พี่ทำให้


นั้นมีค่า ขอให้พี่ทำสิ่งๆ ดีๆ ต่อไป



แล้ว พี่ จะ ได้ เป็นนักกฎหมายที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน





คนดีๆๆๆๆๆๆๆๆ ต้องสนันสนุน