คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พยายามกระทำความผิด

ในหัวข้อ พยายามกระทำความผิด นั้น ผมขอแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อดังนี้ครับ

1. การพยายามกระทำความผิดกรณีปกติ

1.1.บุคคลใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด เช่น ก. ยกปืนเล็งไปที่ ข. จะยิง ข. แต่ ค. ปัดกระบอกปืนไปทางอื่น หรือ
1.2.กระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เช่น ก. ยิงไปที่ ข. (กระทำไปตลอดแล้ว) แต่ ข.หลบทัน (ไม่บรรลุผล)

บุคคลนั้นได้พยายามกระทำความผิดแล้ว

เช่นนี้เป็นการลงมือกระทำแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นพยายามฆ่า เป็นต้น หรือ

เช่นนี้เป็นการกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเป็นพยายามฆ่าเช่นกัน ซึ่งต้องรับโทษ2 ใน 3ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

-------------------------------------------------------------------------------------

2. การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้

บุคคลใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการ กระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ

เช่น ปืนที่ใช้มีกำลังอ่อน หรือระเบิดที่ใช้กำลังอ่อนมากทำให้เกิดบาดแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นต้น

ให้ถือว่า ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกิน1 ใน 2 ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

แต่ถ้าเป็นการกระทำดังกล่าวเกิดจากความเชื่ออย่าง งมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

เช่น ก.ใช้ปืนที่กำลังอ่อนยิง ข. ด้วยความเชื่อว่า ข.หนังเหนียวยิงไม่เข้าเมื่อปรากฏว่า ข.ได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นรอยช้ำเล็กน้อย เท่านั้น ศาลก็อาจไม่ลงโทษ ก. ก็ได้ เป็นต้น

-----------------------------------------------------------------------------------
3. การยับยั้ง กลับใจ

3.1.กรณียับยั้ง

คือกรณีที่บุคคลได้ลงมือกระทำความผิด แต่ได้ยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด

เช่นนาย ก.ยกปืนจ้องจะยิงนาย ข.แต่เกิดนึกสงสารบุตรของนาย ข.เลยเปลี่ยน ใจไม่ฆ่านาย ข.

3.2.กรณีกลับใจ

คือกรณีที่บุคคลได้ลงมือกระทำความผิด แต่ได้กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล เช่นนาย ก.ใช้มีดแทงนาย ข.โดยตั้งใจจะฆ่านาย ข.ให้ตาย แต่นาย ก. นึกสงสารบุตรของนาย ข.จึงกลับใจอุ้มนาย ข.ไปส่งที่โรงพยาบาล เป็นต้น
ผลของการยับยั้งหรือกลับใจ

เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้ว กรณีที่นาย ก.ยกปืนจ้องจะยิงนาย ข เช่นนี้การกระทำอยู่ในขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว เมื่อ แม้ว่านาย ก. ไม่ได้ลั่นไกปืน(คือไม่ได้กระทำการไปให้ตลอด) นาย ก. ก็ยังคงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ในเรื่องยับยั้งการกระทำผิดนั้น กฎหมายได้วางหลักว่าชัดเจนว่า หากการที่นาย ก. ไม่ได้ลั่นไกปืน เกิดจากการยับยั้งของนาย ก. เอง แล้ว ดังเช่นกรณีที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้นว่านาย ก.ยกปืนจ้องจะยิงนาย ข.แต่เกิดนึกสงสารบุตรของนาย ข.เลยเปลี่ยน ใจไม่ฆ่านาย ข. นาย ก. ย่อมไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น(พยายามฆ่า)

อีกทั้งในกรณีที่นาย ก.ใช้มีดแทงนาย ข.โดยตั้งใจจะฆ่านาย ข.ให้ตาย หากนาย ข. ไม่ตาย นาย ก. ต้องรับผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่น แต่หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นาย ข.ไม่ตายนั้นเกิดจากที่ นาย ก. นึกสงสารบุตรของนาย ข.จึงกลับใจอุ้มนาย ข.ไปส่งที่โรงพยาบาล เช่นนี้แล้ว นาย ก. ย่อมไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น(พยายามฆ่า)

อย่างไรก็ตาม แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดไว้ ผู้นั้นต้อง โทษสำหรับความผิดนั้นๆด้วย ดังนั้น การกลับใจอุ้ม ข.ไปส่งโรงพยาบาลนั้นย่อมทำให้ ก.ไม่ต้องรับผิดฐานพยายามฆ่า แต่อาจต้องรับผิดฐานทำร้ายร่างกายได้

ไม่มีความคิดเห็น: