คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างที่สาม

ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา ... โครงสร้างความรับผิดทางอาญา โครงสร้างที่สาม

ผมขอย้ำให้ผู้อ่านเข้าใจหลักการให้ชัดอีกครั้งว่า

บุคคลต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาจากโครงสร้างความรับผิดทางอาญา

ดังนั้น ในการพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่นั้น

ประการแรกต้องดูว่าการกระทำของบุคคลนั้นครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่

หากครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ แล้วก็ต้องดูต่อไปว่าการกระทำมีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่

หากไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด ก็ต้องดูต่อไปว่ามีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่

เมื่อไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษก็มีหมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดในทางอาญา

.
.
.

ต่อไปจะอธิบายเบื้องลึกของโครงสร้างความรับผิดทางอาญาโครงสร้างที่สาม ที่ว่าด้วย ... การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

------------------------------------------------------------------------------------
กฎหมายที่ยกเว้นโทษให้แก่การกระทำต่าง ๆ ที่เป็นความผิดมีหลายกรณีด้วยกันเช่น
------------------------------------------------------------------------------------

1.การกระทำความผิดโดยจำเป็น

กฎหมายวางหลักว่า “ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น

(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

อธิบายเรื่องการกระทำความผิดโดยจำเป็น

การกระทำความผิดโดยจำเป็น เป็นการกระทำที่เป็นความผิด แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้

(ซึ่งแตกต่างจากการกระทำโดยป้องกันเพราะว่าการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายยกเว้นความผิดให้ การกระทำนั้นจึงไม่เป็นความผิด และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย)

การกระทำความผิดโดยจำเป็นแบ่งออกเป็น 2 กรณี

กรณีแรก

กระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น แดงขู่ว่าจะยิงดำ ถ้าดำไม่ตีหัวขาว ดำเงื้อไม้จะตีหัวขาว ถ้าดำตีขาวหัวแตก ดำจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่สามารถอ้างว่า การที่นายดำทำลงไปเป็นการกระทำความผิดโดยจำเป็น ซึ่งเป็นเหตุยกเว้นโทษ

กรณีที่สอง

กระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน เช่น แดงเข้าไปเดินป่าที่เขาใหญ่เพื่อไปศึกษาธรรมชาติ ระหว่างที่เดินชมธรรมชาติอยู่นั้น ช้างป่าตกมันวิ่งมาที่นายแดง นายแดงตกใจมากจึงวิ่งหนีช้างป่าตกมันนั้น นายแดงวิ่งไปยังบ้านหลังหนึ่งเพื่อเข้าไปหลบที่บ้านหลังนั้น แต่บ้านหลังนั้นกลับปิดประตูอย่างแน่นหนา ทำให้นายแดงเข้าไปไม่ได้ นายแดงจึงทำลายประตูนั้น เพื่อเข้าไปในบ้านเพื่อหลบช้างป่า เช่นนี้ แม้นายแดงจะกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่นายแดงสามารถอ้างว่า การที่นายแดงทำลงไปเป็นการกระทำความผิดโดยจำเป็น ซึ่งเป็นเหตุยกเว้นโทษ

------------------------------------------------------------------------------------

2. การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี

------------------------------------------------------------------------------------

3. การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี และไม่เกิน14 ปี

เช่น แดงเด็กอายุ 13 ปี ชักปืนจะยิงดำ หากแดงยิงดำตาย แดงผิดมาตรา 288 แต่อ้างมาตรา 74 ยกเว้นโทษ ซึ่งหมายความว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิด แต่กฎหมายยกเว้นโทษ

------------------------------------------------------------------------------------

4. การกระทำความผิดของคนวิกลจริต

------------------------------------------------------------------------------------

5. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบางความผิด(เช่นลักทรัพย์) ระหว่างสามีภริยา

เช่น สามีลักสายสร้อยภริยาจะเอาไปขาย เช่นนี้กฎหมายยกเว้นโทษให้ กล่าวคือสามีมีความผิดฐานลักทรัพย์แต่ไม่ต้องรับโทษ
อย่างไรก็ตาม หากภริยาติดตามไปเอาคืน สามีไม่ยอม ภริยาใช้ไม้ตีทำร้ายสามีและได้สร้อยคืนมา การกระทำของสามีเป็นความผิด จึงเป็นภยันตรายต่อทรัพย์สินของภริยาอันเกิดจากการละเมิดกฎหมาย ด้วยเหตุนี้การกระทำของภริยาด้วยการใช้ไม้ตีสามี เพื่อให้ได้ทรัพย์สินคืนมา จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย


.

ไม่มีความคิดเห็น: