คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เหตุลดโทษตามกฎหมายอาญา

ผมได้ใช้เวลาในการอธิบายเรื่องโครงสร้างความรับผิดอยู่หลายตอน

เพราะในกฎหมายอาญานั้นมีหัวใจอยู่ตรงที่ "ความรับผิดทางอาญาของบุคคล"

ดังนั้น ในการพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่นั้น ประการแรกต้องดูว่าการกระทำของบุคคลนั้นครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่หากครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ แล้วก็ต้องดูต่อไปว่าการกระทำมีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่หากไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด ก็ต้องดูต่อไปว่ามีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษก็มีหมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดในทางอาญา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลใดต้องรับโทษทางกฎหมายอาญาแล้ว “ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

เรียกกรณีดังกล่าวว่า เป็นกรณีที่มีเหตุลดโทษ โดยศาลอาจใช้ดุลพินิจลดโทษให้ เช่น กระทำความผิดเพราะบันดาลโทสะ อย่างไรก็ตาม

ถึงกระนั้นก็ตาม ... เหตุลดโทษนั้นไม่ใช่โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา

-------------------------------------------------------------------------------------
อธิบายเรื่องเหตุลดโทษโดยละเอียด

เหตุลดโทษ คือ เหตุที่อาจทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง ซึ่งขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลที่จะลดโทษให้แก่ผู้กระทำหรือไม่ก็ได้ กฎหมายมักจะบัญญัติเกี่ยวกับการลดโทษไว้ในทำนองว่า “ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” หรือบางกรณีก็จำกัดขอบเขตการลดโทษของศาลไว้เช่น “ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้”

ในกรณีเหตุลดโทษ นั้นได้จัดอยู่นอกโครงสร้าง เพราะจะคำนึงถึงเหตุลดโทษก็ต่อเมื่อผู้กระทำต้องรับผิดในทางอาญาแล้ว กล่าวคือไม่มีเหตุยกเว้นความผิด หรือไม่มีเหตุยกเว้นโทษแก่ผู้กระทำ ซึ่งขั้นตอนต่อไปที่จะต้องพิจารณาคือดูว่ามีเหตุลดโทษหรือไม่

-------------------------------------------------------------------------------------
เหตุลดโทษ ที่บัญญัติไว้มีหลายกรณี แต่มีเรื่องที่สำคัญดังนี้
-------------------------------------------------------------------------------------

1. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินบางความผิดระหว่างญาติสนิท

เช่น บุตรลักสายสร้อยมารดาจะเอาไปขาย เช่นนี้เป็นความผิดตามกฎหมาย ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษให้ แต่เป็นเหตุลดโทษตามกฎหมาย กล่าวคือสามีมีความผิดฐานลักทรัพย์และต้องรับโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

-------------------------------------------------------------------------------------

2. บันดาลโทสะ
กฎหมายวางหลักว่า “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

เช่น นายเอกใช้ปืนยิงนายเพชรซึ่งเป็นบิดาของนายโท นายเพชรอาการสาหัส ใช้ลมหายใจเฮือกสุดท้าย กระเสือกกระสนไปหานายโท นายโทเห็นพ่อตนถูกทำร้าย จึงรีบถามว่าใครทำ ปรากฏว่านายเพชรบอกว่านายเอกเป็นผู้กระทำ พอรู้เช่นนั้น นายโทรีบไปหานายเอกเพื่อชำระความแค้น ยิงนายเอกเพื่อแก้แค้นแทนพ่อตน การกระทำของนายโทเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่นายโทอาจกล่าวอ้างว่าได้กระทำความผิดเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลอาจจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้


.

ไม่มีความคิดเห็น: