คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความรู้เบื้องเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" ถามว่า กฎหมายใดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์

ก. กฎหมายลักษณะครอบครัว
ข. กฎหมายลักษณะทรัพย์
ค. กฎหมายลักษณะบุคคล
ง. กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

คำถามข้อนี้เคยมักจะถูกนำมาออกเป็นข้อสอบเป็นประจำ เนื่องจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายพื้นฐานที่มีความใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตประจำวันมากที่สุด

กฎหมายแพ่งคืออะไร

ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายลักษณะบุคคล มีการกำหนดว่า การมีสภาพบุคคลของบุคคลธรรมดานั้นเริ่มคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และเมื่อมีสภาพบุคคลแล้วบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิตามกฎหมาย แต่กฎหมายจำกัดการใช้สิทธิไม่ให้บุคคลนั้นใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่หากว่า บุคคลนั้นยังเป็นผู้เยาว์อยู่ กฎหมายลักษณะนี้เราเรียกว่ากฎหมายแพ่ง

ดังนั้น กฎหมายแพ่ง จึงหมายถึง กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ในการดำรงชีวิตประจำวันในลักษณะทั่วไป

กฎหมายแพ่งที่สำคัญคือ กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะทรัพย์ (โดยมีการกำหนดสิทธิของผู้ทรงทรัพยสิทธิ ในรูปแบบต่างๆ เช่น เจ้ากรรมสิทธิ์ว่ามีสิทธิอย่างไรบ้าง  สิทธิในการใช้สอย ติดตามเอาคืน เป็นต้น) กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ ก็จัดว่าเป็นกฎหมายแพ่งเช่นกัน

ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นหมายถึง กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ในการดำรงชีวิตประจำวันในลักษณะทั่วไปอันเกี่ยวกับการพาณิชย์ ถ้าหากพิจารณาภาษาอังกฤษ จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น การพาณิชย์ก็คือ Commerce นั่นเอง หมายความถึง ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องในทางเศรษฐกิจ การค้าขายสินค้า การค้าบริการ และ การลงทุน ดังนั้น กฎหมายเอกเทศสัญญาส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์ เช่น กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน (ตั๋วเงินคือการชำระหนี้อย่างอื่นแทนเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เช็ค) กฎหมายลักษณะซื้อขาย กฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ กฎหมายลักษณะเช่าซื้อ กฎหมายลักษณะจำนอง กฎหมายลักษณะจำนำ กฎหมายลักษณะค้ำประกัน กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วน บริษัท

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่ง ออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำ เอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่ม หนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวล กฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น
อธิบายมาเสียยืดยาว สรุปคำตอบคือ ข้อ ง. กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน นั่นเองที่มีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์

ไม่มีความคิดเห็น: