คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สำคัญผิด

สำคัญผิดในทางกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้

-------------------------------------------------------------------------------------

1.สำคัญผิดในตัวบุคคล

เช่น นายเอกตั้งใจไปดักยิงนายฝันดีที่พุ่มไม้ แต่ปรากฏว่านายฝันเด่นเดินมา นายเอกเข้าใจว่าเป็นนายฝันดี จึงยิงไปที่นายฝันเด่น เช่นนี้นายเอกต้องรับผิดต่อนายฝันเด่นหรือไม่

“ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิดผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่”

แม้นายเอกเจตนาจะกระทำต่อนายฝันดี แต่ได้กระทำต่อนายฝันเด่นโดยสำคัญผิด นายเอกจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาต่อนายฝันเด่นหาได้ไม่ดังนั้น นายเอกต้องรับผิดต่อนายฝันเด่น

-------------------------------------------------------------------------------------

2.สำคัญผิดในข้อเท็จจริง แบ่งออกเป็น 3 กรณี

2.1.สำคัญผิดว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด อธิบายได้ดังนี้

การกระทำไม่เป็นความผิด คืออะไร ต้องพิจารณาที่โครงสร้างที่ 2 ที่กล่าวถึงกฎหมายยกเว้นความผิดไว้หลายกรณี ส่วนข้อเท็จจริงซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด ก็คือข้อเท็จจริงซึ่งทำให้กฎหมายยกเว้นความผิด

เช่นข้อเท็จที่ว่านายเอกจะใช้มีดฟันนายโท การทำร้ายร่างกายเช่นนี้เป็นภยันตรายอันเกิดจากการกระทำผิดกฎหมาย การที่นายโทใช้มีดฟันไปยังนายเอกก่อนที่นายเอกจะฟันนายโท จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

แต่หากว่านายเอกเห็นว่ามีงูเลื้อยเข้ามาด้านหลังนายโท นายเอกจึงรีบคว้ามีดเพื่อฟันไปที่งู แต่นายโทสำคัญผิดคิดว่า นายเอกจะทำร้ายร่างกายตน เช่นนี้เป็นกรณีที่เกิดสำคัญผิดในข้อเท็จจริง(นายโทคิดว่านายเอกจะทำร้ายตน แต่แท้จริงแล้วนายเอกจะฟันงู

ถามว่า นายโทมีความผิดหรือไม่

เมื่อนายโทผู้กระทำสำคัญผิดคิดว่าสามารถใช้สิทธิป้องกันได้ เช่นนี้นายโทผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด


2.2.สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ

การกระทำที่กฎหมายยกเว้นโทษ คืออะไร ต้องพิจารณาที่โครงสร้างที่ 3 ที่กล่าวถึงกฎหมายยกเว้นโทษไว้หลายกรณี ส่วนข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ก็คือข้อเท็จจริงซึ่งทำให้กฎหมายยกเว้นโทษ

เช่นข้อเท็จที่ว่า แดงเข้าไปเดินป่าที่เขาใหญ่เพื่อไปศึกษาธรรมชาติ ระหว่างที่เดินชมธรรมชาติอยู่นั้น ช้างป่าตกมันวิ่งมาที่นายแดง นายแดงตกใจมากจึงวิ่งหนีช้างป่าตกมันนั้น นายแดงวิ่งไปยังบ้านหลังหนึ่งเพื่อเข้าไปหลบที่บ้านหลังนั้น แต่บ้านหลังนั้นกลับปิดประตูอย่างแน่นหนา ทำให้นายแดงเข้าไปไม่ได้ นายแดงจึงทำลายประตูนั้น เพื่อเข้าไปในบ้านเพื่อหลบช้างป่า

เช่นนี้ แม้นายแดงจะกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่นายแดงสามารถอ้างว่า การที่นายแดงทำลงไปเป็นการกระทำความผิดโดยจำเป็น ซึ่งเป็นเหตุยกเว้นโทษ

แต่หากว่านายแดงหูแว่ว ได้ยินเสียงช้าง นายแดงตกใจรีบพังประตู เข้าไปในบ้านของผู้อื่น เช่นนี้เกิดจากการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง(นายแดงคิดว่าช้างป่าจะวิ่งเข้ามาทำร้ายตน แต่แท้จริงแล้วนายแดงเพียงหูแว่วเท่านั้น)

ถามว่า นายแดงต้องรับโทษหรือไม่

เมื่อนายแดงผู้กระทำสำคัญผิดคิดว่าสามารถกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้ เช่นนี้นายแดงผู้กระทำย่อมไม่ต้องรับโทษ


2.3สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง

การกระทำที่กฎหมายลดโทษนั้นมีหลายกรณีเช่น การกระทำความผิดเพราะบันดาลโทสะ ฯลฯ ส่วนข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ก็คือข้อเท็จจริงซึ่งทำให้กฎหมายลดโทษ

เช่นข้อเท็จที่ว่า นายเอกใช้ปืนยิงนายเพชรซึ่งเป็นบิดาของนายโท นายเพชรอาการสาหัส ใช้ลมหายใจเฮือกสุดท้าย กระเสือกกระสนไปหานายโท นายโทเห็นพ่อตนถูกทำร้าย จึงรีบถามว่าใครทำ ปรากฏว่านายเพชรบอกว่านายเอกเป็นผู้กระทำ พอรู้เช่นนั้น นายโทรีบไปหานายเอกเพื่อชำระความแค้น ยิงนายเอกเพื่อแก้แค้นแทนพ่อตน การกระทำของนายโทเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่นายโทอาจกล่าวอ้างว่าได้กระทำความผิดเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลอาจจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

แต่หากว่านายเพชรซึ่งอาการปางตาย พูดจาไม่ชัดถ้อยชัดคำ ทำให้นายโทเข้าใจว่านายเป็ด เป็นผู้กระทำ นายโทเข้าใจว่านายเป็ดฆ่าพ่อตน นายโทจึงไปยิงนายเป็ด เช่นนี้เกิดจากการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง(นายโทคิดว่านายเป็ดทำร้ายพ่อตน แต่แท้จริงแล้วนายเพชรเป็นผู้ทำร้ายพ่อของนายโท)

ถามว่า นายโทอ้างเหตุลดโทษหรือไม่

เมื่อนายแดงผู้กระทำสำคัญผิดคิดว่าตนสามารถอ้างเหตุลดโทษได้ เช่นนี้ศาลอาจจะลงโทษนายโทน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: