คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของ "กฎหมาย"

กฎหมายเป็นกฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม และใช้กำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กฎหมายมีสภาพแตกต่างจากศีลธรรมก็คือ กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับให้ต้องกระทำตามกฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืน ตามธรรมดาย่อมต้องโทษ

นิยามของคำว่ากฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้รับอิทธิพลจาก “สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law School)” ซึ่งมีเชื่อว่า “กฎหมายนั้นคือคำสั่งของรัฐ” โดย Thomas Hobbes นักปรัชญาเมธีคนสำคัญของสำนักกฎหมายบ้านเมืองได้อธิบายว่า “การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดจาก การที่แต่ละคนมีลักษณะเดียรฉานที่มีการทำร้ายต่อสู้กันตลอดเวลา

ดังนั้นประชาชนจึงทำสัญญาประชาคมยกอำนาจให้รัฏฐาธิปัตย์ และการมอบอำนาจของเขาเป็นการมอบอำนาจแบบสวามิภักดิ์ คือ มอบอำนาจให้รัฏฐาธิปัตย์โดยเด็ดขาด”

ทั้งนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ จึงได้นำแนวคิดนี้สู่โรงเรียนกฎหมายไทย โดยพระองค์ฯ ได้อธิบายนิยามของกฎหมายไว้ว่า “เราจะต้องระวังอย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความดีความชั่วฤาความยุติธรรม กฎหมายเป็นคำสั่งเป็นแบบที่เราจะต้องประพฤติตาม แต่กฎหมายนั้นบางทีก็จะชั่วได้ ฤาไม่ยุติธรรมก็ได้ ความคิดว่าอะไรดี อะไรชั่วฤา อะไรเป็นยุติธรรม อะไรไม่ยุติธรรม มีบ่อที่จะเกิดขึ้นหลายแห่ง เช่นตามศาสนาต่าง ๆ แต่กฎหมายนั้นเกิดขึ้นได้แห่งเดียว คือจากผู้ปกครองแผ่นดิน ฤาที่ผู้ปกครองแผ่นดินอนุญาตเท่านั้น”

ดังนั้น สามารถสรุปลักษณะที่สำคัญของกฎหมายตามแนวคิดสำนักกฎหมายบ้านเมืองได้ดังนี้

1. ต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผน (Norm) กล่าวคือ เป็นกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติของคนในสังคม ใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่าการกระทำอย่างไร ผิดหรือถูก

2. กฎหมายต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มีกระบวนการบังคับใช้ที่เป็นกิจจะลักษณะ คือ มีการกำหนดบทลงโทษ


นอกจากสำนักกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังมีสำนักแนวคิดทางกฎหมายอีกหลายสำนักได้ให้คำนิยามของคำว่ากฎหมายไว้ โดยสำนักความคิดทางกฎหมายอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น


สำนักกฎหมายธรรมชาติ(School of Natural Law)

แนวคิดนี้เชื่อว่า กฎหมายมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ (harmonious with nature) มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างกฎหมาย (Enacted Law) กฎหมายที่ดีต้องไม่ละเมิดกฎของพระเจ้า มีลักษณะคงทนถาวร ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร Cicero นักปรัชญาเมธีสำคัญของสำนักกฎหมายธรรมชาติ เคยกล่าววลีที่เสมือนรากฐานของแนวคิดนี้ว่า "True Law is right reason, harmonious with nature, diffuse among all, constant, eternal..." ดังนั้น การใช้กฎหมายย่อมเป็นไปตามเหตุผลที่เป็นธรรมชาติตามปกติ ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิสร้างความยุติธรรมโดยกฎหมายของตนเองได้
ข้อควรรู้ สำนักกฎหมายบ้านเมืองเกิดขึ้นภายหลังสำนักกฎหมายธรรมชาติ สำนักกฎหมายบ้านเมืองเกิดยุคที่ยุโรปเริ่มจัดทำกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน มีนักปรัชญาหลายท่านปฏิเสธหลักกฎหมายธรรมชาติ และสร้างหลักที่ว่ามนุษย์ต่างหากเป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นบังคับใช้ในสังคม

สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ (School of History Law)

แนวคิดนี้เชื่อว่า“กฎหมายคือผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์” ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งสำคัญอีกประการคือระบบกฎหมายต้องมีลักษณะกลมกลืนและสอดคล้องกับระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ

สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นควบคู่กับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ไม่ยอมรับหลักที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างกฎหมาย แต่กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจาก “จิตใจของประชาชาติ” (Volksgeist) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของชนชาติตั้งแต่ดั้งเดิมเริ่มต้นก่อตั้งชาตินั้นและวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงเป็นผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บล็อกนี้ดีมากๆค่ะ

ทำต่อไปนะค่ะ

เป็นประโยชน์ต่อหลายคน

ให้กำลังใจคนทำค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากได้หนังสือคู่มือสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ครับ
มีวิธีสั่งซื้อยังไงครับ

ช่วยหน่อยนะครับ อยากเรียนนิติฯมากๆ
d-dewdrop@hotmail.com