คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย (Ubi societas , ibi jus)

สุภาษิตละตินที่กล่าวว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย” ย่อมแสดงนัยยะที่ว่า สังคมย่อมเกิดก่อนกฎหมาย เมื่อไม่มีสังคมก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมาย

กฎหมายถูกสร้างขึ้น เมื่อมนุษย์ได้มีการรวมตัวกันและมีการปฏิสัมพันธ์กันเป็นสังคม กฎหมายจึงเป็นเสมือนหลักเกณฑ์กลางที่ให้ผู้ที่อยู่ในสังคมนั้นยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ อันจะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข ดังคำสุภาษิตละตินที่ว่าที่ไหนมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societus ibi ius)


สังคมคืออะไร

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2524 ให้ความหมายของคำว่า สังคม (Society) ดังนี้ สังคมคือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

อีกทั้ง ยังมีนักสังคมวิทยาหลายท่านได้อธิบายความของคำว่าสังคมไว้ ที่น่าสนใจมีดังนี้

สังคมได้แก่พื้นที่ที่มีประชากรซึ่งอยู่ในสปีชีเดียวกัน มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกันและเป็นรูปองค์การที่เป็นอิสระจากองค์การอื่น ๆ

สังคม คือ ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดินแดนใดดินแดนหนึ่งและมีประเพณี วัฒนธรรมที่เหมือนกัน สังคมเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนที่มีการกระทำระหว่างกันต่อกันภายในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งและมีวัฒนธรรมอันหนึ่งร่วมกัน

ไม่ว่าคำว่า สังคม จะถูกนิยามให้ความหมายอย่างไร สังคมยังคงประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญดังนี้

1.ภายในสังคมมีวัฒนธรรม มีภาษา วิถีชีวิต และความเชื่ออย่างเดียวกัน การที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้นทำให้มีการพัฒนาไปสู่การสร้างเอกลักษณ์ (เช่น ภาษา การแต่งกาย มารยาทและศาสนา ฯลฯ) ที่มีความแตกต่างจากสังคมอื่น

2.สังคมเกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งสามารถเลี้ยงดูตนเอง มีการประกอบอาชีพและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เป็นของตนเองได้

3.มีบรรทัดฐานทางสังคม ระเบียบกฎเกณฑ์ (เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ) ในการควบคุมสมาชิก เพื่อทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
เมื่อมีการอยู่ร่วมกันจึงมีการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปโดยความราบรื่น แต่ท้ายที่สุด คนยังไงก็คือคนวันยังค่ำ คนในความหมายของทางศาสนา หมายถึงอะไรที่มีความวุ่นวาย ไม่ลงรอย เช่นนี้ การติดต่อในบางครั้งจึงไม่ได้เป็นไปโดยราบรื่นเกิดข้อพิพาทโต้แย้งระหว่างกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าตัวเองถูก ... แล้วอะไรจะเป็นที่ยุติว่า สิ่งนี้ถูก หรือ สิ่งนี้ผิด คำตอบก็คือ บรรทัดฐานทางสังคม ไงครับ

ไม่มีความคิดเห็น: