คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระบบกฎหมายโลก

ระบบกฎหมายโลก มี 2 ระบบได้แก่

1.ระบบจารีตประเพณี (Common Law System)

ระบบจารีตประเพณีมีกำเนิดมาจากอังกฤษ เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง (อย่าลืมว่าระบบจารีตประเพณีนั้นมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร) การพิจารณาคดีของศาลในระบบจารีตประเพณี มีลูกขุน (Jury) ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนผู้พิพากษา (Judge) จะทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายในระบบจารีตประเพณี กล่าวคือศาลเป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นจากการตัดสินคดีของศาล

ดังนั้นระบบกฎหมายนี้จึงให้ความสำคัญกับวิธีการพิจารณาคดีของศาลเป็นอย่างมากและถือเอาคำพิพากษาศาลสูงที่ได้พิจารณาคดีในเรื่องคล้ายคลึงกันหรือ แนวเดียวกันมาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในภายหลัง

ที่มาของกฎหมายในระบบจารีตประเพณีนั้น สามารถแยกพิจารณาออกเป็น 5 ประการ ดังนี้คือ

1.คำพิพากษาของศาล การยึดถือคำพิพากษาซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากจารีตประเพณี โดยนำมาเป็นแนวทางในการตัดสินคดีต่อๆ ไปที่มีข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน และตัดสินตามแนวทางเดียวกัน

2.จารีตประเพณี เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจึงเป็นที่ยอมรับของคนเป็นจำนวนมาก และจารีตประเพณีถือเป็นรากฐานอันสำคัญ ในระบบกฎหมายจารีตประเพณี

3.ศาสนา มีหลักเกณฑ์และคำสอนที่กล่าวไว้ในลักษณะเดียวกันว่าให้ทุกคนทำความดี ละเว้นความชั่ว และมนุษย์ในสังคมก็ได้พยายามปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาสืบต่อกันมาตามความเชื่อของตนเองและสังคมนั้นๆ จนกลายเป็นการนำหลักเกณฑ์ทางศาสนามากำหนดไว้ว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษเพื่อใช้ลงโทษผู้กระทำความผิด ศาสนาจึงเป็นที่มาของกฎหมายในระบบจารีตประเพณีอีกประการหนึ่ง

4.หลักความยุติธรรม กล่าวคือผู้พิพากษาสามารถตัดสินคดีต่างๆ โดยอาศัยหลักความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องยึดถือคำพิพากษาฎีกาเก่าๆ เป็นแนวในการตัดสินหรือไม่จำเป็นต้องตัดสินตามจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อแก้ไขความบกพร่องของ Common law เพราะการใช้หลักของจารีตประเพณีเป็นการยึดถือหลักการที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังนั้น เมื่อนำมาใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต การนำหลักจารีตประเพณีมาใช้บางครั้ง จึงไม่เหมาะสมและไม่เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม การใช้หลักความยุติธรรม นั้นก็เป็นการใช้ควบคู่ไปกับระบบจารีตประเพณี เพื่อให้ความเป็นธรรมมากขึ้นนั่นเอง

5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ความเห็นของนักนิติศาสตร์ก็สามารถเป็นที่มาของกฎหมายได้เช่นกัน หากเป็นความเห็นของบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการนิติศาสตร์ ทั้งนี้เป็นเพราะความเห็นเหล่านั้น ศาลเองก็อาจต้องนำไปพิจารณาและทำให้ผลการตัดสินคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

------------------------------------------------------------------------------------

2.ระบบลายลักษณ์อักษร หรือ ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)

เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย โดยผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ และวางหลักกฎหมายที่มีลักษณะทั่วไป สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ส่วนการพิจารณาคดีของศาลในประเทศที่ใช้ระบบลายลักษณ์อักษร นั้น จะมีผู้พิพากษาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น ไม่มีลูกขุน

ที่มาของกฎหมายในระบบประมวลกฎหมายนั้นมีที่มา 3 ประการคือ

1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะมีการบัญญัติขึ้นมาโดยมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ
1.1 รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดจะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมมิได้
1.2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่บัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราชบัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นตัวขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นต้น
1.3 พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์อันเกิดจากคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
1.4 พระราชกำหนด ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติ
1.5 พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร์ เป็นต้น
1.6 กฎกระทรวง เป็นกรณีที่รัฐมนตรีเป็นผู้ออกให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทกำหนดไว้ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
1.7 กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติ หรือข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น ที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

2.จารีตประเพณี ซึ่งก็คือสิ่งที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานแล้ว จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย เช่น การที่นักมวยขึ้นสังเวียน สาธารณชนย่อมเข้าใจว่านักมวยที่ขึ้นชก ไม่ได้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย คงเป็นเพราะเป็นจารีตประเพณีที่รู้สึกกันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย เป็นต้น

3.หลักกฎหมายทั่วไป ศาลจะเป็นผู้ค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอาจได้จากสุภาษิตกฎหมายต่างๆ เช่น หลักผู้ซื้อต้องระวัง เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ร้านเพื่อนบ้าน : NEIGHBOR
รับพิมพ์งาน เอกสารต่างๆ รายงาน Presentation แปลภาษาต่างๆ
ราคาถูกเป็นกันเอง อยากปรึกษา อกหัก รักคุด ตุ๊ดเมิน เชิญทางนี้ ^_^ ตอนนี้พี่กำลังรอรับยาอยู่ช่อง 4 อิอิ (ไม่เครียดนะไม่เครียด ยิ้ม ^_^)
https://www.facebook.com/pernban