คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด

เครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมคือ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด

สิทธิ
หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ หรือความสามารถในการที่จะกระทำการใดๆได้โดยมีกฎหมายรับรอง โดยไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น

หน้าที่
หมายถึง กิจที่ควรหรือต้องทำ เช่นหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้าที่ในการชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้เรียกร้องเป็นต้น
ความรับผิด หมายถึงความมีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้ หรือกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

สิทธิหน้าที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สิทธิ หน้าที่ทางเอกชน

คำว่า "สิทธิ" ตามกฎหมายเอกชน หมายถึง ความเป็นเจ้าของความมีอำนาจเหนือหรือความสามารถในการจัดการอย่างหนึ่งอย่างใด แบ่งออกเป็น

1. สิทธิเหนือทรัพย์สิน(ทรัพยสิทธิ) และ
2.สิทธิเหนือบุคคล(บุคคลสิทธิ) (ผู้เขียนจะอธิบายถึงทรัพยสิทธิและบุคคลสิทธิโดยละเอียดในภายหน้า)

ส่วนคำว่า "หน้าที่" ตามกฎหมายเอกชน หมายถึง ความผูกพันที่บุคคลจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคล หน้าที่นี้โดยปกติจะเป็นของคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นลูกหนี้ ซึ่งจะต้องทำการชำระหนี้โดยการกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ของตน

คู่กรณีบนความสัมพันธ์ของสิทธิทางเอกชน
คือ เอกชน กับ เอกชน อาจเรียกกฎหมายที่มีสิทธิทางเอกชนเป็นเครื่องมือในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนว่า กฎหมายเอกชน

ดังนั้น กฎหมายเอกชน (Private Law) คือ กฎข้อบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวพันทางกฎหมายระหว่างเอกชนด้วยกัน

ตัวอย่างกล่มกฎหมายเอกชน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บุคคล ทรัพย์ ครอบครัว มรดก นิติกรรม ละเมิด) เป็นต้น


2.สิทธิ หน้าที่ทางมหาชน

สิทธิ ตามกฎหมายมหาชน หมายถึง อำนาจหรือโอกาสที่มีการรับรองและคุ้มครองและมีทางเลือกว่าจะทำหรือไม่ก็ได้ ใช้ควบคู่กับคำว่า "เสรีภาพ" ซึ่งหมายถึง ความอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการรับรองหรือคุ้มครอง

สิทธิเสรีภาพที่กระทำโดยกฎหมายมหาชน เช่น สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในครอบครัว เกียรติยศชื่อเสียง ความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในเคหะสถาน เสรีภาพในการนับถือศาสนา

คำว่า "หน้าที่" ตามกฎหมายมหาชน หมายถึง สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ หมายถึง สิ่งที่ประชาชนต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นคนไทย อาทิ หน้าที่ป้องกันประเทศ หน้าที่รับราชการทหาร หน้าที่ในการเรียกภาษีอากร ฯลฯ เป็นต้น

คู่กรณีบนความสัมพันธ์ของสิทธิทางเอกชน
คือ รัฐ กับ เอกชน อาจเรียกกฎหมายที่มีสิทธิทางเอกชนเป็นเครื่องมือในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนว่า กฎหมายมหาชน

ดังนั้น กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎข้อบังคับที่กำหนดสภาพและฐานะของผู้ปกครอง อำนาจกับหน้าที่ของผู้ปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง คือ รัฐ กับ ผู้ถูกปกครอง (คือ พลเมือง)

ตัวอย่างกลุ่มกฎหมายมหาชน
กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแรงงาน กฎหมายวิธีพิจารณาความ กฎหมายที่ดินเป็นต้น

ข้อสังเกต
กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือรัฐและองค์การระหว่างประเทศ(เช่น องค์การสหประชาชาติ) กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นในรูปของจารีตประเพณี และมีพัฒนาการมาเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ สนธิสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น: