คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักดินแดน

ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา:หลักดินแดน

หลัก ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย

เช่นนายเอกยิงนายโทที่พาหุรัด นายเอกกระทำความผิดในราชอาณาจักร นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย

--------------------------------------------------------------------------

กรณีให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร

1.การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยขณะที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร

เช่นนายเอกยิงนายโทบนสายการบินไทยขณะที่อยู่เหนือน่านฟ้าเวียดนาม(สังเกตว่าอยู่นอกราชอาณาจักร) แต่ นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย เพราะ การกระทำความผิดบนอากาศยานไทยหรือเรือไทย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร

2.ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักร

เช่นนายเอก(คนไทย)ยิงนายโท(คนลาว) ขณะที่นายเอกอยู่จังหวัดหนองคาย ส่วนนายโทอยู่เวียงจันทร์เช่นนี้การกระทำของนายเอกส่วนหนึ่งได้เกิดในราชอาณาจักรไทย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย

3.ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร

เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้ผลของการกระทำของนายเอกได้เกิดในราชอาณาจักรไทย คือนายโทตาย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย

4.ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร

เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย แต่นายโทหลบทัน (ดังนั้นเป็นกรณี พยายามกระทำความผิด) เช่นนี้ถ้าเกิดเป็นผลสำเร็จคือนายโทหลบไม่ทัน แล้วตาย เห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดในราชอาณาจักรไทย กฎหมายให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย (นั่นก็คือพยายามฆ่า)

5. ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร

เช่นนายสอง(คนลาว) ได้ว่าจ้างให้ นายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ที่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้แม้การใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้นที่นอกราชอาณาจักร แต่ความผิดที่เกิดจากการใช้ได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้น กฎหมายให้ถือว่าการใช้ให้กระทำความผิดเกิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆนะคะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ รู้สึกว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ