*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
-
▼
2008
(54)
-
▼
สิงหาคม
(22)
- ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้สอบเข้าคณะนิติศาสตร์
- ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย (Ubi societas , i...
- บรรทัดฐานทางสังคม
- ความหมายของ "กฎหมาย"
- การตีความกฎหมาย
- การอุดช่องว่างของกฎหมาย
- การยกเลิกกฎหมาย
- ลำดับศักดิ์กฎหมาย
- สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด
- ระบบกฎหมายโลก
- ภาษาอังกฤษสำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
- เทคนิคการเขียนเรียงความและการย่อความ
- เทคนิคการทำข้อสอบ SAT
- ความหมายของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
- การแบ่งประเภทกฎหมายในมุมมองของหลักศีลธรรม
- เกริ่นนำ: กฎหมายอาญา
- Nullum crimen nulla poena sine lege
- หลักการพื้นฐานอำนาจอธิปไตย (Sovereignty)
- ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา
- ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักดินแดน
- ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักบุคคล
- ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักความผิดสากล
-
▼
สิงหาคม
(22)
วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ลำดับศักดิ์กฎหมาย
กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมายลำดับรองลงมา โดยที่
1.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
2.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้
3.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า
ลำดับศักดิ์กฎหมายสามารถเรียงได้ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
คือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้กำหนดการจัดระบบการปกครองของประเทศ และรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนหรือพลเมืองเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายต่างๆที่บัญญัติขึ้นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นกรอบหรือแนวทาง นั่นหมายความว่าการพัฒนาการของรัฐจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญถือว่าใช้ไม่ได้ หรือไม่มีผลบังคับใช้
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ไม่สามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงต่างออกไปจากพระราชบัญญัติทั่วไปเนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญและไม่สามารถบัญญัติรายละเอียด ในประเทศฝรั่งเศส พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป (แต่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ) เนื่องจากมีกระบวนการตราที่ต่างออกไป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้วางหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป
ข้อสังเกต ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติทั่วไปมีลำดับศักดิ์เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการตราที่เหมือนกัน สามารถดูรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมที่ คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 2-5/2550
3.พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด (อยู่ลำดับเดียวกัน)
3.1.การตราพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
1.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และโดยปกติแล้วจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข้อสังเกต: ประมวลกฎหมายคืออะไร
ประมวลกฎหมายคือการรวบรวมกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน คล้ายกันหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีจำนวนหลายฉบับ จึงได้รวบรวมกฎหมายเหล่านี้ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเดียวกัน มีข้อความหรือบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการนำมาศึกษา ค้นคว้า นำมาใช้นำมาปรับปรุงแก้ไข ง่ายต่อการตีความวินิจฉัยในการตัดสินคดีความ
3.2.การตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหาร ให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนดในกรณีดังกล่าว ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
แต่คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า (เพราะสถานะที่แท้จริงของพระราชกำหนดคือพระราชบัญญัติ ดังนั้นกระบวนการตรากฎหมายดังกล่าวต้องผ่านองค์กรที่มีอำนาจเท่านั้น นั่นก็คือรัฐสภา) ดังนั้นต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาผู้แทนฯ อีกครั้ง เพื่อให้สภาผู้แทนฯ พิจารณาว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดให้มีผลบังคับได้เทียบเท่าพระราชบัญญัติต่อไปหรือไม่ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือ สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
ข้อสังเกต
ตามมาตรา 185 รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ได้วางหลักการว่า การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งมีสาระดังนี้
ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนดนั้นไม่มีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เป็นกรณีที่รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภา
ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย
หากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด เห็นว่าพระราชกำหนดดังกล่าวนั้น รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาจริง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น
4.พระราชกฤษฎีกา
คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยแบ่งเป็น 2ประเภท
ประเภทแรกคือพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายในรายละเอียด พระราชกฤษฎีกาในลักษณะนี้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสหการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
พระราชกฤษฎีกาอีกประเภทหนึ่ง คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดระเบียบการบริหารราชการหรือแบบพิธีบางอย่าง หรือเรื่องที่สำคัญบางเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
5.กฎกระทรวง
คือ กฎหมายลูกบทที่ออกโดยรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา)
6.กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบังคับตำบล เป็นต้น
1.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
2.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้
3.กฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า
ลำดับศักดิ์กฎหมายสามารถเรียงได้ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
คือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้กำหนดการจัดระบบการปกครองของประเทศ และรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนหรือพลเมืองเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายต่างๆที่บัญญัติขึ้นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นกรอบหรือแนวทาง นั่นหมายความว่าการพัฒนาการของรัฐจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญถือว่าใช้ไม่ได้ หรือไม่มีผลบังคับใช้
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญของรัฐธรรมนูญแต่ไม่สามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงต่างออกไปจากพระราชบัญญัติทั่วไปเนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญและไม่สามารถบัญญัติรายละเอียด ในประเทศฝรั่งเศส พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป (แต่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ) เนื่องจากมีกระบวนการตราที่ต่างออกไป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้วางหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป
ข้อสังเกต ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติทั่วไปมีลำดับศักดิ์เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการตราที่เหมือนกัน สามารถดูรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมที่ คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 2-5/2550
3.พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด (อยู่ลำดับเดียวกัน)
3.1.การตราพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
1.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และโดยปกติแล้วจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
เมื่อร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข้อสังเกต: ประมวลกฎหมายคืออะไร
ประมวลกฎหมายคือการรวบรวมกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ตราขึ้นใช้บังคับ มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน คล้ายกันหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีจำนวนหลายฉบับ จึงได้รวบรวมกฎหมายเหล่านี้ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเดียวกัน มีข้อความหรือบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการนำมาศึกษา ค้นคว้า นำมาใช้นำมาปรับปรุงแก้ไข ง่ายต่อการตีความวินิจฉัยในการตัดสินคดีความ
3.2.การตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหาร ให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนดในกรณีดังกล่าว ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
แต่คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า (เพราะสถานะที่แท้จริงของพระราชกำหนดคือพระราชบัญญัติ ดังนั้นกระบวนการตรากฎหมายดังกล่าวต้องผ่านองค์กรที่มีอำนาจเท่านั้น นั่นก็คือรัฐสภา) ดังนั้นต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาผู้แทนฯ อีกครั้ง เพื่อให้สภาผู้แทนฯ พิจารณาว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดให้มีผลบังคับได้เทียบเท่าพระราชบัญญัติต่อไปหรือไม่ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือ สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
ข้อสังเกต
ตามมาตรา 185 รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ได้วางหลักการว่า การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจากศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งมีสาระดังนี้
ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนดนั้นไม่มีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เป็นกรณีที่รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภา
ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย
หากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด เห็นว่าพระราชกำหนดดังกล่าวนั้น รัฐบาลต้องการตราพระราชกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาจริง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น
4.พระราชกฤษฎีกา
คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยแบ่งเป็น 2ประเภท
ประเภทแรกคือพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายในรายละเอียด พระราชกฤษฎีกาในลักษณะนี้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสหการซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
พระราชกฤษฎีกาอีกประเภทหนึ่ง คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดระเบียบการบริหารราชการหรือแบบพิธีบางอย่าง หรือเรื่องที่สำคัญบางเรื่องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
5.กฎกระทรวง
คือ กฎหมายลูกบทที่ออกโดยรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา)
6.กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบังคับตำบล เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ดีมากค่ะ
ทำหัวข้อต่อไปเรื่อยๆนะค่ะ
แสดงความคิดเห็น