คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่9)

การกระทำโดยประมาทเป็นความผิดได้หรือไม่

เมื่อกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท”

ดังนั้น บุคคลใดจะต้องรับผิดทางอาญาจะต้องปรากฏว่า บุคคลนั้นกระทำโดยเจตนา ไม่ว่าเจตนาตามความเป็นจริง(เจตนาประสงค์หรือเล็งเห็นผล) หรือเจตนาโดยผลของกฎหมาย(เจตนาโดยพลาด)

หากบุคคลนั้นกระทำโดยประมาท โดยปกติแล้วไม่ต้องรับผิดทางอาญา เช่นประมาททำให้เสียทรัพย์ อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทเช่น ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือ ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสเป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ บุคคลนั้นต้องรับผิด แม้กระทำโดยประมาท

หลักของประมาทโดยสรุปคือ

การกระทำโดยมิได้เจตนาแต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีความระมัดระวังตามวิสัย และพฤติการณ์ ซึ่งระดับความระมัดระวังนั้นไม่อยู่นิ่งตายตัวขึ้นและลงตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์

เช่น ขณะที่นายเอกอยู่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง นายเอกได้หยิบปืนขึ้นมาทำความสะอาด ขัดถูไป ขัดถูมา ปรากฏว่าปืนลั่นไปถูกนายดำตาย และกระสุนยังแฉลบไปโดนนาฬิกาของบริษัท นาฬิกาสวย จำกัด เรือนละล้านบาท ทำให้นาฬิกาแตกละเอียด

ถามว่านายเอกมีการกระทำหรือไม่ ต้องตอบว่ามี เพราะว่า นายเอกหยิบปืนขึ้นมาทำความสะอาดโดยรู้สึก

แต่การกระทำนั้น ไม่มีเจตนา(ทั้งเจตนาประสงค์หรือเล็งเห็นผล)ที่จะทำให้นายดำตาย หรือไม่มีเจตนาทำให้นาฬิกาของบริษัท นาฬิกาสวย จำกัดแตก

แต่ความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำของนายเอกที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะวิสัย และพฤติการณ์เช่นเดียวกับนายเอกคงไม่นำปืนหยิบขึ้นมาขัดถูไปมาในขณะอยู่ที่ศูนย์การค้าซึ่งมีคนจำนวนมาก

ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่นายเอกไม่ต้องรับผิดประมาททำให้เสียทรัพย์เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

ไม่มีความคิดเห็น: