คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่7)

ก่อนที่จะอธิบายต่อ ผมขออธิบายเรื่องเดิมเน้นย้ำอีกครั้งว่า

บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ

โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างสอง การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
โครงสร้างสาม การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่า“โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา”

และตอนนี้ ... ผมได้อธิบายมาถึงโครงสร้างแรก

แต่ที่เคยบอกแล้วว่า โครงสร้างแรกนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

ผมได้อธิบายองค์ประกอบที่ 1 และ 2 แล้ว

------

ต่อไปผมจะอธิบายองค์ประกอบที่ 3 การกระทำนั้นต้องครบองค์ประกอบภายใน

องค์ประกอบภายใน ตามหลักกฎหมาย คือ เรื่องเจตนา ครับ

เจตนาตามกฎหมายอาญาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เจตนาตามความเป็นจริง คือเจตนาประสงค์ต่อผล, เจตนาย่อมเล็งเห็นผล

1.1 เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ทางตำราเรียกว่า “เจตนาโดยตรง” ประสงค์ต่อผลหมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผล ถ้าเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จ ถ้าผลไม่เกิดก็เป็นผิดพยายาม

ตัวอย่าง
แดงต้องการทำลายแจกันใบละล้านของนายเด่น แดงจึงแกล้งทำเป็นชนแจกันนั้นตกลงมาแตก เช่นนี้นายแดงเจตนาประสงค์ต่อการทำให้เสียทรัพย์ของนายเด่น

1.2 เจตนาเล็งเห็นผล “เจตนาโดยอ้อม” คือเล็งเห็นว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้

ตัวอย่าง
แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำซึ่งยืนติดกับขาวปืนที่ใช้เป็นปืนลูกซอง กระสุนถูกดำและแผ่กระจายไปถูกขาว ทั้งดำและขาว ตาย ในกรณีเช่นนี้เมื่อนายแดงต้องการฆ่าดำ นายแดงจึงมีเจตนาประเภทประสงค์ต่อผลต่อนายดำ แต่การฆ่านายดำโดยใช้ปืนลูกซองนั้น นายแดงย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนของปืนลูกซองจะต้องแผ่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแน่นอน นายแดงจึงมีเจตนาประเภทเล็งเห็นผลต่อนายขาว

ตัวอย่าง
นายแดงนั่งกินไวน์ราคาขวดละ 18 ล้านบาท ที่โต๊ะหินอ่อนหน้าบ้าน ขวดไวน์ตั้งอยู่ข้างหน้านายแดง นายแดงเห็นนายขาวและนายดำเดินผ่านมา ด้วยความสนิทกับนายขาว นายแดงจึงเรียกนายขาวดื่มไวน์เพียงคนเดียว นายดำจึงรู้สึกอิจฉามากที่ไม่ได้กินไวน์

นายดำจึงนำปืนลูกซองที่บ้านของตนมาซุ่มยิงขวดไวน์ทิ้ง แต่เมื่อยิงขวดไวน์แล้ว กระสุนกลับกระจายไปโดนนายแดงและนายขาวตายคาที่ เช่นนี้นายดำจึงมีเจตนาประเภทประสงค์ต่อทรัพย์ต่อนายแดง (ต้องการยิงขวดไวน์) แต่นายดำย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนของปืนลูกซองจะต้องแผ่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแน่นอน นายแดงจึงมีเจตนาประเภทเล็งเห็นผลต่อนายแดงและนายขาว

2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย คือการกระทำโดยพลาด
กฎหมายอาญาวางหลักว่า “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น”
โปรดสังเกตคำว่า “ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนา” ซึ่งอธิบายได้ว่า ที่จริงแล้วการกระทำเช่นนี้ไม่เป็นเจตนาเพราะการพิจารณาว่าบุคคลใดกระทำโดยเจตนาหรือไม่ให้พิจารณาว่าบุคคลนั้นกระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเจตนาย่อมเล็งเห็นต่อผล แต่เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ที่ได้รับผลร้าย กฎหมายจึงให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนา จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น “เจตนาโดยผลของกฎหมาย”

ตัวอย่างประกอบการพิจารณาเรื่องเจตนาโดยพลาด

กรณีที่ 1.

นายแดงซุ่มยิงนายขาว เมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืน แต่ด้วยความโชคร้าย นายขาวหลบไม่ทัน กระสุนกลับไปเฉี่ยวไปถูกหน้าอกของนายขาว นายขาวตายคาที่ และกระสุนได้แฉลบไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ ตายคาที่เช่นกัน เช่นนี้ นายแดงกระทำความผิดฐานฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผล ส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น ดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วย ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่า นายแดงต้องรับผิดฐานฆ่านายดำโดยพลาด

กรณีที่ 2.

นายแดงซุ่มยิงนายขาว เมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืน แต่ด้วยความช่างสังเกตของนายขาว นายขาวหลบทัน แต่กระสุนกลับไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวตาย เช่นนี้ นายแดงกระทำความผิดฐานพยายามฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผล ส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น ดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วย ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่า นายแดงต้องรับผิดฐานฆ่านายดำโดยพลาด

กรณีที่ 3.

นายแดงซุ่มยิงนายขาว เมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืน นายขาวหลบไม่ทัน กระสุนกลับไปเฉี่ยวไปถูกหน้าอกของนายขาว นายขาวตายคาที่ แต่กระสุนกลับไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้ นายแดงกระทำความผิดฐานฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผล ส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือ เล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น ดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วย ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่า นายแดงต้องรับผิดฐานพยายามฆ่า(เพราะไม่ตายเพียงได้รับบาดเจ็บเท่านั้น)นายดำโดยพลาด

ข้อสังเกต

1.ปกติแล้ว การกระทำโดยพลาดจะมีบุคคล 3 ฝ่าย
1.1.บุคคลที่กระทำความผิด (นายแดง)
1.2.ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว)
1.3.ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ)

2.บุคคลที่กระทำความผิด (นายแดง) ต้องการจะกระทำความผิดต่อ ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) เท่านั้น แต่ผลของการกระทำดังกล่าว ไปเกิดแก่ ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ด้วย

3.ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) อาจได้รับผลร้ายเท่ากับ ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ก็ได้ เช่นกรณีที่ 1

4.ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) อาจได้รับผลร้ายน้อยกว่า ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ก็ได้ เช่นกรณีที่ 2

5.ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) อาจได้รับผลร้ายมากกว่า ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ)ก็ได้ ดังเช่นกรณีที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น: