คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่4)

จากที่เคยกล่าวมาแล้วว่า การกระทำแบ่งออกเป็นการกระทำที่เคลื่อนไหวร่างกายและการกระทำที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้นสามารถแบ่งออกเป็น การงดเว้น และ การละเว้น

เพื่อให้มีความเข้าใจในเรื่องงดเว้นและการละเว้นมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างประกอบความเข้าใจเรื่อง งดเว้น และ ละเว้น ดังนี้ครับ

ข้อเท็จจริง

นางโทพาเด็กชายแดงมาหัดว่ายน้ำกับนายอ้วนที่สระว่ายน้ำหรูกลางใจเมือง มีนายวันเป็นผู้คุมสระ นายวันได้รับจ้างจากนายเอกซึ่งเป็นแฟนเก่าของนางโท โดยนายเอกใช้ให้นายวันฆ่านางโทและเด็กชายแดง ในวันนั้นมีนักกีฬาโอลิมปิกชื่อนายปลาเข้ามาฝึกซ้อมว่ายน้ำด้วย อีกทั้งยังมีเด็กชายแก้ววัย 15 ขวบมาหัดว่ายน้ำด้วย

ระหว่างที่เด็กชายแดงรอนายอ้วนมาหัดว่ายน้ำให้ตน เด็กชายแดงได้ขออนุญาตนางโทผู้เป็นแม่ลงไว้ว่ายน้ำสระเด็กก่อน นางโทได้อนุญาตให้เด็กชายแดงไปว่ายน้ำ ระหว่างที่เด็กชายแดงว่ายน้ำอยู่ได้พลัดเข้าไปในสระผู้ใหญ่ เด็กชายแดงตกใจมาก จึงกระเสือกกระสนเข้าขอบสระ แต่เกิดเป็นตะคริวขึ้นมา และจมน้ำตาย

กรณีมีผู้ใดต้องรับผิดอย่างไรบ้าง ถ้า
1.เด็กชายแดงตะโกนร้องให้ช่วยแต่นางโทคิดว่าถ้าเด็กชายแดงตายไปซะตนจะได้ไม่ต้องมีภาระเลี้ยงดู
2.นายวันเห็นเด็กชายแดงตะโกนร้องให้ช่วย แต่นายวันคิดว่าถ้าเด็กชายแดงตายไป ตนจะได้ไม่เสียเวลาไปฆ่าทีหลัง
3.นายปลา และเด็กชายแก้วเห็นเด็กชายแดงตะโกนร้องให้ช่วย แต่ทั้งสองขี้เกียจช่วย เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตน

-------------------------------------------------------------------------------------
วินิจฉัย

หากสังเกตดูดี ๆ แล้วจะเห็นว่าไม่ว่านางโท นายวัน นายปลา หรือแม้แต่เด็กชายแก้วก็ตาม ไม่มีใครเคลื่อนไหวเลยสักคน ท่านจึงอาจเกิดคำถามว่าแล้วเช่นนี้ต้องรับผิดด้วยหรือ แต่ท่านอย่าลืมนะครับ การกระทำนั้นแบ่งออกเป็นการกระทำโดยเคลื่อนไหวร่างกาย และการกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย

เนื่องจากนางโทอยู่ในฐานะมารดา ซึ่งตามกฎหมายมารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ เมื่อนางโทไม่ดูแลลูกชายของทำให้เด็กชายจมน้ำตาย นางโทจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยงดเว้นการกระทำ

กรณีของนายวันได้ทำสัญญาจ้างคนดูแลสระว่ายน้ำ ผู้ดูแลสระมีหน้าโดยเฉพาะที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้มาใช้บริการ การที่นายวันไม่ลงไปช่วย นายวันจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยงดเว้นการกระทำ

ส่วนนายปลา ผู้เข้ามาใช้บริการ ไม่มีความสัมพันธ์พิเศษใด ๆ กับเด็กชายแดง กรณีที่นายปลาไม่ช่วยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยงดเว้นการกระทำ อย่างไรก็ตาม นายปลาเป็นนักกีฬาโอลิมปิกซึ่งสามารถที่จะช่วยเด็กชายแดงได้แต่ไม่ยอมช่วย เช่นนี้ นายปลาไม่ทำตามหน้าที่อันพลเมืองดีจักต้องทำเป็นหน้าที่โดยทั่วไป นายปลาจึงต้องรับผิดฐานละเว้นการกระทำหน้าที่พลเมืองดี ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ

เด็กชายแก้วไม่ต้องรับผิดฐานละเว้น แม้ว่าหน้าที่พลเมืองดี กำหนดให้ทำ แต่ก็ไม่ได้เป็นการบังคับทุกคน หน้าที่ดังกล่าว กำหนดให้เป็นความผิดเฉพาะกรณีที่ช่วยได้แต่ไม่ช่วย กรณีเด็กชายแก้วเพิ่งมาหัดว่ายน้ำ จึงยังว่ายน้ำไม่เป็น หากเด็กชายแก้วลงไปช่วย เด็กชายแก้วต้องตายไปด้วยอีกคนแน่

สำหรับเรื่องที่นายเอกต้องรับโทษหรือไม่นั้น จะต้องอาศัยความรู้กฎหมายเรื่องอื่นที่มีความซับซ้อนลงไปอีก ผมไม่ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: