คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่8)

จากโครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่7) สามารถสรุปได้ว่า เจตนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.เจตนาตามความเป็นจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1.เจตนาโดยประสงค์ต่อผล
1.2.เจตนาย่อมเล็งเห็นผล
2.เจตนาโดยผลของกฎหมาย หรือเรียกว่า เจตนาโดยพลาด

-----------------------------------------------------------------------------------

หลักต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ
“ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้”

อาจสรุปเป็นหลักสั้น ๆ ได้ว่า

“ไม่รู้(องค์ประกอบภายนอกของความผิด) ไม่มีเจตนา”

กรณีที่ 1. นายเอกไปซ้อมยิงปืนที่ป่าช้าแห่งหนึ่ง โดยใช้โลงศพเก่ามาทำเป็นเป้ายิงปืน เมื่อนายเอกเริ่มซ้อมยิงปืน ปรากฏว่ามีสับปะเหร่อนอนอยู่ในนั้น กระสุนของนายเอกจึงไปถูกสัปเหร่อตายคาที่ เช่นนี้ นายเอกไม่รู้ว่าข้างในนั้นเป็นคน จึงไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการฆ่าผู้อื่น จึงเป็นกรณีที่นายเอกมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด ดังนั้นจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ นายเอกจึงไม่มีเจตนา เมื่อนายเอกไม่มีเจตนาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญา

กรณีที่ 2. นายเอกเข้าไปบ้านนายโทเพื่อร่วมฉลองงานวันเกิดของนายโท ระหว่างที่นายเอกเต้นนั้น นายเอกทำแหวนตก ตอนใกล้เวลากลับบ้าน นายเอกรู้ตัวว่าทำแหวนตกจึงรีบทำการค้นหา แต่นายเอกพบแหวนของนายโทวางอยู่ นายเอกคิดว่าเป็นของตน จึงหยิบเอามา เช่นนี้ นายเอกไม่รู้ว่าแหวนนั้นเป็นของผู้อื่น (นายเอกคิดว่าเป็นของตน) จึงไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการลักทรัพย์ของผู้อื่น จึงเป็นกรณีที่นายเอกมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด(ฐานลักทรัพย์) ดังนั้นจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ นายเอกจึงไม่มีเจตนา เมื่อนายเอกไม่มีเจตนาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญา

ไม่มีความคิดเห็น: