คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่3)

การกระทำอาจแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1.การกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย แบ่งออกเป็น

1.1.การกระทำโดยตรง
1.1.1.กระทำความผิดเอง
เช่น นายเอกได้ยิงนายแดง

1.1.2.กระทำผ่านบุคคลที่ไม่มีการกระทำ
เช่น นายเอกผลักนายโทที่ถือมีดไปแทงนายดำ กรณีนี้จะเห็นได้ว่านายโทถูกผลัก การที่นายโทเคลื่อนไหวจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การรู้สำนึก การที่นายดำตาย นายโทจึงไม่ต้องรับผิดเนื่องจากไม่มีการกระทำ แต่นายเอกต้องรับผิดเพราะนายเอกได้กระทำความผิดผ่านบุคคลที่มีการกระทำ

1.1.3.กระทำผ่านสัตว์
เช่น นายเอกสั่งให้หมาของตนไปกัดนายแดง

1.2.กระทำโดยอ้อม
1.2.1.กระทำผ่านบุคคลที่มีการกระทำ (บุคคลที่มีการกระทำในกรณีนี้ไม่มีความชั่ว)
เช่น นายเอกหลอกให้นายดำหยิบกระเป๋าของนายโดที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ โดยนายเอกอ้างว่าเป็นของตน นายดำเชื่อตามที่นายเอกอ้าง จึงหยิบให้กรณีนี้จะเห็นได้ว่านายดำมีการกระทำคือการหยิบ แต่การกระทำของนายดำไม่มีความชั่ว ในทางกฎหมายเรียกว่า Innocent Agent กล่าวคือนายดำไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ นายดำจึงไม่ต้องรับผิด ส่วนนายเอกผู้ที่หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิดต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ โดยเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม

1.2.2.กระทำโดยการใช้ (ผู้ใช้/ผู้ถูกใช้ )
เช่น นายเอกจ้างให้นายดำหยิบกระเป๋าของนายโดที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ นายดำได้ค่าจ้าง 800 บาท กรณีนี้จะเห็นได้ว่านายดำมีการกระทำคือการหยิบ และการกระทำของนายดำมีความชั่ว กล่าวคือนายดำทราบว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ นายดำจึงต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ถูกใช้ให้กระทำผิด ส่วนนายเอกผู้ที่ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ ฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิด

....................................................................................

2.การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย แบ่งออกเป็น

2.1.งดเว้นการกระทำ
การกระทำโดย “งดเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ
1.เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
2.ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ ซึ่งเป็นหน้าที่ซึ่งต้องกระทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้นนั้น

2.2.ละเว้นการกระทำ
การกระทำโดย “ละเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ
1.เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
2.ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป

สรุป การกระทำโดยงดเว้น/ละเว้น ต่างกันตรงหน้าที่
- หน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป (GENERAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่ถือเป็นการกระทำโดยละเว้น
พูดอีกอย่างได้ว่า“ละเว้น”เป็นกรณีที่บัญญัติไว้เพื่อเป็นหน้าที่พลเมืองดี เมื่อเห็นผู้ใดตกในอันตราย หากสามารถช่วยได้ต้องช่วย ซึ่ง“ละเว้น” นั้นเป็นความผิดลหุโทษ (ความผิดลหุโทษคือความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

- หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล (SPECIAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่เป็นการกระทำโดยงดเว้น

หน้าที่โดยเฉพาะของการกระทำโดยงดเว้นมี 4 ประเภทคือ

1.หน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1563 บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1564 บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1461 สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน

2.หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง
ผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การยอมรับก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามที่ตนยอมรับ
เช่น การเข้าทำสัญญาจ้างคนดูแลสระว่ายน้ำ ผู้ดูแลสระมีหน้าโดยเฉพาะที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้มาใช้บริการ

3.หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตน
ถ้าการกระทำของผู้กระทำน่าจะก่อให้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้กระทำย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกันภยันตรายนั้น
เช่น A เห็นคนตาบอดข้ามถนนเลยไปช่วย แต่พอพาไปกลางถนนรถเมล์มา A เลยวิ่งไปขึ้นรถทิ้งคนตาบอดไว้ ขาวขับรถมาชนถูกคนตาบอดตาย

4.หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษ
เช่น หลานไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะ ป้า แต่ถ้าป้าคนนั้นเป็นคนเลี้ยงดูหลานมาแต่เด็กให้อาหารกิน ให้การศึกษาอบรม ภายหลังป้าแก่ตัวลงหลานไม่เลี้ยงดูปล่อยให้ป้าอดตาย อาจถือว่าหลานฆ่าป้าก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: