คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่น่าสนใจครับ

 ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่น่าสนใจครับ ให้ 4 ดาวเลย ^^

หลักกฎหมาย

1. บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
1.2  ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้

ข้อสรุปที่ (1) นายเอกได้ทำร้ายร่างกายเด็กชายโท นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมายของเด็กชายโทจึงสามารถดำเนินคดีแทนเด็กชายโทได้

ข้อสรุปที่ (2) นายเอกได้ทำร้ายร่างกายนายโทซึ่งอายุ 23 ปี จนบาดเจ็บสาหัส นอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมายของนายโทจึงสามารถดำเนินคดีแทนนายโทได้

ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
ก. ข้อสรุปที่ (1) และ (2) ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ข. ข้อสรุปที่ (1) เท่านั้น ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ค. ข้อสรุปที่ (2) เท่านั้น ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ง. ไม่มีข้อสรุปใดถูกต้อง

คำตอบ

ตามหลักกฎหมายข้อที่ 1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลจะจัดการแทนผู้เสียหายได้ เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมายนั้นหมายถึง (1) บิดา มารดา ตามกฎหมาย  (2) ผู้ปกครอง และ (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่นายเอกได้ทำร้ายร่างกายเด็กชายโทซึ่งเป็นผู้เยาว์  นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมาย ซึ่งมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายโท จึงสามารถดำเนินคดีแทนเด็กชายโทได้ ข้อสรุปที่ 1 จึงถูกต้อง

ตามหลักกฎหมายข้อที่ 1.2 ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะจัดการแทนผู้เสียหายได้ เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ บุพการีในที่นี้หมายถึง บิดามารดาตามความเป็นจริงเท่านั้น ดังนั้น นายตรี แม้จะเป็นผู้รับบุญธรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่บุพการีของนายโท จึงไม่สามารถดำเนินคดีแทนนายโทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้ ข้อสรุปที่ 2 จึงไม่ถูกต้อง

ตอบข้อ ข ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: