คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ ตอนที่ 1 การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆียะ

นิติกรรมเป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มแรกและสมบูรณ์อยู่ต่อไปจนกว่าจะถูกบอกล้างให้สิ้นผล

ถ้าบอกล้างโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจะทำให้ นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม

แต่ถ้านิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้มีการให้สัตยาบันแล้ว นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกเช่นกัน นิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นโมฆียะนั้นเรียกว่าโมฆียกรรม

เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะเกิดจากความสามารถบกพร่องของบุคคลและการแสดงเจตนาของบุคคลในการเข้าทำนิติกรรมอันได้แก่ นิติกรรมที่มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความสามารถของบุคคล การแสดงเจตนาสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลและทรัพย์สิน การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ การแสดงเจตนาของบุคคลวิกลจริต เป็นต้น


การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆียะ



1.สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน

หลักกฎหมายกำหนดว่าการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ

คำว่า คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ตามปกติไม่ได้หมายความแต่เพียงรูปร่าง เนื้อตัวแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงคุณสมบัติทั้งหลายที่มีผลกระทบถึงความเชื่อถือ กระทบถึงคุณค่าแห่งบุคคลหรือทรัพย์สินอันถือว่าคุณสมบัติเป็นสำคัญ การแสดงเจตนาได้แสดงถูกต้องแต่สำคัญผิดในคุณสมบัติ

เช่น นายดำเจตนาจ้างนายแดงมาสร้างบ้านเป็นตึก ปรากฏว่า นายแดงเป็นช่างสร้างบ้านจริง แต่สร้างได้เฉพาะบ้านไม้ หรือนายดำต้องการซื้อม้าชื่อดาวคะนอง เพราะทราบว่าวิ่งเร็วมาก และได้ซื้อม้าชื่อดาวคะนองตามที่ตั้งใจไว้ แต่ปรากฏว่าม้าดาวคะนอง ไม่เคยวิ่งแข่งขันเลย



2.การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลย่อมตกเป็นโมฆียะ

คำว่ากลฉ้อฉลคือการใช้อุบายหลอกลวงให้อีกฝ่ายหนึ่งหลงผิดหรือเข้าใจผิดจะเป็นโดยกล่าวเท็จหรือปกปิดความจริง เพื่อให้เขาหลงเชื่อเข้าทำนิติกรรมด้วย หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือการหลอกลวงให้เขาสำคัญผิดแล้วเข้าทำนิติกรรมด้วย

อนึ่ง ข้อแตกต่างระหว่างสำคัญผิดกับกล ฉ้อฉลอยู่ที่ว่าถ้าผู้แสดงเจตนาวิปริตเข้าทำนิติกรรมด้วยตัวเขาเองเรียกว่า สำคัญผิดแต่ถ้ามีบุคคลมาหลอกลวงให้ผู้แสดงเจตนาสำคัญผิดเข้าทำนิติกรรมเรียกว่า กลฉ้อฉล

เช่นนายเอกหลอกลวงนายโทให้ซื้อเครื่องปั่นไฟ แต่ที่จริงเป็นเพียงไฟฉายธรรมดา นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการหลอกลวงของนายเอก สัญญาตกเป็นโมฆียะ



3.การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ หลักกฎหมายกำหนดว่าการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะทำให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้นลักษณะการข่มขู่ที่จะทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะมีได้ 2 ประการ คือ

(1) ภัยที่ข่มขู่ต้องเป็นภัยใกล้จะถึง เช่น ผู้ข่มขู่ถือมีดเข้ามาใกล้ประชิดตัว

(2) ภัยที่ข่มขู่ต้องร้ายแรงถึงขนาด เช่น เมื่อผู้ข่มขู่เข้ามาใกล้ประชิดตัวแล้วยังใช้มีดจ่อที่คอ พร้อมพูดว่า ถ้าไม่ลงลายมือชื่อในสัญญาจะเอามีดแทงคอให้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว จึงยอมลงลายมือชื่อในสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น: