*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การพระราชทานอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการลบล้างมลทิน
การพระราชทานอภัยโทษ
(Pardon or Grace)
การให้อภัยในโทษที่กำลังได้รับอยู่ การอภัยโทษจะเป็นการยกโทษให้ทั้งหมดคือไม่ต้องรับโทษที่ยังมีอยู่อีกต่อไปหรือจะเป็นการลดโทษบางส่วนให้ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่กำลังรับโทษอยู่ การอภัยโทษใช้สำหรับกรณีคดีถึงที่สุดแล้วและบุคคลกำลังได้รับโทษอยู่
การยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือลดหย่อนผ่อนโทษลงไปแก่นักโทษผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้รับโทษนั้นโดยยังถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดและเคยต้องคำพิพากษา
การนิรโทษกรรม
(Amnesty)
การทำสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ผลก็คือผู้ที่ทำผิดแล้วได้รับนิรโทษกรรมจะถือว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ที่ทำผิดและไม่ต้องได้รับโทษ
การที่กฎหมายไม่ถือว่าการกระทำบางการกระทำเป็นความผิดและโทษซึ่งเป็นผลสำหรับการนั้นไม่จำเป็นต้องถูกนำมาบังคับใช้ซึ่งตามปกติการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด หรือเป็นการยกโทษให้ทั้งหมด
ทั้งถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้เคยต้องโทษนั้นมาเลยคือให้ลืมความผิดนั้นเสีย
การลบล้างมลทิน
การลบล้างมลทินที่มีอยู่อันเนื่องมาจากการได้รับโทษเป็นการยกเลิกประวัติที่เคยได้รับโทษให้หมดไป
ผลของบทบัญญัติกฎหมายล้างมลทิน คือ ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวซึ่งถูกลงโทษและได้รับโทษจนพ้นโทษไปแล้วนั้น ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งลงโทษ เท่ากับไม่เคยมีมลทิน ทั้งนี้ กระบวนการออกคำสั่งลงโทษต้องครบขั้นตอนและมีผลบังคับแล้ว เช่น คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้วโดยไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา หรือแม้จะครบขั้นตอนการออกคำสั่ง/คำพิพากษา แต่ถ้าผู้ที่ถูกลงโทษไม่ยอมรับโทษเพราะหลบหนี ไม่ว่าก่อนหรือในระหว่างถูกลงโทษ ย่อมมิใช่ผู้ที่อยู่ในข่ายของการล้างมลทินจะกล่าวอ้างขอรับผลของกฎหมายล้างมลทินไม่ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น