*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การระดมทุนประชาชน (Public Fund Raising) ผ่านตลาดทุน (The Capital Market) - กฎหมายหลักทรัพย์
ในการระดมทุนจากประชาชนในตลาดทุน (Capital Market) เป็นลักษณะของการระดมทุนโดยระยะยาวซึ่งปกติจะเกินกว่า 1 ปี ในตลาดทุนนั้นจะไม่มีสถาบันทางการเงินที่ทำหน้าที่เป็นสถาบันตัวกลาง intermediary เหมือนดังเช่นตลาดเงิน โดย Investor หรือแหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) สามารถเข้าถึงเจ้าของเงิน (Source of fund) ได้โดยตรง โดยในประเทศพัฒนาแล้วตลาดทุนจะมีบทบาทสำคัญในการระดมทุนของประชาชน
โดยเจ้าของเงิน (Source of fund) หรือภาคประชาชน (Public) นั้น มีดังนี้
1. เงินออมของประชาชน
2. เงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3. บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย
4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
6. กองทุนประกันสังคม
7. เงินของวัด
8. เงินของมูลนิธิ
9. เงินของสหกรณ์
10. กองทุนรวม
การระดมทุนประชาชน (Public Fund Raising) ผ่านตลาดทุน (The Capital Market) ในหลักกฎหมายประเภทแห่งกิจการ (Corporate Law) หมายถึง การพิจารณาว่าประเภทกิจการใดบ้างที่อยู่ในตลาดทุน (The Capital Market) ซึ่งสามารถระดมทุนของประชาชนเพื่อนำมาลงทุนได้ ซึ่งตามกฎหมายของไทยได้แบ่งประเภทแห่งกิจการในการระดมทุนในตลาดทุนดังนี้
1. Limited Company
2. Public Company Limited
3. SOEs
4. Government and related Agency
5. Mutual Fund
ในการระดมทุนจากประชาชนโดยตลาดทุน (Capital Market) นั้นจะการออกตราสารทางการเงิน (Securities Instrument) หรือ หลักทรัพย์ (Securities) ทั้งที่เป็นตราสารทุนและตราสารหนี้ ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้ระดมทุนจากประชาชนในตลาดทุน (Capital Market) โดยแยกพิจารณาทั้งในส่วนทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) และทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts) ได้ดังนี้
1. ทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities)
โดยทฤษฎีส่วนของทุน มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. Ownership
โดยการระดมทุนของส่วนของทฤษฎีส่วนทุนนั้น ทำให้ผู้ที่ถูกระดมเงินซึ่งเป็นเจ้าของเงินมีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้นด้วย
2. Voting right
เมื่อมีความเป็นเจ้าของแล้วย่อมมีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและมีสิทธิลงคะแนนออกเสียงสำหรับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท ทั้งนี้จะเข้าประชุมและออกเสียงด้วยตนเองหรือโดยมอบฉันทะ (Proxy) ก็ย่อมได้
3. Dividend
เมื่อผู้ที่ถูกระดมเงินซึ่งเป็นเจ้าของเงินอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นย่อมมีสิทธิได้รับเงินปันผล (Dividend) ตามกฎหมาย
4. Capital gain/loss (Asset participation)
สิ่งสำคัญที่สุดในการมีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้นด้วยก็คือ การมีส่วนร่วมในทรัพย์สินของกิจการ (Asset participation) ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการจะไม่ได้รับต้นทุนคือจนกว่าจะมีการเลิกกิจการ ทั้งนี้ Capital gain/loss จะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการชำระบัญชี (Liquidation) แล้ว
ตัวอย่างตราสารในทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) ที่ออกโดยตลาดทุน (Capital Market)
1. Common Stock
2. Preferred Stock
2. ทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts)
โดยการระดมทุนของส่วนของทฤษฎีแห่งหนี้นั้น ทำให้ผู้ที่ถูกระดมเงินอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ โดยทฤษฎีแห่งหนี้ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. Principal
Principal ก็คือเงินต้นที่ผู้ที่ถูกระดมเงินนำมาซื้อตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ และเมื่อมีการซื้อตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ซึ่งมีลักษณะตามทฤษฎีแห่งหนี้แล้วจะมีผลทำให้ผู้ซื้อตราสารนั้นกลายเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
2. Interest
ในตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์จะมีการกำหนดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเสมือนค่าตอบแทน
3. Maturity
หมายความถึงอายุการไถ่ถอนตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อไถ่ถอนแล้วก็จะได้ต้นเงิน (Principal) พร้อมดอกเบี้ย (Interest)
4. Non ownership
เมื่อไม่ใช่ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น
5. Non Voting Right
เมื่อไม่มีส่วนในความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น จึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมหรือออกเสียง
ตัวอย่างตราสารในทฤษฎีแห่งหนี้ (Theory of Debts) ที่ออกโดยตลาดทุน (Capital Market) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตราสารหนี้ระยะยาวทั้งสิ้น
1. Gov Bond
2. SOE Bond
3. Debenture หุ้นกู้
หากพิจารณาแยกเป็นรายสภาพแห่งกิจการตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้น สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. Limited Company
ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ
ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้
2. Public Company Limited
ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ
ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้
3. SOEs
แยกพิจารณาดังนี้
3.1 SOE – Limited Company
ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ
ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้
3.2 SOE – Public Company Limited
ตราสารทุน – การออกหุ้นสามัญ
ตราสารหนี้ – การออกหุ้นกู้
3.3 SOE – พรบ จัดตั้ง
ตราสารทุน – ไม่สามารถออกหุ้นสามัญได้ ตามทฤษฎีทุนประเดิม (Endowment)
ตราสารหนี้ – การออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
3.4 SOE – พรฎ จัดตั้ง
ตราสารทุน – ไม่สามารถออกหุ้นสามัญได้ ตามทฤษฎีทุนประเดิม (Endowment)
ตราสารหนี้ – การออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
4. Government and related Agency
อออกได้เฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น
5. Mutual Fund
กองทุนรวม คือ โครงการจัดการลงทุนที่ระดมทุนจากบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปและนำเงินดังกล่าวไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน เงินฝาก และทรัพย์สินอื่นๆ ที่กฎหมายอนุญาตให้ลงทุนได้ ทั้งนี้กองทุนรวมแต่ละประเภทจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสม กับความต้องการของผู้ลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของเงิน (Source of fund) โดยจะต้องพิจารณาตามความเสี่ยง และผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ
โครงสร้างของกองทุนรวมถูกกำหนดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ และผู้กำกับดูแล ทั้งที่เป็นองค์กรของ ภาคเอกชนและภาครัฐ ได้แก่
1.บริษัทจัดการ
ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลังเท่านั้น บริษัทจัดการเป็นผู้กำหนดโครงการกองทุนรวม นโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.
และต้องบริหารจัดการลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนนั้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทจัดการจะแจ้งนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ในการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบ ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่แจกจ่าย ให้แก่ผู้ลงทุนและ ผู้ที่สนใจลงทุนได้ศึกษาก่อนที่จะลงทุน
2.ผู้ดูแลผลประโยชน์
ผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นสถาบันการเงิน ที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์จะเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ทั้งมวลของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ดูแลให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบาย การลงทุนของโครงการลงทุน ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานก.ล.ต. และที่ได้จดแจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน ทำหน้าที่ชำระราคาค่าซื้อและรับชำระราคาจากการขายทรัพย์สิน เก็บรักษาทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม สอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้ถือหน่วยลงทุนหากบริษัทจัดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
3. ตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
ปัจจุบันบุคคลที่จะทำหน้าที่เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. เท่านั้น ตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และผ่านการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการเป็นตัวแทนขายจากสถาบัน ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ ขึ้นทะเบียนรายชื่อกับสำนักงานก.ล.ต. ต้องปฏิบัติ และทำหน้าที่ในการขายตามกรอบที่กฎหมายกำหนดเพื่อป้องกันการขายและ การโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในสาระสำคัญตัวแทนสนับสนุนขายหน่วยลงทุน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกองทุนรวม
4.นายทะเบียนหน่วยลงทุน
นายทะเบียนหน่วยลงทุน เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้มีหน้าที่ดูแลทะเบียนรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น การจ่ายเงินปันผล และสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ บริษัทจัดการอาจทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหน่วยลงทุน สำหรับกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนก็ได้
5.ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชี และมีชื่อขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบริษัทจัดการ มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกองทุนรวม ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบงบการเงินของกองทุนให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี
6.สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน จัดตั้งขึ้นภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นสมาคมที่ เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ จดทะเบียนสมาคมกับสำนักงาน ก.ล.ต. มีบริษัทจัดการที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสมาชิก สมาคมมีหน้าที่กำหนดจรรยาบรรณ และวางมาตรฐานในการปฏิบัติ ให้บริษัทสมาชิกยึดถือและปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกราย กำหนดบทลงโทษเมื่อบริษัทสมาชิกฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตาม
7.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นองค์กรของภาครัฐ ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงการจัดการลงทุนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ ข้อกำหนดตามความในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม จึงเป็นการระดมทุนของประชาชน โดยประชาชนที่มาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนจะมีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามทฤษฎีส่วนของทุน (Theory of Equities) กองทุนรวมจะมีหนี้สินไม่ได้ ดังนั้น สินทรัพย์ของกองทุนรวมจึงเป็นดังนี้ สินทรัพย์ เท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น