คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การระดมทุนจากประชาชนในตลาดเงิน (Money Market) - กฎหมายหลักทรัพย์

การระดมทุนจากประชาชนในตลาดเงิน (Money Market) เป็นลักษณะของการระดมทุนโดยระยะสั้นซึ่งปกติจะไม่เกิน 1 ปี ในตลาดเงินนั้นจะมีสถาบันทางการเงิน ทำหน้าที่เป็นสถาบันตัวกลาง intermediary ซึ่งเป็นเสมือนตัวกลางระหว่างเจ้าของเงิน (Source of fund) กับ แหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) โดยสถาบันทางการเงินจะแล้วนำมาให้ Investor กู้นำไปใช้ในการลงทุน ในกรณีนี้ Investor จึงเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยอ้อม โดยเจ้าของเงิน (Source of fund) หรือภาคประชาชน (Public) นั้น มีดังนี้ 1. เงินออมของประชาชน 2. เงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3. บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย 4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 6. กองทุนประกันสังคม 7. เงินของวัด 8. เงินของมูลนิธิ 9. เงินของสหกรณ์ 10. กองทุนรวม สถาบันตัวกลาง intermediary ซึ่งเป็นเสมือนตัวกลางระหว่างเจ้าของเงิน (Source of fund) กับ แหล่งที่ใช้เงิน (Use of fund) ซึ่งก็คือสถาบันทางการเงิน นั่นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 1.สถาบันการเงินตาม พรบ. สถาบันการเงินฯ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพรบ. บริษัทมหาชนจำกัดฯ และต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน 2.สถาบันการเงินตามเฉพาะกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพรบ.เฉพาะ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ในการระดมทุนจากประชาชนโดยตลาดเงิน (Money Market) นั้นสถาบันการเงินจะการออกตราสารทางการเงิน (Securities Instrument) หรือ หลักทรัพย์ (Securities) เฉพาะที่เป็นตราสารหนี้เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น: