*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553
อะไรคือก่อการร้าย (โดยท่านสราวุธ เบญจกุล: รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม)
อะไรคือก่อการร้าย
สราวุธ เบญจกุล: รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
http://www.midnightuniv.org/midnighttext/0009999694.html
การก่อการร้าย เป็นอาชญากรรมที่มีมานานแล้ว เพียงแต่มีการพัฒนารูปแบบและวิธีการให้มีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวมที่ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงกลุ่มผู้ได้รับผล กระทบเพียงกลุ่มเดียว แต่อาจเกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เพราะการก่อการร้ายไม่จำกัดอยู่เพียงอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าการก่อการร้ายเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดรูปแบบและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการกระทำความผิดทั่วๆ ไปที่เมื่อกล่าวถึงแล้วคนอาจเข้าใจในความหมายของการกระทำได้โดยทันที เช่นการลักทรัพย์ หรือการทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
ผู้ก่อการร้าย อาจใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปในการก่ออาชญากรรม เช่น การวางระเบิด การใช้อาวุธเคมี การลอบสังหารบุคคลสำคัญ หรือการจี้เครื่องบินพุ่งเข้าชนอาคารดังเหตุการณ์ 9-11 ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การกระทำของผู้ก่อการร้ายก่อให้เกิดผลเหมือนกันคือ มีการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิต และก่อให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้น
เพื่อป้องกันและ ปราบปรามปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2546 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้การก่อการร้ายนั้นเป็นความผิดทางอาญา ที่ผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมาย โดยบัญญัติถึงความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายไว้ในลักษณะ 1/1 มาตรา 135/1 ถึงมาตรา 135/4. ความผิดฐานก่อการร้าย ผู้กระทำผิดต้องมีเจตนาพิเศษโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาล ไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน โดยกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
(2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม
หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม
อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
การกระทำความผิด ฐานก่อการร้าย มีอัตราโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท. แต่มีเหตุยกเว้นไม่เป็นความผิดฐานก่อการร้าย ถ้าเป็นการกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอัน เป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 นั่นเอง
ความผิดอีกฐาน หนึ่งเป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นการ
(1) ขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้าย โดยมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่า บุคคลนั้นจะกระทำการตามที่ขู่เข็ญจริง หรือ
(2) สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนในการก่อการร้าย หรือรู้ว่ามีผู้จะก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้
การกระทำความผิด ฐานนี้ มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 200,000 บาท
ประมวลกฎหมาย อาญายังได้บัญญัติให้ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดทั้งสองฐานข้างต้น จะต้องรับโทษเช่นเดียวกับตัวการที่เป็นผู้กระทำความผิดด้วย. นอกจากการกระทำข้างต้นแล้ว ประมวลกฎหมายอาญายังถือว่า เป็นการก่อการร้ายด้วย หากปรากฏว่าบุคคลใดได้เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นคณะบุคคลที่มีการกระทำอัน เป็นการก่อการร้าย และรัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติหรือประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว การกระทำผิดดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปีและปรับไม่เกิน 140,000 บาท
ผู้กระทำความผิด ฐานก่อการร้ายอาจต้องรับโทษในความผิดฐานอื่นด้วย หากเป็นการกระทำที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นความผิด เช่น หากเป็นการก่อการร้ายโดยคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมาย เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำกัดว่า จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆหรือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ บุคคลที่เป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือองค์กรเพื่อก่อการร้ายนั้น ถือว่าได้กระทำความผิดฐานอั้งยี่ด้วย และอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
ความผิดฐานก่อ การร้ายเป็นภัยร้ายแรงและมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ ในต่างประเทศเองก็มีการบัญญัติกฎหมายให้การก่อการร้ายเป็นความผิด เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากเหตุการณ์ 9-11 มีการออกกฎหมายให้อำนาจรัฐในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายที่เรียกว่า "Uniting and Strengthening America by Providing Appropriate Tools Required to Intercept and Obstruct Terrorism Act of 2001" หรือ "USA PATRIOT Act" ที่มีสาระสำคัญในการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงอัน อาจนำไปสู่การก่อการร้าย เช่น การดักฟังโทรศัพท์ การเข้าถึงข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งตามปกติถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น
แต่เนื้อหาของ "USA PATRIOT Act" ในบางส่วนจะมีระยะเวลาสิ้นสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและเป็นเนื้อหาส่วน ที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้น ที่เรียกว่า "sunset provision" ซึ่ง "USA PATRIOT Act" ได้มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้ไปเมื่อปี ค.ศ. 2005 และ 2006 จะครบกำหนดที่ต้องมีการขยายอีกครั้งในปี ค.ศ. 2010
ดังนั้น ความผิดฐานก่อการร้าย กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตลอดทั้งภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของประเทศและสังคมโดยรวม ให้มีประสิทธิภาพ เมื่อมีการกล่าวหาและฟ้องร้องต่อศาลว่ามีการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง
ศาลจะไม่พิพากษา ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สราวุธ เบญจกุล: รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
http://www.midnightuniv.org/midnighttext/0009999694.html
การก่อการร้าย เป็นอาชญากรรมที่มีมานานแล้ว เพียงแต่มีการพัฒนารูปแบบและวิธีการให้มีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวมที่ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงกลุ่มผู้ได้รับผล กระทบเพียงกลุ่มเดียว แต่อาจเกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เพราะการก่อการร้ายไม่จำกัดอยู่เพียงอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าการก่อการร้ายเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดรูปแบบและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการกระทำความผิดทั่วๆ ไปที่เมื่อกล่าวถึงแล้วคนอาจเข้าใจในความหมายของการกระทำได้โดยทันที เช่นการลักทรัพย์ หรือการทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
ผู้ก่อการร้าย อาจใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปในการก่ออาชญากรรม เช่น การวางระเบิด การใช้อาวุธเคมี การลอบสังหารบุคคลสำคัญ หรือการจี้เครื่องบินพุ่งเข้าชนอาคารดังเหตุการณ์ 9-11 ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การกระทำของผู้ก่อการร้ายก่อให้เกิดผลเหมือนกันคือ มีการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิต และก่อให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้น
เพื่อป้องกันและ ปราบปรามปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2546 มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้การก่อการร้ายนั้นเป็นความผิดทางอาญา ที่ผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมาย โดยบัญญัติถึงความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายไว้ในลักษณะ 1/1 มาตรา 135/1 ถึงมาตรา 135/4. ความผิดฐานก่อการร้าย ผู้กระทำผิดต้องมีเจตนาพิเศษโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาล ไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน โดยกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
(2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม
หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม
อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
การกระทำความผิด ฐานก่อการร้าย มีอัตราโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท. แต่มีเหตุยกเว้นไม่เป็นความผิดฐานก่อการร้าย ถ้าเป็นการกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอัน เป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 นั่นเอง
ความผิดอีกฐาน หนึ่งเป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นการ
(1) ขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้าย โดยมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่า บุคคลนั้นจะกระทำการตามที่ขู่เข็ญจริง หรือ
(2) สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนในการก่อการร้าย หรือรู้ว่ามีผู้จะก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้
การกระทำความผิด ฐานนี้ มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 200,000 บาท
ประมวลกฎหมาย อาญายังได้บัญญัติให้ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดทั้งสองฐานข้างต้น จะต้องรับโทษเช่นเดียวกับตัวการที่เป็นผู้กระทำความผิดด้วย. นอกจากการกระทำข้างต้นแล้ว ประมวลกฎหมายอาญายังถือว่า เป็นการก่อการร้ายด้วย หากปรากฏว่าบุคคลใดได้เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นคณะบุคคลที่มีการกระทำอัน เป็นการก่อการร้าย และรัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติหรือประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว การกระทำผิดดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปีและปรับไม่เกิน 140,000 บาท
ผู้กระทำความผิด ฐานก่อการร้ายอาจต้องรับโทษในความผิดฐานอื่นด้วย หากเป็นการกระทำที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นความผิด เช่น หากเป็นการก่อการร้ายโดยคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมาย เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำกัดว่า จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆหรือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ บุคคลที่เป็นสมาชิกของคณะบุคคลหรือองค์กรเพื่อก่อการร้ายนั้น ถือว่าได้กระทำความผิดฐานอั้งยี่ด้วย และอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
ความผิดฐานก่อ การร้ายเป็นภัยร้ายแรงและมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ ในต่างประเทศเองก็มีการบัญญัติกฎหมายให้การก่อการร้ายเป็นความผิด เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากเหตุการณ์ 9-11 มีการออกกฎหมายให้อำนาจรัฐในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายที่เรียกว่า "Uniting and Strengthening America by Providing Appropriate Tools Required to Intercept and Obstruct Terrorism Act of 2001" หรือ "USA PATRIOT Act" ที่มีสาระสำคัญในการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงอัน อาจนำไปสู่การก่อการร้าย เช่น การดักฟังโทรศัพท์ การเข้าถึงข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งตามปกติถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น
แต่เนื้อหาของ "USA PATRIOT Act" ในบางส่วนจะมีระยะเวลาสิ้นสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและเป็นเนื้อหาส่วน ที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้น ที่เรียกว่า "sunset provision" ซึ่ง "USA PATRIOT Act" ได้มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้ไปเมื่อปี ค.ศ. 2005 และ 2006 จะครบกำหนดที่ต้องมีการขยายอีกครั้งในปี ค.ศ. 2010
ดังนั้น ความผิดฐานก่อการร้าย กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตลอดทั้งภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของประเทศและสังคมโดยรวม ให้มีประสิทธิภาพ เมื่อมีการกล่าวหาและฟ้องร้องต่อศาลว่ามีการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง
ศาลจะไม่พิพากษา ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น