*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กฎหมายกับสังคมไทย โดย อาจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
กฎหมายกับสังคมไทย โดย อาจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
มีคำกล่าวภาษาลาตินบทหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้ "Ubi societas, ibi jus" ซึ่งมีความหมายว่า "ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะในลักษณะที่ถาวรก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ถือ ปฏิบัติกันในสังคมนั้นๆเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุข กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่างก็มีลักษณะบังคับให้คนในสังคมนั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม
ในสังคมระยะแรกเริ่มนั้น กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่สลับซับซ้อนดังเช่นสังคมปัจจุบัน การควบคุมความประพฤติของคนในสังคมจะอาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรู้จักกัน โดยทั่วไป เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาตามสามัญสำนึกของชาวบ้าน เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กฎหมายก็คือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและจารีตประเพณีของชุมชนนั้นๆ
ต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป จารีตประเพณีเดิม ย่อมไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรออกมาเพื่อแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป มีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เกิดเป็นหลักกฎหมายต่างๆ มีกระบวนการบัญญัติกฎหมายที่เป็นกิจจะลักษณะ ฉะนั้น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมสมัยใหม่ จึงมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในรูปของจารีต ประเพณี
ในสังคมไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานและมีกฎหมายที่ใช้เป็นแบบแผน ควบคู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสังคมไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งอาจจะแบ่งประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเป็นช่วงเวลาเพื่อให้เห็นการเปลี่ยน แปลงโดยสังเขป ดังนี้
๑.ช่วงที่เป็นกฎหมายไทยแท้ๆ กฎหมายในช่วงนี้ เป็นกฎหมายที่มาจากจารีตประเพณีดั้งเดิมของไทย เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่มีมาในสังคมไทยแต่ดั้งเดิมจนถึงสมัยสุโขทัย
๒. ช่วงกฎหมายไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ กฎหมายในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนที่จะรับ กฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก กฎหมายแม่บทที่ประเทศไทยได้รับมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางมอญก็คือ "คัมภีร์ พระธรรมศาสตร์" ซึ่ง เป็นหลักกฎหมายในการปกครองให้ราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข ในขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยความถูกต้องสอดคล้องกับหลักของพระ ธรรมศาสตร์ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดินอาจจะออกกฎเกณฑ์มาเพิ่มเติมที่เรียกว่า "ราชศาสตร์" จากการที่พระองค์ทรงวินิจฉัยมูลคดีต่างๆ แล้วรวบรวมเป็นกฎหมายพื้นฐานของแผ่นดิน
๓.ช่วงที่ไทยรับระบบกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในช่วงนี้เริ่มต้นเมื่อประเทศสยามได้มีการปฏิรูป ประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และปรับปรุงระบบกฎหมายให้ทันสมัย โดยอาศัยแบบอย่างจากตะวันตก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งโรงเรียนกฎหมาย และจัดให้มีการร่างประมวลกฎหมายขึ้นตามระบบกฎหมายของประเทศทางภาคพื้นยุโรป ที่เรียกว่า ระบบซีวิลลอว์ (civil law) นับเป็นการพัฒนาระบบกฎหมายของไทยให้ทันสมัยไปอีกก้าวหนึ่ง
ความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์กฎหมายแสดงให้เห็นได้ว่า กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมไทยนั้นได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แม้ถึงคราวที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบกฎหมายตามแบบตะวันตก ก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้กฎหมายที่รับมาเหมาะสมกับสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็มิได้ละทิ้งแนวความคิดตามธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย กฎหมายบางเรื่อง จึงยังคงแสดงถึงความคิดแบบไทย เช่น การห้ามฟ้องบุพการี ของตนที่เรียกว่าคดีอุทลุม หรือการกำหนดโทษอาญาให้หนักขึ้นในกรณีของการฆ่าบุพการีเหล่านี้เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำจารีตประเพณีมาช่วยแก้ปัญหาในทางแพ่งนั้นประมวล กฎหมายแพ่งฯ ที่ร่างขึ้นก็ได้บัญญัติรับรองไว้ว่า กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติที่จะยกมาปรับกับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งเป็นการนำกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้ควบคู่กันไป
การเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายในสังคมไทยที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และ มีการออกกฎหมายต่อมาอีกมากมาย ทั้งในรูป ของพระราชบัญญัติและกฎหมายในลำดับรอง
มีคำกล่าวภาษาลาตินบทหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้ "Ubi societas, ibi jus" ซึ่งมีความหมายว่า "ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะในลักษณะที่ถาวรก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ถือ ปฏิบัติกันในสังคมนั้นๆเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุข กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่างก็มีลักษณะบังคับให้คนในสังคมนั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม
ในสังคมระยะแรกเริ่มนั้น กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่สลับซับซ้อนดังเช่นสังคมปัจจุบัน การควบคุมความประพฤติของคนในสังคมจะอาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรู้จักกัน โดยทั่วไป เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาตามสามัญสำนึกของชาวบ้าน เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กฎหมายก็คือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและจารีตประเพณีของชุมชนนั้นๆ
ต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป จารีตประเพณีเดิม ย่อมไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรออกมาเพื่อแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป มีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เกิดเป็นหลักกฎหมายต่างๆ มีกระบวนการบัญญัติกฎหมายที่เป็นกิจจะลักษณะ ฉะนั้น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมสมัยใหม่ จึงมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในรูปของจารีต ประเพณี
ในสังคมไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานและมีกฎหมายที่ใช้เป็นแบบแผน ควบคู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสังคมไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งอาจจะแบ่งประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเป็นช่วงเวลาเพื่อให้เห็นการเปลี่ยน แปลงโดยสังเขป ดังนี้
๑.ช่วงที่เป็นกฎหมายไทยแท้ๆ กฎหมายในช่วงนี้ เป็นกฎหมายที่มาจากจารีตประเพณีดั้งเดิมของไทย เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่มีมาในสังคมไทยแต่ดั้งเดิมจนถึงสมัยสุโขทัย
๒. ช่วงกฎหมายไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ กฎหมายในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนที่จะรับ กฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก กฎหมายแม่บทที่ประเทศไทยได้รับมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางมอญก็คือ "คัมภีร์ พระธรรมศาสตร์" ซึ่ง เป็นหลักกฎหมายในการปกครองให้ราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข ในขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยความถูกต้องสอดคล้องกับหลักของพระ ธรรมศาสตร์ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดินอาจจะออกกฎเกณฑ์มาเพิ่มเติมที่เรียกว่า "ราชศาสตร์" จากการที่พระองค์ทรงวินิจฉัยมูลคดีต่างๆ แล้วรวบรวมเป็นกฎหมายพื้นฐานของแผ่นดิน
๓.ช่วงที่ไทยรับระบบกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในช่วงนี้เริ่มต้นเมื่อประเทศสยามได้มีการปฏิรูป ประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และปรับปรุงระบบกฎหมายให้ทันสมัย โดยอาศัยแบบอย่างจากตะวันตก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งโรงเรียนกฎหมาย และจัดให้มีการร่างประมวลกฎหมายขึ้นตามระบบกฎหมายของประเทศทางภาคพื้นยุโรป ที่เรียกว่า ระบบซีวิลลอว์ (civil law) นับเป็นการพัฒนาระบบกฎหมายของไทยให้ทันสมัยไปอีกก้าวหนึ่ง
ความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์กฎหมายแสดงให้เห็นได้ว่า กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมไทยนั้นได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แม้ถึงคราวที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบกฎหมายตามแบบตะวันตก ก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้กฎหมายที่รับมาเหมาะสมกับสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็มิได้ละทิ้งแนวความคิดตามธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย กฎหมายบางเรื่อง จึงยังคงแสดงถึงความคิดแบบไทย เช่น การห้ามฟ้องบุพการี ของตนที่เรียกว่าคดีอุทลุม หรือการกำหนดโทษอาญาให้หนักขึ้นในกรณีของการฆ่าบุพการีเหล่านี้เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำจารีตประเพณีมาช่วยแก้ปัญหาในทางแพ่งนั้นประมวล กฎหมายแพ่งฯ ที่ร่างขึ้นก็ได้บัญญัติรับรองไว้ว่า กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติที่จะยกมาปรับกับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งเป็นการนำกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้ควบคู่กันไป
การเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายในสังคมไทยที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และ มีการออกกฎหมายต่อมาอีกมากมาย ทั้งในรูป ของพระราชบัญญัติและกฎหมายในลำดับรอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น