กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย
ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า
"ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"
ถามว่า กฎหมายใดที่มีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์
ก. กฎหมายลักษณะครอบครัว
ข. กฎหมายลักษณะทรัพย์
ค. กฎหมายลักษณะบุคคล
ง. กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
คำถามข้อนี้เคยมักจะถูกนำมาออกเป็นข้อสอบเป็นประจำ เนื่องจาก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายพื้นฐานที่มีความใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตประจำวันมากที่สุด
กฎหมายแพ่งคืออะไร
ยกตัวอย่างเช่น
กฎหมายลักษณะบุคคล มีการกำหนดว่า การมีสภาพบุคคลของบุคคลธรรมดานั้นเริ่มคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
และเมื่อมีสภาพบุคคลแล้วบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิตามกฎหมาย แต่กฎหมายจำกัดการใช้สิทธิไม่ให้บุคคลนั้นใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่หากว่า
บุคคลนั้นยังเป็นผู้เยาว์อยู่ กฎหมายลักษณะนี้เราเรียกว่ากฎหมายแพ่ง
ดังนั้น กฎหมายแพ่ง
จึงหมายถึง กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ในการดำรงชีวิตประจำวันในลักษณะทั่วไป
กฎหมายแพ่งที่สำคัญคือ
กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะทรัพย์ (โดยมีการกำหนดสิทธิของผู้ทรงทรัพยสิทธิ
ในรูปแบบต่างๆ เช่น เจ้ากรรมสิทธิ์ว่ามีสิทธิอย่างไรบ้าง สิทธิในการใช้สอย ติดตามเอาคืน เป็นต้น)
กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายลักษณะมรดก กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง
และลาภมิควรได้ ก็จัดว่าเป็นกฎหมายแพ่งเช่นกัน
ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นหมายถึง
กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ในการดำรงชีวิตประจำวันในลักษณะทั่วไปอันเกี่ยวกับการพาณิชย์
ถ้าหากพิจารณาภาษาอังกฤษ จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น การพาณิชย์ก็คือ Commerce นั่นเอง หมายความถึง ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องในทางเศรษฐกิจ การค้าขายสินค้า
การค้าบริการ และ การลงทุน ดังนั้น กฎหมายเอกเทศสัญญาส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์
เช่น กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน (ตั๋วเงินคือการชำระหนี้อย่างอื่นแทนเงิน
เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เช็ค) กฎหมายลักษณะซื้อขาย
กฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ กฎหมายลักษณะเช่าซื้อ กฎหมายลักษณะจำนอง กฎหมายลักษณะจำนำ กฎหมายลักษณะค้ำประกัน กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วน บริษัท
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย
ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า
"ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่ง ออกเป็น 6 บรรพ
คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้
บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน
บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำ เอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่ม
หนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า
อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวล
กฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น
อธิบายมาเสียยืดยาว สรุปคำตอบคือ ข้อ
ง. กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
นั่นเองที่มีลักษณะเป็นกฎหมายพาณิชย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น