*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
-
▼
2008
(54)
-
▼
กันยายน
(12)
- กำหนดการรับตรง ปี 2552
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่1)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่2)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่3)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่4)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่5)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่6)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่7)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่8)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่9)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่10)
-
▼
กันยายน
(12)
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551
โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่10)
ผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดคงจำได้ขึ้นใจแล้วว่า
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างสอง การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
โครงสร้างสาม การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่า“โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา”
และตอนนี้ ... ผมได้อธิบายมาถึงโครงสร้างแรก ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ผมได้อธิบายองค์ประกอบที่ 1 2 และ 3 แล้ว
------
ต่อไปผมจะอธิบายองค์ประกอบที่ 4 การกระทำสัมพันธ์กับผลของการกระทำ
ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งสามารถแยกผลออกจากการกระทำได้นี้ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลหรือไม่ มีหลักคือ
1. ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้น ถ้าผลนั้นไม่ใช่ผลโดยตรงผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น ซึ่งในทางกฎหมายใช้ทฤษฎีเงื่อนไขมาอธิบาย อาจอธิบายได้ว่า ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลก็ไม่เกิดขึ้น จึงต้องถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุของผลนั้น
หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว – หากนายเอกไม่ตี นายโทก็ไม่บาดเจ็บ ดังนั้นนายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
2. ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าเป็นผลผิดธรรมดาผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่ทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น
เช่น กฎหมายอาญาฐานทำร้ายร่างกายวางหลักว่า “ผู้ใดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ … ต้องระวางโทษ …”
แต่หากว่าการทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส(เช่นตาบอด, มือขาด, แขนขาด) ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น
หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว – นายโทได้รับบาดเจ็บหัวแตกเย็บ 1 เข็ม นายเอกมีความผิดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
หากนายโทตาบอด – ต้องพิจารณาว่า หากนายเอกไม่ตีนายโทคงไม่บาดเจ็บและตาบอด อีกทั้งการตาบอดนั้น วิญญูชน(บุคคลทั่วไปในสังคม)พึงคาดหมายได้ว่าหัวเป็นศูนย์รวมประสาท หากตีไปที่หัว ผู้เสียหายอาจตาบอดได้ จึงเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ นายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งมีระวางโทษหนักกว่าความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
3.ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
เช่น นายเอกใช้ปืนปลอมเล็งยิงนั้นแล้วนายโทตกใจกลัวจนถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของนายเอกป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดเพราะนายเอกไม่ใช้ปืนปลอมขึ้นเล็งความตายของนายโทก็จะไม่เกิด ต้องถือว่าความตายเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดและต้องถือว่าเป็นเหตุแซกแชงที่เกิดจากตัวผู้เสียเป็นเหตุอันควรคาดหมายได้เพราะผู้ใดโดนปืนจ่อยิงย่อมต้องตกใจเป็นธรรมดา ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
.
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างสอง การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
โครงสร้างสาม การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่า“โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา”
และตอนนี้ ... ผมได้อธิบายมาถึงโครงสร้างแรก ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ผมได้อธิบายองค์ประกอบที่ 1 2 และ 3 แล้ว
------
ต่อไปผมจะอธิบายองค์ประกอบที่ 4 การกระทำสัมพันธ์กับผลของการกระทำ
ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งสามารถแยกผลออกจากการกระทำได้นี้ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลหรือไม่ มีหลักคือ
1. ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้น ถ้าผลนั้นไม่ใช่ผลโดยตรงผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น ซึ่งในทางกฎหมายใช้ทฤษฎีเงื่อนไขมาอธิบาย อาจอธิบายได้ว่า ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลก็ไม่เกิดขึ้น จึงต้องถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุของผลนั้น
หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว – หากนายเอกไม่ตี นายโทก็ไม่บาดเจ็บ ดังนั้นนายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
2. ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าเป็นผลผิดธรรมดาผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่ทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น
เช่น กฎหมายอาญาฐานทำร้ายร่างกายวางหลักว่า “ผู้ใดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ … ต้องระวางโทษ …”
แต่หากว่าการทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส(เช่นตาบอด, มือขาด, แขนขาด) ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น
หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว – นายโทได้รับบาดเจ็บหัวแตกเย็บ 1 เข็ม นายเอกมีความผิดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
หากนายโทตาบอด – ต้องพิจารณาว่า หากนายเอกไม่ตีนายโทคงไม่บาดเจ็บและตาบอด อีกทั้งการตาบอดนั้น วิญญูชน(บุคคลทั่วไปในสังคม)พึงคาดหมายได้ว่าหัวเป็นศูนย์รวมประสาท หากตีไปที่หัว ผู้เสียหายอาจตาบอดได้ จึงเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ นายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งมีระวางโทษหนักกว่าความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
3.ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
เช่น นายเอกใช้ปืนปลอมเล็งยิงนั้นแล้วนายโทตกใจกลัวจนถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของนายเอกป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดเพราะนายเอกไม่ใช้ปืนปลอมขึ้นเล็งความตายของนายโทก็จะไม่เกิด ต้องถือว่าความตายเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดและต้องถือว่าเป็นเหตุแซกแชงที่เกิดจากตัวผู้เสียเป็นเหตุอันควรคาดหมายได้เพราะผู้ใดโดนปืนจ่อยิงย่อมต้องตกใจเป็นธรรมดา ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น