*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
-
▼
2008
(54)
-
▼
กันยายน
(12)
- กำหนดการรับตรง ปี 2552
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่1)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่2)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่3)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่4)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่5)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่6)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่7)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่8)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่9)
- โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่10)
-
▼
กันยายน
(12)
วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551
โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา โครงสร้างแรก (ตอนที่1)
จากที่เคยกล่าวไปในเบื้องต้นแล้วว่า
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างสอง การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
โครงสร้างสาม การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่า“โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา”
ต่อไปจะอธิบายโครงสร้างแรกนะครับ ...
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างแรกนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณา
เอกใช้มีดฟันไปที่แขนของโท โทถูกฟันแขนขาด ในการพิจารณาว่าการกระทำของเอกครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติตามโครงสร้างข้อ 1 หรือไม่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนดังนี้
(1) ดูว่า เอกมี “การกระทำ” หรือไม่
หากเอกไม่มีการกระทำ ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่หากเอกมีการกระทำจึงค่อยพิจารณาข้อ (2)
(2) ดูต่อไปว่า การกระทำของเอกตามข้อ (1) นั้นครบ “องค์ประกอบภายนอก” ของความผิดในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่หากไม่ครบองค์ประกอบภายนอก หรือที่เรียกกันว่า “ขาดองค์ประกอบ” ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่หากครบองค์ประกอบภายนอก จึงค่อยพิจารณาข้อ (3)
(3) ดูต่อไปว่า การกระทำของเอก ตามข้อ(1) และ (2) นั้น ครบ “องค์ประกอบภายใน” ของความผิดในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่หากไม่ครบองค์ประกอบภายในก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่ถ้าครบองค์ประกอบภายในจะต้องพิจารณาข้อ (4) ต่อไป
(4) ดูต่อไปว่า ผลของการกระทำของเอกสัมพันธ์กับการกระทำของแดงตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลหรือไม่ หากสัมพันธ์กันเอกก็จะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันเอกก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น แต่รับผิดเพียงเท่าที่ได้กระทำไปแล้วก่อนเกิดผลนั้นขึ้น
สรุป
การที่เอกใช้มีดฟันแขนของโท การกระทำของเอกครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติแล้ว เพราะ
(1)เอกมีการกระทำ
(2)การกระทำของเอกครบองค์ประกอบภายนอกของความผิด
(3)การกระทำของเอกครบองค์ประกอบภายในของความผิด
(4)อาการบาดเจ็บของโทสัมพันธ์กับการกระทำของเอกตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
.
.
.
ต่อไปจะอธิบายเรื่อง การกระทำในโครงสร้างแรก องค์ประกอบข้อที่ 1 นะครับ ... (อย่าลืมติดตามนะครับ)
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างสอง การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
โครงสร้างสาม การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่า“โครงสร้างความรับผิดในทางอาญา”
ต่อไปจะอธิบายโครงสร้างแรกนะครับ ...
โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
โครงสร้างแรกนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ
2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
4.มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณา
เอกใช้มีดฟันไปที่แขนของโท โทถูกฟันแขนขาด ในการพิจารณาว่าการกระทำของเอกครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติตามโครงสร้างข้อ 1 หรือไม่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนดังนี้
(1) ดูว่า เอกมี “การกระทำ” หรือไม่
หากเอกไม่มีการกระทำ ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่หากเอกมีการกระทำจึงค่อยพิจารณาข้อ (2)
(2) ดูต่อไปว่า การกระทำของเอกตามข้อ (1) นั้นครบ “องค์ประกอบภายนอก” ของความผิดในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่หากไม่ครบองค์ประกอบภายนอก หรือที่เรียกกันว่า “ขาดองค์ประกอบ” ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่หากครบองค์ประกอบภายนอก จึงค่อยพิจารณาข้อ (3)
(3) ดูต่อไปว่า การกระทำของเอก ตามข้อ(1) และ (2) นั้น ครบ “องค์ประกอบภายใน” ของความผิดในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่หากไม่ครบองค์ประกอบภายในก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป แต่ถ้าครบองค์ประกอบภายในจะต้องพิจารณาข้อ (4) ต่อไป
(4) ดูต่อไปว่า ผลของการกระทำของเอกสัมพันธ์กับการกระทำของแดงตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลหรือไม่ หากสัมพันธ์กันเอกก็จะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันเอกก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น แต่รับผิดเพียงเท่าที่ได้กระทำไปแล้วก่อนเกิดผลนั้นขึ้น
สรุป
การที่เอกใช้มีดฟันแขนของโท การกระทำของเอกครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติแล้ว เพราะ
(1)เอกมีการกระทำ
(2)การกระทำของเอกครบองค์ประกอบภายนอกของความผิด
(3)การกระทำของเอกครบองค์ประกอบภายในของความผิด
(4)อาการบาดเจ็บของโทสัมพันธ์กับการกระทำของเอกตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
.
.
.
ต่อไปจะอธิบายเรื่อง การกระทำในโครงสร้างแรก องค์ประกอบข้อที่ 1 นะครับ ... (อย่าลืมติดตามนะครับ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น