คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ตอนที่ 3 การแสดงเจตนาบางกรณีในการทำนิติกรรม

การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆะ

เจตนาซ่อนเร้น เจตนาลวง และนิติกรรมอำพราง เจตนาที่แท้จริงของบุคคลย่อมเกิดขึ้นในใจก่อน ต่อมาจึงแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริงอยู่ในใจนั้น ถ้าเจตนาที่แท้จริงในใจกับเจตนาที่แสดงออกตรงกันปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ตรงกันจะเป็นโดยตั้งใจคือรู้ตัวในการแสดงเจตนาหรือไม่ตั้งใจคือแสดงโดยไม่รู้ตัว ปัญหาย่อมเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว กฎหมายจึงวางหลักไว้ ดังนี้

1เจตนาซ่อนเร้น

หลักกฎหมาย การแสดงเจตนาใด แม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

อธิบาย ผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นขึ้นอยู่กับว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้หรือไม่ว่าคู่กรณีฝ่ายที่แสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏนั้นต้องการผูกนิติสัมพันธ์ด้วยหรือไม่ หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

เช่น ผู้แสดงเจตนาทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า ยอมคืนที่ดินที่เปล่าให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ภายหลังบุคคลที่แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองยอมคืนที่ดินมือเปล่า อ้างว่าไม่มีเจตนาสละการครอบครองที่ดิน ที่ทำหนังสือฉบับนั้นให้ก็เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นิติกรรมที่แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองนั้นสมบูรณ์ เพราะฝ่ายที่ได้รับการสละนั้นไม่รู้เรื่องด้วยว่าไม่ได้ตั้งใจคืนให้จริงๆ ดังนั้น หากฝ่ายที่ได้รับการสละรู้ว่าที่ทำหนังสือฉบับนั้นให้ก็เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

ข้อสังเกต

เจตนาที่แสดงออก คือ ผู้แสดงเจตนาทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า

เจตนาที่แท้จริง(ที่ซ่อนเร้นไว้) คือ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต

กฎหมายกำหนดว่า ให้ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก จะอ้างเจตนาภายในใจของตนไม่ได้ ส่งผลให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามหากคู่กรณีได้รู้ถึงเจตนาภายในใจ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ


2เจตนาลวง

หลักกฎหมาย การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

อธิบาย การแสดงเจตนาลวง คือ การที่ผู้แสดงเจตนาทั้งสองฝ่ายสมรู้กัน โดยต่างก็รู้ตัวอยู่ในขณะที่แสดงเจตนาออกมาว่า เจตนาที่ตนแสดงออกนั้นไม่ตรงกับเจตนาแท้จริงที่ตนมีอยู่ในใจ แต่เป็นการแสดงเจตนาออกมาเพื่อที่จะหลอกลวงบุคคลภายนอกอื่นๆ โดยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันเลย

ผลของการแสดงเจตนาลวง แบ่งได้เป็น 2กรณี คือ

1. ผลของนิติกรรมที่เกิดขึ้นกับคู่กรณี นิติกรรมเป็นโมฆะเสมอ

2. ผลของนิติกรรมที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตและต้องเสียหายอันเกิดแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

เช่น นายเอกซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่ แต่กลัวนายโทผู้เป็นเจ้าหนี้จะตามมายึด จึงแกล้งลวงนายโทว่าตนขายรถจักรยานยนต์คันนี้ให้แก่นายตรีไปแล้ว แต่ในความจริง นายเอกกับนายนายตรีตกลงกันว่าไม่ได้ขาย สัญญาซื้อขายระหว่างนายเอกกับนายนายตรีจึงตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าต่อมานายตรีร้อนเงินและขายรถจักรยานยนต์ต่อไปให้แก่นายจัตวา โดยนายจัตวาไม่ทราบเรื่องระหว่างนายเอกกับนายนายตรีมาก่อน นายเอกจะยกเจตนาลวงระหว่างนายเอกกับนายนายตรีมาอ้างกับนายจัตวาไม่ได้


3เจตนาอำพรางหรือนิติกรรมอำพราง

หลักกฎหมาย ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ

อธิบาย นิติกรรมอำพราง คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันทำนิติกรรมอันหนึ่งขึ้นมาให้ปรากฏ ซึ่งในเจตนาที่แท้จริงมิได้ต้องการผูกพันตามนิติกรรมนี้ แต่ทำเพื่อจะอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีปิดบังไว้และต้องการที่จะผูกพันต่อกันนิติกรรมอำพรางจึงเป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นมาอย่างน้อย 2นิติกรรม คือมีนิติกรรมอันหนึ่งที่ประสงค์ผูกพันกันแต่ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีได้ทำนิติกรรมอันที่สองซึ่งไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงขึ้น (นิติกรรมลวงซ้อนนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาที่แท้จริง) เพราะฉะนั้นนิติกรรมที่ปรากฏจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง ซึ่งเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมที่แท้จริงแต่ถูกปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ ย่อมมีผลบังคับได้

เช่น นายเอกและนายโทต้องการทำสัญญาซื้อขายรถกัน แต่กลับไปทำสัญญาเช่ารถโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาเช่ารถ สัญญาเช่ารถพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เป็นโมฆะ และต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายรถ

ข้อสังเกต

1.นิติกรรมที่แสดงออก คือ นายเอกและนายโททำสัญญาเช่ารถกัน

2.นิติกรรมที่ถูกอำพราง คือ นายเอกและนายโทต้องการทำสัญญาซื้อขายรถ

กฎหมายกำหนดว่า นิติกรรมที่แสดงออก คือการลวงบุคคลภายนอกจึงตกเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาเช่ารถจึงเป็นโมฆะ และให้คู่กรณีผูกพันกันตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาซื้อขายรถแทน


4.สำคัญผิดในสาระสำคัญของบุคคลหรือทรัพย์สิน

การสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ

1.โดยสำคัญผิดในตัวนิติกรรม เช่น เข้าใจว่าทำสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่า

2.บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมนั้น เช่น นส.จันต้องการสมรสกับนายฝันเด่น แต่เข้าใจผิดว่าคิดว่าฝันดีเป็นฝันเด่นจึงเข้าพิธีแต่งงานด้วย

3.ในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เช่น นายเอกต้องการซื้อที่ดินติดถนนของนายโท แต่ที่ดินดังกล่าวที่นำมาขายกลับเป็นที่ดินแปลงอื่น

ไม่มีความคิดเห็น: