คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ ตอนที่ 2 ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม

บุคคลที่กฎหมายคุ้มครองความสามารถเกี่ยวกับการแสดงเจตนาทำนิติกรรมหรือเรื่องความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม มีด้วยกัน 4ประการคือ

1. ผู้เยาว์


ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยจะกระทำการใดนั้นจะต้องผ่านความยินยอม เห็นชอบจากผู้แทนโดยธรรมก่อนหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทน หากไม่กระทำตามกฎหมาย ผลที่เกิดขึ้นคือ นิติกรรมนั้นเป็น โมฆียะ


2. บุคคลวิกลจริต

บุคคลวิกลจริตคือ บุคคลที่มีจิตใจผิดปกติ หากขณะที่ทำนิติกรรมใด ๆ คนวิกลจริตนั้นมีสภาพจิตใจสมบูรณ์ นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ แต่หากว่าได้กระทำนิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่สัญญาทราบว่าบุคคลนั้นเป็นคนวิกลจริต นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ อย่างไรก็ตาม หากคู่สัญญาที่ร่วมทำนิติกรรม ไม่ทราบว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลที่ร่วมทำเป็นบุคคลวิกลจริต ตามกฎหมายจะถือว่านิติกรรมนั้น สมบูรณ์


3.คนไร้ความสามารถ

คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งหากทำนิติกรรมจะมีผลเป็น โมฆียะ ดังนั้นผู้อนุบาล ต้องทำแทน


4. คนเสมือนไร้ความสามารถ

คนเสมือนไร้ความสามารถหมายถึง บุคคลมีกายพิการ หรือ ติดสุรายาเมา หรือ เสเพลเป็นอาจิณ ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หากทำคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรม ๆ นั้นย่อมสมบูรณ์ เว้นแต่การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญ ต้องขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิเช่นนั้นจะถือว่าผลเป็นโมฆียะ

ไม่มีความคิดเห็น: