วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์

 กฎหมายทะเบียนราษฎร์เป็นกฎหมายที่มีความใกล้ชิดมากๆครับ ดังนั้น ควรดูด้วยนะครับ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ
บัตรประชาชน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ครับ

1. การทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การลงบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกิด การตาย บ้านที่อยู่อาศัย หรือภูมิลำเนา สัญญาเช่าและการอพยพขนย้ายที่อยู่ของราษฎร
             1.1. การเกิดจะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 วันนับแต่เกิด
             1.2. การตายจะต้องแจ้งตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย
             1.3. การย้ายที่อยู่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าหรือย้ายออกภายใน 15 วันนับแต่วันย้ายออกหรือนับแต่วันย้ายเข้า
 2. ชื่อบุคคล ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลนั้น เป็นสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ดังนี้
             2.1 ต้องไม่พ้อง หรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี พระราชทินนาม
             2.2 ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
 3. การรื้อบ้านและสร้างบ้านใหม่ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15วันนับแต่วันที่รื้อหรือสร้างบ้านเสร็จ ถ้าฝ่าฝืนต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท
 4. สำเนาทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย ต้องไปขอรับสำเนาทะเบียนบ้านใหม่จากนายทะเบียน ท้องที่ภายใน 7วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการชำรุดหรือสูญหาย
 5. บัตรประชาชน (แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554)
            บุคคลที่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยต้องไปยื่นคำขอทำบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ภายใน กำหนด 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบกำหนด 7 ปีบริบูรณ์ โดยบัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น